Rechercher dans ce blog

Thursday, February 1, 2024

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ – ‘เสริมแรงทางบวก’ ผู้ประกอบการ หนุนแก้ปัญหา PM 2.5 ควบคู่ไปกับยกเครื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

31 ม.ค.2567 - รศ.ดร.สุรศักดิ์ บุญเรือง อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า การแก้ไขมลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จำเป็นต้องมองทั้งกระบวนการของการเกิดปัญหาซึ่งมาจากแหล่งกำเนิดมลพิษหลายแหล่ง โดยส่วนตัวเห็นว่ากระบวนการในการจัดการกับเศษวัสดุทางการเกษตรถือเป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลควรให้การสนับสนุนการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับการแปรรูปเศษวัสดุทางการเกษตร เป็นสินค้าทั้งในระดับชุมชนหรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ว่าจะมีมาตรการส่งเสริมหรือสนับสนุนอย่างไรควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรการควบคุมกิจกรรมของผู้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศแต่เพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ ควรมีการใช้มาตรการเชิงให้รางวัลองค์กรหรือบริษัทหรือผู้ประกอบธุรกิจเอกชนที่มีส่วนในการเข้ามาช่วยดำเนินการจัดการลดปัญหา หรือทำให้เกิดกลไกอากาศสะอาด เช่น การให้รางวัลหรือการจัดอันดับความน่าเชื่อถือและการยอมรับในการบริหารจัดการแบบมีธรรมาภิบาล โดยอาจกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกตามกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด หรือกลไกตามกฎหมายอื่นให้เกิดความชัดเจน

รศ.ดร.สุรศักดิ์ กล่าวว่า กรณีที่มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายหรือคณะกรรมการบริหารภายใต้กฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด เห็นว่าควรมีการ ‘ให้อำนาจ’ คณะกรรมการชุดเหล่านี้ในการให้คำแนะนำข้อเสนอแนะ หรืออาจขยับไปถึง ‘อำนาจในการสั่งการ’ ให้หน่วยงานอื่นที่มีอำนาจตามกฎหมายดำเนินมาตรการ หรือใช้มาตรการบางเรื่องที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการ และอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ
หน่วยงานนั้นได้ โดยในกรณีที่มีการตั้งกองทุนหรือจัดสรรงบประมาณ ให้มีอำนาจที่จะจัดสรรงบประมาณข้ามหน่วยได้

“กรณีที่มีการทำนโยบายแผนงานและโครงการภาครัฐที่คาบเกี่ยวระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย แต่เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาเดียวกัน เช่น แผนงานเกี่ยวกับการลดการเผาในภาคเกษตรและแปรรูปเศษวัสดุทางการเกษตร ซึ่งอาจมีหลายหน่วยงานคาบเกี่ยวในภารกิจดังกล่าว
ควรใช้แนวทางการจัดทำงบประมาณบูรณาการเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจอันมีเป้าหมายเดียวกัน” รศ.ดร.สุรศักดิ์ กล่าว

รศ.ดร.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะ พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ 2535 ซึ่งมีมาตรการหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง รวมถึงยังมีกฎหมายอื่นที่กำหนดมาตรการจัดการมลพิษ อาทิ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ อย่างไรก็ดี มีหลายฝ่ายที่มีความเห็นตรงกันว่ากฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหามลพิษทางอากาศที่ทวีความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา จึงจำเป็นต้องมีการเสนอร่างกฎหมาย ได้แก่ ‘ร่างพ.ร.บ. อากาศสะอาด’ ซึ่งปัจจุบันมีการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 7 ฉบับ และที่ประชุมได้มีมติรับหลักการไปแล้ว

ร่างกฎหมายทั้ง 7 ฉบับ บางร่างได้กำหนดนิยาม “อากาศสะอาด” โดยให้หมายถึง อากาศที่ไม่มีสารมลพิษ หรือมีสารมลพิษเจือปนอยู่ในปริมาณที่ไม่เกินมาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด ตามประกาศคณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด และ “อากาศสะอาด” หมายความว่า อากาศที่ไม่มีสารมลพิษ หรือไม่มีสารมลพิษเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช หรือ ทรัพย์สินต่าง ๆ อันเป็นที่ยอมรับทางวิชาการระดับสากล หรือตามที่คณะกรรมการกำกับประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการร่วม

