Rechercher dans ce blog

Tuesday, March 16, 2021

โควิดกระทบยอดสัญญาหลักประกันทางธุรกิจลด 13% หวัง ปี 64 ดีขึ้น - ประชาชาติธุรกิจ

กรมพัฒน์

กรมพัฒฯ เผย การเข้าหลักประกันทางธุรกิจ ของเอสเอ็มอี ปี 2563 ลำบากขึ้นจดทะเบียนลดลง 13% จากโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ให้หลักประกันระวังสูง ขณะที่ ปี 2564 เชื่อสถานการณ์ดีขึ้น การเข้าถึงหลักประกันทางธุรกิจจะมีมาก ชี้ เครื่องจักร รถยนต์ เรือ เป็นหลักประกันที่นำมายื่นสูง 49%

วันที่ 17 มีนาคม 2564 นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) และผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้) ระมัดระวังการขอและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ทำให้ตัวเลขจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ปี 2563 มูลค่าลดลง 13%

โดยหลักประกันที่นำมาขอหลักประกันธุรกิจมากที่สุดและน่าสนใจ ส่วยใหญ่เป็นทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร รถยนต์ เรือ สัตว์พาหนะ มีผู้นำมาจดทะเบียนสัญญาหลักประกันฯ เพิ่มสูงขึ้นถึง 49%

รองลงมา สิทธิเรียกร้อง ประเภท สิทธิการเช่า เพิ่มขึ้น 42% และ ลูกหนี้การค้า สัญญาจ้าง สัญญาซื้อขาย เพิ่มขึ้น 29% สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจที่ต้องการให้เอสเอ็มอีและผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากที่สุด โดยนำทรัพย์สินในการประกอบธุรกิจมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินนั้น

อย่างไรก็ดี คาดปี 2564 สถานการณ์โควิดจะดีขึ้น เชื่อว่าการเข้าใช้หลักประกันทางธุรกิจจะดีขึ้นแน่นอน

สำหรับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 15 มีนาคม 2564) เป็นเวลา 4 ปีกว่า ที่มีผู้ใช้ประโยชน์จากกฎหมายฯ ฉบับดังกล่าวแล้ว มูลค่ารวมกว่า 9,395,561 ล้านบาท และมีคำขอจดทะเบียนมากถึง 588,791 คำขอ

ทั้งนี้ ตลอดปี 2563 มีผู้จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวนทั้งสิ้น 100,461 คำขอ มูลค่ารวม 1,487,186 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 จำนวน 36,380 คำขอ คิดเป็น 36.21% มีมูลค่าลดลง 221,055 ล้านบาท คิดเป็น 13% ขณะที่ ปี 2562 ผู้จดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 136,841 คำขอ มูลค่า 1,708,241 ล้านบาท โดยประเภททรัพย์สินที่มีคำขอจดทะเบียนและมูลค่าลดลงสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

1) ทรัพย์สินทางปัญญา มีมูลค่าลดลง คิดเป็น 100% เนื่องจากไม่มีการยื่นขอจดทะเบียนฯ (ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 10 ล้านบาท)

2) ทรัพย์สินประเภทที่ดิน มีมูลค่าลดลง 270 ล้านบาท คิดเป็น 99.63% ขณะที่ ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 271 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 1 ล้านบาท และ 3) ไม้ยืนต้น มีมูลค่าลดลง 125 ล้านบาท คิดเป็น 97% ขณะที่ ปี 2562 จดทะเบียนฯมูลค่า 129 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 4 ล้านบาท

“แต่ที่น่าสนใจก็คือ ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร รถยนต์ เรือ สัตว์พาหนะ และสังหาริมทรัพย์อื่น มีผู้นำมาจดทะเบียนหลักประกันฯ มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น 135,193 ล้านบาท คิดเป็น 49% (ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 278,572 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 413,765 ล้านบาท)”

“รวมถึง สิทธิเรียกร้อง ประเภท สิทธิการเช่า มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น 22,714 ล้านบาท คิดเป็น 42% (ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 54,440 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 77,154 ล้านบาท) และ ลูกหนี้การค้า สัญญาจ้าง สัญญาซื้อขาย มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น 87,891 ล้านบาท คิดเป็น 29% (ปี 2562 จดทะเบียนฯ มูลค่า 303,356 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่า 391,246 ล้านบาท)”

นายวีรศักดิ์ กล่าวอีกว่า จำนวนคำขอและมูลค่ารวมที่ลดลงของปี 2563 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยทั้งผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) และผู้รับหลักประกัน (สถาบันการเงิน/เจ้าหนี้) ต่างมีความระมัดระวังในการขอและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และรอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความสำเร็จของการฉีดวัคซีนฯ สภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้ง ปัจจัยอื่น ๆ ประกอบการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินก่อนตัดสินใจลงทุน

อย่างไรก็ตาม คาดว่าปี 2564 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดีขึ้น การนำทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ มาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นและกลับสู่ภาวะปกติ

สถิติการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ (4 กรกฎาคม 2559 – 15 มีนาคม 2564) มีผู้มาขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว จำนวน 588,791 คำขอ จำนวนเงินสูงสุดที่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน รวมทั้งสิ้น 9,395,561 ล้านบาท โดยสิทธิเรียกร้องยังคงเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันมากที่สุด คิดเป็น 76.84% (มูลค่า 7,219,626 ล้านบาท)

รองลงมา สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ เครื่องจักร รถยนต์ เรือ เครื่องบิน สัตว์พาหนะ คิดเป็น 23.125% (มูลค่า 2,172,312 ล้านบาท) ทรัพย์สินทางปัญญา คิดเป็น 0.02% (มูลค่า 1,985 ล้านบาท) กิจการ คิดเป็น 0.01% (มูลค่า 1,107 ล้านบาท) อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ คิดเป็น 0.004% (มูลค่า 397 ล้านบาท) และ ไม้ยืนต้น คิดเป็น 0.001% (มูลค่า 134 ล้านบาท)

Let's block ads! (Why?)


โควิดกระทบยอดสัญญาหลักประกันทางธุรกิจลด 13% หวัง ปี 64 ดีขึ้น - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...