Rechercher dans ce blog

Friday, March 26, 2021

124 ปีการรถไฟฯ สืบสานพระราชปณิธาน ร.5 พัฒนารถไฟไทยสู่ทางคู่-ไฮสปีด - ประชาชาติธุรกิจ

ครบรอบ 124 ปี การรถไฟฯ เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กร พัฒนาการบริการ ก่อสร้างรถไฟฟ้า ทางคู่ ไฮสปีด เพิ่มขีดความสามารถการให้บริการขนส่งทางรางทั่วประเทศ

วันที่ 26 มี.ค. 2564 เวลา 07.30 น. ณ สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟ ครบรอบ 124 ปี เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระราชทานกิจการรถไฟให้แก่ปวงชนชาวไทย

โดยทรงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 ระหว่างสถานีกรุงเทพ – อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร ซึ่งการรถไฟฯ จึงกำหนดให้วันที่ 26 มี.ค.ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟสืบเรื่อยมาถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ร่วมถวายสักการะพระอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง และสักการะพระอนุสาวรีย์พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี พร้อมทั้งเป็นประธานพิธีปล่อยขบวนรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์ กรุงเทพ – อยุธยา ที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งเปิดให้ประชาชนได้ร่วมเดินทางสัมผัสขบวนรถไฟสายประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อปวงชนชาวไทย

นายนิรุฒกล่าวว่า ตลอดเวลา 124 ปี การรถไฟฯได้ตระหนัก และร่วมสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักของประเทศ ที่ให้บริการขนส่งโดยสารระบบรางแก่พี่น้องประชาชนชาวไทยด้วยดีเสมอมา

ขณะที่รัฐบาล มีนโยบายสนับสนุนการลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศครั้งใหญ่ โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบขนส่งทางราง เพื่อขยายขีดความสามารถทางการแข่งขันและการให้บริการเพิ่มขึ้นนั้น

“การรถไฟฯ ได้มีการดำเนินหน้าที่ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในทุกมิติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสูงสุด ทั้งมิติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ เปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อได้ทันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2564 ก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าชานเมือง เปิดให้บริการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC” นายนิรุฒกล่าวและว่า

นอกจากนี้ยังมีมิติการพัฒนาการให้บริการ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เข้าถึงการใช้บริการรถไฟได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยทุกที่ ทุกเวลา

และมิติสุดท้าย การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ การรถไฟฯ ได้กำหนดแผนงานระยะเร่งด่วนในการดูแลพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า สนับสนุนการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และช่วยส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมถึงเสริมสร้างรายได้ให้แก่องค์กร

ในปีนี้การรถไฟฯ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 124 ขอให้คำมั่นสัญญาว่าพร้อมที่จะทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนภารกิจการรถไฟฯ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการทั่วประเทศ ทั้งการอำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ประชาชน การบริการขนส่งสินค้าแก่ภาคธุรกิจ รวมถึงเป็นกำลังหลักของประเทศในการช่วยขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ให้ก้าวเดินไปสู่อนาคตที่แข็งแกร่ง มั่นคง และยั่งยืนสืบไป

Let's block ads! (Why?)


124 ปีการรถไฟฯ สืบสานพระราชปณิธาน ร.5 พัฒนารถไฟไทยสู่ทางคู่-ไฮสปีด - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...