ซึ่งการกำหนดนิยามดังกล่าว มุ่งที่จะให้มีความแตกต่างจากแนวคิด การจัดการมลพิษทางอากาศที่มีอยู่เดิมในกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะการมุ่งที่จะให้มีการกำหนดมาตรการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่สภาวะ “อากาศสะอาด”

รศ.ดร.สุรศักดิ์ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในร่างกฎหมายเรื่องดังกล่าวว่า ควรมีการพิจารณาว่าจะเชื่อมโยง มาตรการในร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนหน่วยงานและภารกิจเดิมที่อยู่ภายใต้หน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร จึงจะช่วยให้เกิดความคล่องตัว และไม่ตัดภารกิจหรือบทบาทของหน่วยงานเดิมทั้งหมด ในขณะเดียวกันก็จะทำให้ สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนโดยอาศัยสรรพกำลังของหลายหน่วยงาน เพราะคงไม่สามารถที่จะตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่โดยไม่ให้หน่วยงานเดิมทำภารกิจ

นอกจากนี้ ควรมีการร่างกฎหมายบนแนวคิดที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (No one left behind.) โดยจะต้องตระหนักว่าสาเหตุส่วนหนึ่งของปัญหามลพิษทางอากาศมาจากการที่ต้นทางของแหล่งกำเนิดมีทางเลือกในการจัดการทรัพยากรค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรและการจัดการพื้นที่เพาะปลูก กฎหมายฉบับนี้จะต้องตระหนักว่าจะมีการวางหลักการอย่างไรให้กลุ่มคนที่เป็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศจากภาคการเกษตรไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นจำเลย และเป็นต้นเหตุของการออกกฎหมายฉบับนี้ โดยอาจจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือหรือกลไกการมีส่วนร่วม เช่น การสนับสนุนให้มีการจัดตั้งหรือการรวมกลุ่มสมาชิกในระดับพื้นที่ชุมชนและมีมาตรการส่งเสริมหรือสนับสนุน ทั้งในด้านเงินทุน หรือในด้านเทคนิคความรู้ความสามารถในการเข้าไปจัดการ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติในการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร

ในส่วนของมาตรการส่งเสริมและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์นั้น ควรมุ่งไปที่การแก้สาเหตุของปัญหาซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการเผาในที่โล่งจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งเห็นว่านอกเหนือจากการหามาตรการส่งเสริมให้มีการลดหรือเปลี่ยนวิธีการในการจัดการกับเศษวัสดุทางการเกษตรแล้ว อาจจำเป็นต้องหาแนวทางที่เปลี่ยนการประกอบอาชีพ จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวไปเป็นการประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์และเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น สนับสนุนให้มีการปลูกไม้ยืนต้น โดยมีมาตรการส่งเสริมที่ให้สิทธิประโยชน์โดยใช้เครื่องมือเชิงสมัครใจเช่นข้อตกลงเชิงอนุรักษ์

ในแง่ของการดำเนินการภาครัฐอาจจำเป็นต้องให้หน่วยงานภาครัฐเริ่มใช้กระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีส่วนลดการกรองฝุ่นละออง เช่น การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ส่งเสริมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างยานพาหนะที่ใช้สำหรับหน่วยราชการโดยใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดการใช้ยานยนต์ที่มีระบบสันดาบโดยอาจจะต้องมีการมองในบริบทที่กว้างมากขึ้นเช่นกันว่าจะมีกลไกอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องสนับสนุนอย่างไร

“กฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาดเพียงฉบับเดียวอาจไม่ใช่เครื่องมือที่จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด อาจจะต้องมีการทบทวนด้วยว่าจะมีการปรับปรุงกลไกทางกฎหมายและนโยบายที่อยู่ในกฎหมายอื่นให้ผสานเชื่อมโยงและตอบรับกับการบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศให้มากขึ้นได้หรือไม่เพียงใด เช่น มีโจทย์ที่จะต้องพิจารณาว่าควรปรับปรุงมาตรการเกี่ยวกับการประกาศกำหนดเขตควบคุมมลพิษตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถควบคุมการก่อมลพิษได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงแต่การกำหนดเขตควบคุมมลพิษเพื่อจัดทำนโยบายและแผนลดและจัดการมลพิษเพียงอย่างเดียว โดยอาจจำเป็นต้องมีมาตรการกำหนดให้มีการรายงานข้อมูล จากผู้ก่อมลพิษและมาตรการเชิงลงโทษหรือดำเนินการอย่างอื่นตามความเหมาะสมด้วย” รศ.ดร.สุรศักดิ์ กล่าว

Adblock test (Why?)


นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์
Read More

Wednesday, January 31, 2024

ชี้ช่องทางออมเงิน ผ่านแอปฯ แถมรัฐสมทบ สูงสุดถึง 100 % - PPTVHD36

ชี้ช่องทางออมเงิน ผ่านแอปฯ แถมรัฐสมทบ สูงสุดถึง 100 % แต่ไม่เกิน 1,800 บาท เริ่มออมได้ตั้งแต่ 50 บาท

ในปัจจุบันที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชากรกลุ่มคนวัยทำงานก็มีจำนวนลดน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุวัยเกษียณในอนาคต โดยกระทรวงการคลังตั้งระบบการออมเงินภาคสมัครใจสำหรับแรงงานนอกระบบและผู้ประกอบอาชีพอิสระผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช.

ธ.ไทยเครดิต เคาะ IPO 29.00 บาท/หุ้น เปิดขายสถาบันแล้ววันนี้

อุ้มผู้มีรายได้น้อย ธอส.เตรียมกระตุ้นอสังหาฯ หลังแบงก์ปฏิเสธกู้บ้านต่ำกว่า 5 ล้าน

โดยเปิดช่องทางการออมเพิ่ม ผ่านแอปพลิชันในโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถเริ่มออมตั้งแต่ 50 บาท แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

กองทุนการออมแห่งชาติ
กอช.รัฐสมทบสูงสุด 100% แต่ไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี

และรัฐสมทบสูงสุด 100% แต่ไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี

  • อายุ 15 - 30 ปี รัฐสบทบ 50% ของเงินสะสม สูงสุดไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี*
  • อายุ 30 - 50 ปี รัฐสบทบ 80% ของเงินสะสม สูงสุดไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี*
  • อายุ 50 - 60 ปี รัฐสบทบ 100% ของเงินสะสม สูงสุดไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี% แต่ไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี

นางสาวจารุลักษณ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ ระบุว่า ปัจจุบันมีฐานสมาชิกกว่า 2.58 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงใช้บริการในรูปแบบผ่านหน่วยงานในพื้นที่สูงถึง 85% กอช. จึงมุ่งพัฒนาเพื่อยกระดับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเข้าถึงบริการในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม การออมผ่านแอปพลิเคชัน ล่าสุด ผ่าน ทรูมันนี่ โดยภายหลังเปิดทดลองให้บริการไม่ถึงสองเดือน มียอดออม กอช. ผ่านแอปทรูมันนี่แล้วประมาณ 4 ล้านบาท และเราคาดการณ์ว่ายอดออมดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านบาท และมีผู้ใช้รวม 1 ล้านบัญชีภายในสิ้นปี 2567

TOP เศรษฐกิจ

วิดีโอยอดนิยม

เรื่องที่คุณอาจพลาด

Adblock test (Why?)


ชี้ช่องทางออมเงิน ผ่านแอปฯ แถมรัฐสมทบ สูงสุดถึง 100 % - PPTVHD36
Read More

6 เหตุผล ทำไมราชวิถีควรมีทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) - Post Today

เหตุผล 6 ข้อ ทำไมราชวิถีควรมี Skywalk 


1. คนเดินเยอะ ทางเท้าแคบ แต่ไม่สามารถขยายเพิ่มได้

แม้ทางเท้าราชวิถีในบางช่วงจะมีความกว้าง 3-3.5 เมตร แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อผู้ใช้งานกว่า 120,000 คนต่อวัน สำคัญคือทางเท้าเส้นนี้ยังมีความกว้างที่ไม่สม่ำเสมอกัน โดยเฉพาะทางเท้าหน้ารพ.พระมงกุฎ และมูลนิธิคนตาบอดที่มีความกว้างน้อยกว่า 1.5 เมตร ทั้งยังมีต้นไม้อยู่บนทางเท้าในหลายช่วง ถือเป็นอุปสรรคต่อการเดินเท้าของผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย และผู้พิการทางสายตา ทั้งนี้ทางเท้าราชวิถีกลับไม่สามารถขยายเพิ่มได้ เนื่องจากถนนราชวิถีเป็นหนึ่งในถนนของเมืองที่มีค่าดัชนีรถติดมากในแต่ละวัน ความสามารถในการรองรับปริมาณรถของถนนเส้นนี้จึงถึงขีดจำกัด การขยายทางเท้าจะทำให้พื้นที่ถนนลดลงจนส่งผลให้มีรถติดมากขึ้น Skywalk จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินเท้าที่ส่งผลกระทบต่อพื้นผิวถนนราชวิถีน้อยที่สุด

2. รองรับผู้ใช้งานที่เข้ามาในอนาคต จากโครงการพัฒนาต่าง ๆ 

จากข้อมูลของหน่วยงานในพื้นที่ ถนนราชวิถีมีจํานวนผู้ใช้งานริม 2 ฝั่งถนน ประมาณ 120,000 คนต่อวัน อีกทั้งในอนาคตยังมีแนวโน้มผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น จากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่กําลังจะมาถึง อย่างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีใหม่ที่สามารถให้บริการผู้ป่วยนอกได้ 2.5 ล้านคนต่อปี และผู้ป่วยใน 55,000 รายต่อปี ประกอบกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มที่เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน ได้แก่ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา Skywalk จึงเป็นยุทธศาสตร์สําคัญในการรับมือกับปริมาณผู้คนที่จะเดินทางเข้ามาในย่านเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ พร้อมทั้งตอบโจทย์อนาคตของย่านที่กำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงวัย ตลอดจนรองรับการใช้งานของกลุ่มเปราะบาง อย่างผู้ป่วย คนใช้รถเข็น และผู้พิการทางสายตาอีกด้วย

3. มีอุปสรรคบนพื้นผิวทางเท้าจำนวนมาก

ทางเดินเท้าแนวถนนราชวิถีเต็มไปด้วยอุปสรรคจากสาธารณูปโภคกว่า 204 จุด อาทิ ป้ายสัญญาณจราจร ป้ายประกาศ เสาไฟฟ้า ตู้ไปรษณีย์ เป็นต้น โดยเฉพาะบริเวณทางเท้าที่มีขนาดแคบกว่า 1.7 เมตร มีต้นไม้ใหญ่อยู่บนผิวทางเท้า ทำให้มีพื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับคนเดินเท้า ซึ่งเป็นปัญหาหลักสำหรับกลุ่มผู้ป่วย ผู้ใช้รถเข็น และผู้พิการทางสายตา การทำ Skywalk จะช่วยส่งเสริมให้การเดินเท้าของคนทุกกลุ่มสะดวกมากยิ่งขึ้น

เครดิตภาพ: the Urbanis.com

4. เพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินเท้า

นอกจากมีสิ่งกีดขวางแล้ว ทางเท้าราชวิถียังไม่มีเบรลล์บล็อกสำหรับผู้พิการทางสายตา และไม่มีทางลาดสำหรับผู้ใช้งานรถเข็น อีกทั้งกลุ่มผู้สูงวัยและนักเรียนคนตาบอดยังต้องเสี่ยงอันตรายจากรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ในทุกวัน เพราะต้องเดินเท้าผ่านทางเข้า-ออกรถหน้าหน่วยงานถึง 19 จุด การมี Skywalk จะช่วยส่งเสริมให้สามารถเดินเท้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องหยุดเดินระวังรถเข้า-ออก พร้อมเป็นทางเดินที่ส่งเสริมปลอดภัยสำหรับทุกคน

5. เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะได้ในหลายระดับ

Skywalk เป็นการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพอย่างไร้รอยต่อ เชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ อาทิ รถประจำทางสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถสองแถว รถตู้ และระบบรถไฟฟ้า BTS ตลอดจนโครงการในอนาคตอย่างรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มที่เชื่อมต่อกับสนามบิน พร้อมทั้งมีโครงสร้างป้องกันแดดและฝน ส่งเสริมการเดินเท้าถึงจุดหมายปลายทางได้ในทุกสภาพอากาศ เสริมสร้างความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการเดินทางเพื่อคนทั้งมวล ทั้งผู้ป่วย ผู้มีข้อจํากัดด้านการเคลื่อนที่ ผู้สูงอายุ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ รวมทั้งประชาชนทั่วไปอย่างเท่าเทียม

6. เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาฟื้นฟูย่านโยธี-ราชวิถีอย่างบูรณาการ

Skywalk ช่วยเชื่อมต่อ แลกเปลี่ยน แบ่งปันทรัพยากรอย่างเครื่องมือ และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล สถาบัน และโรงเรียนการแพทย์ 12 หน่วยงานในย่าน ถือเป็นต้นแบบความร่วมมือของ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และหน่วยงานโดยรอบ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาให้ย่านแห่งนี้ กลายเป็นย่านนวัตกรรมทางการแพทย์และบริการสาธารณะสุขระดับโลก

ด้วยเหตุผลทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมา “การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงแยกตึกชัย” จึงเป็นโครงการที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ส่งเสริมให้ผู้คนทุกกลุ่มสามารถเดินเท้าได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเดินทางได้ในทุกสภาพอากาศ ตลอดจนเชื่อมต่อและแบ่งบันทรัพยากรการแพทย์ของหน่วยงานโดยรอบ สอดคล้องกับนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี ของผู้ว่าฯ กทม. ที่มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนการพัฒนาให้มหานครแห่งนี้ เป็นเมืองเดินได้-เดินดีสำหรับทุกคน

Adblock test (Why?)


6 เหตุผล ทำไมราชวิถีควรมีทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) - Post Today
Read More

Tuesday, January 30, 2024

“นารากะ” = ”นรก“ 2 แก๊ง แดง-เหลือง เลือกเดินคนละทาง - ผู้จัดการออนไลน์



รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางแอปพลิเคชั่น SONDHI APPสถานีโทรทัศน์ NEWS1 ช่องยูทูปNEWS1 และเฟซบุ๊กแฟนเพจNEWS1 วันอังคารที่ 30 มกราคม 2567 นำเสนอรายงานพิเศษ “นารากะ” = ”นรก“ 2 แก๊ง แดง-เหลือง เลือกเดินคนละทาง

ต้นตอเหตุการตายของ “โยโกะ” น.ส.พราวรวี สหัสธัชพงศ์ พริตตี้สาวสวย จากพิษไซยาไนด์ ทุกสายตาเพ่งเล็งไปที่ นายวันเผด็จ แซ่เฮ้ง เจ้าของสมญา “โป้ง นารากะ” ที่ถูกระบุว่า คบหาอยู่กับผู้ตาย

โดยสาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับ “ธุรกิจสีเทา” ที่ “โป้ง นารากะ“ เข้าไปพัวพัน ซึ่งเคยฉายภาพให้เห็นถึงสายสัมพันธ์ของ “โป้ง” กับบรรดาหัวโจกของแก๊งนี้ไปแล้ว

สำหรับแก๊ง “นารากะ” ที่แผลงมาจากคำว่า “นรก” ก่อนเติมเสียงสระเข้าไปเพื่อให้ชื่อมีกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่น

ริเริ่มขึ้นมาจากการรวมตัวของกลุ่มวัยรุ่น-วัยฉกรรจ์ ที่มีรสนิยมในความเร็ว แต่งรถซิ่งแข่งกันทั้งในสนามอย่างเป็นกิจลักษณะ หรือท้าดวลกันตามถนนสาธารณะ

อย่างไรก็ดี แก๊ง “นารากะ” ที่เดิมใช้โลโก้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นสีขาว ก็มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนอยู่พอสมควร หลังแนวทางของบรรดาหัวโจกรุ่นบุกเบิกไม่ตรงกัน ก็มีการแยกวงออกเป็น 2 กลุ่ม

แบ่งกันเป็น 2 สี “แดง-เหลือง” โดยยังใช้คำว่า “Naraka” อยู่เหมือนกัน เพิ่มเติมคือคำสร้อยห้อยท้ายที่ต่างกัน
แก๊งสีแดง จะใช้ชื่อ Naraka Kenzen หรือ “นารากะ เคนเซ็น”

ส่วนแก๊งสีเหลือง จะเป็น Naraka Original King หรือ “นารากะ ออริจินัล คิง”

แม้ชื่อดั้งเดิมจะเหมือนกัน แต่คนในวงการรู้ดีว่า 2 แก๊งไม่ใช่พวกเดียวกัน และไม่ยุ่งเกี่ยวกัน ภายนอกแบ่งแยกกันชัดเจน จากเสื้อแก๊ง หรือสติกเกอร์สัญลักษณ์ ที่ติดตามรถซิ่งในสังกัด

ขณะที่ภายในลึกๆแล้ว ขณะที่ ”แก๊งแดง“ เอนเอียงไปในทาง ”สีเทา“ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่มีการแยกกลุ่มก๊วน กับทาง ”แก๊งเหลือง“ ที่ยังเป็นกลุ่มที่รถซิ่งเป็นจุดศูนย์กลางเช่นเดิม

และในขณะที่ “แก๊งเหลือง” โดยมากจะเป็นพวกที่มาจากครอบครัวมีอันจะกิน หรือทำธุรกิจประสบความสำเร็จ มีที่มาที่ไปของเงินที่นำมาซื้อรถซิ่ง หรือแต่งรถ รวมทั้งร่วมกิจกรรมอื่นๆ ยังไม่มีประวัติข้องแวะกับ “ธุรกิจสีเทา” ให้เห็น

แต่สำหรับ “แก๊งแดง” ที่อาจจะดูอู้ฟู่กว่า ถูกเคลือบแคลงว่า มีสตุ้งสตังค์มาจาก “ธุรกิจสีเทา” โดยเฉพาะการค้ายาเสพติด

อย่าง “โป้ง นารากะ” ที่ทั้งซื้อรถเบนซ์-คอนโดฯ ตลอดจนดูแล “สาวโยโกะ” ได้เดือนละ 3 แสนบาท ทั้งที่ไม่มีหลักแหล่งธุรกิจที่ชัดเจน ก็อยู่ในแก๊งสีแดง มีหัวโจกตัวเป้งคือ “เคน นารากะ” คู่ซี้ “เสี่ยโป้ อานนท์” ที่มีคดีติดตัวเพียบ และมีชื่อเสียงในฐานะเอเย่นต์ยาเสพติดรายใหญ่ระดับประเทศ ติดในแบล็กลิสต์ของ ป.ป.ส.

ชื่อแก๊งสีแดง ”นารากะ เคนเซ็น“ ก็มาจากชื่อลูกพี่ใหญ่ “เคน” นี่เอง

หรือก่อนนี้ก็มี “ตูน นารากะ” และ “กอล์ฟ นารากะ” ลูกสมุนคนสำคัญของ “ลูกพี่เคน” ถูกล่อซื้อจับกุมพร้อมของกลางยาไอซ์จำนวนมากมาแล้ว

--------------------------------
**หมายเหตุ
แอป Sondhi App ดาวโหลดได้แล้ว
ระบบ iOS ไปที่ AppStore :https://apps.apple.com/th/app/sondhi-app/id1588046647
ระบบ android ไปที่ Google Play :https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sondhitalk.asia.android

Adblock test (Why?)


“นารากะ” = ”นรก“ 2 แก๊ง แดง-เหลือง เลือกเดินคนละทาง - ผู้จัดการออนไลน์
Read More

ข้าวหมูแดงนครปฐม ข้าวแคบ แกงหัวตาล ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม - Sanook

ข้าวหมูแดงนครปฐม ข้าวแคบ แกงหัวตาล อาหาร 3 รายการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภท ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พร้อมวัฒนธรรมไทยอีกหลายรายการ

ข้าวหมูแดงiStockข้าวหมูแดงข้าวแคบmuseumthailandข้าวแคบ
แกงหัวตาลkasettambon แกงหัวตาล

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา เรื่อง การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2566 ประกาศให้ ข้าวหมูแดงนครปฐม ข้าวแคบ แกงหัวตาล อาหาร 3 รายการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภท ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พร้อมวัฒนธรรมไทยอีกหลายรายการ ดังความในประกาศ ดังนี้

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18(5) และมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2566 จึงประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จำนวน 18 รายการ ดังต่อไปนี้

๑. ประเภท รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ต้องได้รับการส่งเสริมและรักษาอย่างเร่งด่วน

๑.๑ วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา
๑.๑.๑ ภาษาโส้

๑.๒ ศิลปะการแสดง
๑.๒.๑ ตุ๊บเก่ง
๑.๒.๒ โนราควน

๑.๓ งานช่างฝีมือดั้งเดิม
๑.๓.๑ ผ้ามุกนครพนม
๑.๓.๒ ขุดเรือยาว
๑.๓.๓ ผ้าทอใยกัญชงมัง

๒. ประเภท รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

๒.๑ ศิลปะการแสดง
๒.๑.๑ เพลงพวงมาลัย

๒.๒ แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล
๒.๒.๑ ชุดไทยพระราชนิยม
๒.๒.๒ ประเพณีแห่พระศรีอริยเมตไตรย วัดไลย์
๒.๒.๓ งานปีผีมด
๒.๒.๔ ประเพณีลอยเรืออูรักลาโว้ย
๒.๒.๕ ประเพณีจุดไฟตูมกา ออกพรรษายโสธร

๒.๓ ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
๒.๓.๑ ข้าวแคบ
๒.๓.๒ ข้าวหมูแดงนครปฐม
๒.๓.๓ แกงหัวตาล

๒.๔ งานช่างฝีมือดั้งเดิม
๒.๔.๑ ปลาตะเพียนใบลาน
๒.๔.๒ เครื่องถมนคร

๒.๕ การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
๒.๕.๑ ว่าวแอก
๒.๓.๓ แกงหัวตาล

๒.๔ งานช่างฝีมือตั้งเดิม
๒.๔.๑ ปลาตะเพียนใบลาน
๒.๔.๒ เครื่องถมนคร

๒.๕ การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
๒.๕.๑ ว่าวแอก

ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

Adblock test (Why?)


ข้าวหมูแดงนครปฐม ข้าวแคบ แกงหัวตาล ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม - Sanook
Read More

ช่องทางชมฟุตบอลไทยสด "ทีมชาติอุซเบกิสถาน" VS "ทีมชาติไทย" ศึก "เอเชียนคัพ 2023" - ไทยรัฐ

ช่องทางชมถ่ายทอดสด "ทีมชาติอุซเบกิสถาน" พบกับ "ทีมชาติไทย" ในศึก "เอเชียนคัพ 2023" รอบ 16 ทีมสุดท้าย วันที่ 30 ม.ค. 67

ช่องทางชมสด ทีมชาติอุซเบกิสถาน ที่มีคิวจะลงสนามพบกับ "ช้างศึก" ทีมชาติไทย ภายใต้การนำทีม มาซาทาดะ อิชิอิ ในศึก "เอเชียนคัพ 2023" รอบ 16 ทีมสุดท้าย วันที่ 30 มกราคม นี้ เวลา 18.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ถ่ายทอดสดทางช่อง พีพีทีวี เอชดี 36

ผลงานการพบกัน 5 ครั้งหลังสุด

08/11/2003 : ทีมชาติอุซเบกิสถาน 3-0 ทีมชาติไทย

21/11/2003 : ทีมชาติไทย 4-1 ทีมชาติอุซเบกิสถาน

22/12/2007 : ทีมชาติไทย 3-2 ทีมชาติอุซเบกิสถาน

06/06/2017 : ทีมชาติอุซเบกิสถาน 2-0 ทีมชาติไทย

14/06/2023 : ทีมชาติอุซเบกิสถาน 2-0 ทีมชาติไทย

Adblock test (Why?)


ช่องทางชมฟุตบอลไทยสด "ทีมชาติอุซเบกิสถาน" VS "ทีมชาติไทย" ศึก "เอเชียนคัพ 2023" - ไทยรัฐ
Read More

Monday, January 29, 2024

เช็กง่ายๆ 5 อาการ (ทางอ้อม) ของผู้หญิงที่บ่งบอกว่ากำลังมีอารมณ์ - Sanook

เมื่อพูดถึงความต้องการทางเพศ ทั้งชายและหญิงสามารถสัมผัสได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าผู้หญิงเลือกที่จะแสดงออกอย่างไร โดยทั่วไปผู้ชายมักจะแสดงและคิดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้มากกว่าผู้หญิง จึงอาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้ชาย ที่จะรับรู้ความต้องการทางเพศของผู้หญิง จึงขอแนะนำข้อสังเกตเกี่ยวกับความต้องการทางเพศของผู้หญิง ซึ่งมักแสดงออกทางอ้อม ดังนี้

1. มีความสุข สบายใจ หรือได้ของที่ต้องการ

เมื่อผู้หญิงมีความสุขความสุข สบายใจ ไม่ว่าจะมาจากความสำเร็จในอาชีพการงานหรือได้รับของขวัญต่าง ๆ ที่ต้องการ ในโอกาสพิเศษ หรือเทศกาลต่าง ๆ ผู้หญิงก็มักจะมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น

2. เมื่ออยู่ในที่บรรยากาศดี โดนใจ

เมื่ออยู่ในบรรยากาศที่น่ารื่นรมย์ อยู่ในความโรแมนติก มีแสงสลัว ๆ ที่ทำให้ผ่อนคลาย ความต้องการทางเพศของผู้หญิงก็จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในโอกาสสำคัญ เช่น วันวาเลนไทน์ วันปีใหม่ วันลอยกระทง และอื่น ๆ ในบรรยากาศโรแมนติก สามารถช่วยสร้างอารมณ์เชิงบวกได้ดีมาก

3. เมื่อเริ่มดื่มได้ที่และส่งสายตาหวาน

เมื่อดื่มไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อย ไปจนถึงดื่มแบบได้ที่ เชื่อกันว่าจะเพิ่มความต้องการทางเพศทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่หากใครปล่อยอารมณ์จนมึนเมา ความต้องการทางเพศก็จะลดน้อยลง

manwoman

4. มีการเข้ามาคลอเคลียมากขึ้น

หากเธอเข้ามาหาคุณและกอดคุณโดยไม่ลังเล มีความคลอดเคลียตลอดเวลา คุณสามารถสรุปได้ว่าเธอต้องการสนิทสนมและมีเซ็กส์กับคุณ รับประกันว่าเธอจะไม่ปฏิเสธคุณเลยแม้แต่น้อย ยิ่งถ้าเธอเริ่มสัมผัสคุณหรือเข้าใกล้มากขึ้น แม้กระทั่งแตะตัวคุณ หรือนั่งใกล้จนขาของเธอแทบจะทับคุณ เธออาจแอบแตะหน้าอกของเธอกับแขนของคุณ ทั้งหมดนี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเธอมีอารมณ์ต้องการอย่างชัดเจน

5. แต่งตัวเซ็กซี่ยั่วยวน

ถ้าเมื่อใดที่ผู้หญิงเริ่มแต่งตัวยั่วยวน เพื่อหลอกล่อคุณผู้ชาย เนื่องจากเธอต้องการทำให้คุณรู้สึกเป็นที่ต้องกา ปฏิเสธไม่ได้ว่าในฐานะผู้ชายการเห็นคู่รักของตัวเองในชุดเซ็กซี่ ทำให้ปรารถนาที่จะมีเซ็กส์ นอกจากนี้ถ้ามีการสัมผัสแก้ม หรืออาจจะจูบอย่างอ่อนโยน ราวกับล้อเล่น และคาดหวังการตอบรับที่ดีจากคุณ ยิ่งแสดงออกชัดเจนว่าเธอมีอารมณ์แบบสุด ๆ เลยทีเดียว

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีแสดงออกด้านความต้องการของผู้หญิง ซึ่งคุณจะสังเกตได้ง่าย ดังนั้นจะดีกว่าสำหรับคุณที่จะตอบสนองต่อความปรารถนาของคนรัก ผู้หญิงบางคนอาจมีความต้องการทางเพศที่แตกต่างออกไป บทความนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับอารมณ์ทางเพศของผู้หญิง และช่วยให้คุณสามารถตอบสนองต่อความปรารถนาของเธอได้ดีที่สุด ดังนั้นจึงไม่มีอะไรต้องกังวล

Adblock test (Why?)


เช็กง่ายๆ 5 อาการ (ทางอ้อม) ของผู้หญิงที่บ่งบอกว่ากำลังมีอารมณ์ - Sanook
Read More

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...