Rechercher dans ce blog

Saturday, March 13, 2021

'เสรี'ประเมินวุฒิสภาออกเสียง 4ทาง แนะ 'รัฐสภา' รอคำวินิจฉัยกลาง ก่อนโหวตวาระสาม - กรุงเทพธุรกิจ

14 มีนาคม 2564

37

"เสรี" ประเมินส.ว. ลงมติ 4 ทิศทาง เหตุคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ แปลความหลายทิศทาง แนะให้รัฐสภารอก่อนลงมติวาระสาม

       นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึงการเรียกประชุมรัฐสภา วันที่ 17 มีนาคม โดยมีวาระลงมติวาระสาม ของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ... ซึ่งที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภา หารือถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุถึงหน้าท่ีและอำนาจของรัฐสภาที่แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแต่ต้องผ่านการทำประชามติ ว่า ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวยังมีเนื้อหาที่ทำให้เกิดการตีความได้หลายทิศทาง และล่าสุดที่พบคำวินิจฉัยส่วนตนของนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีรายละเอียดว่าด้วย การโอนอำนาจให้กับสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ที่ระบุว่าไม่สามารถทำได้ ดังนั้นเชื่อว่าในคำวินิจฉัยกลางของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีประเด็นที่เป็นรายละเอียด ดังนั้นการลงมติวาระสามนั้น ตนเห็นว่ารัฐสภาควรรอไปก่อนจะมีคำวินิจฉัยกลางเผยแพร่ เพราะการลงมติของรัฐสภาในวาระสามนั้นจะเป็นไปตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 กำหนด แต่ขณะนี้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นซึ่งมีผลผูกพันต่อรัฐสภา ดังนั้นการลงมติของรัฐสภา จึงควรรอเพื่อให้เกิดความชัดเจน

       “ผมเชื่อว่าคำวินิจฉัยกลางของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาในไม่ช้านี้ หรือช่วงเวลาก่อนที่รัฐสภาจะลงมติวันที่ 17 มีนาคมนี้  ดังนั้นรัฐสภาควรรอพิจารณาเนื้อหา เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นแบบแผนที่กำกับการทำหน้าที่ ซึ่งการลงมติของรัฐสภา ไม่ได้มีแค่ รับหรือไม่รับเท่านั้น แต่คือการทำหน้าที่ที่ทำผิดไม่ได้ เพราะถือเป็นความเสี่ยง” นายเสรี กล่าว

       นายเสรี กล่าวด้วยว่าสำหรับความเห็นส่วนตนของนายทวีเกียรติ ที่มีเนื้อหาว่าด้วยรัฐสภาสามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ โดยตั้งคณะทำงาน , กรรมาธิการ หรือ ส.ส.ร.ได้ แต่ต้องไม่ใช่เป็นการโอนอำนาจที่ขาดจากกัน แต่ในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่ผ่านวาระสอง มติเสียงข้างมากเห็นด้วยกับการแยกขาดอำนาจระหว่าง ส.ส.ร. และรัฐสภา เพราะเมื่อส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ กำหนดให้นำเสนอเพื่อให้รัฐสภาอภิปรายโดยไม่ลงมติ แสดงว่าอำนาจของรัฐสภาไม่ยึดโยงต่อกัน ดังนั้นในการลงมติวาระสามที่ต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทั้งฉบับอาจทำให้เกิดปัญหาได้

       เมื่อถามว่าทิศทางของวุฒิสภาต่อการลงมติวาระสาม จะเป็นอย่างไร นายเสรี กล่าวว่า ในวันที่ 15 มีนาคม คณะกรรมาธิการกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) จะหารือต่อเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ใช่การกำหนดมติของวุฒิสภา แต่คือการนำคำวินิจฉัยยของศาล ข้อมูลที่เกี่ยวข้องหารือและแจ้งเป็นข้อมูลให้ส.ว.ทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจเท่านั้น อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าเมื่อคำวินิจฉัยที่ไม่ชัดเจน ทิศทางของส.ว. อาจเกิดขึ้นได้ 4 ทิศทางคือ 1.ไม่แสดงตน , 2.ไม่เห็นชอบ, 3. งดออกเสียง และ 4.ให้ความเห็นชอบ

       เมื่อถามว่าขณะนี้มีหลายฝ่ายประเมินว่า ส.ว.จะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ นายเสรีกล่าวว่า  หากใช้คำว่าคว่ำ เท่ากับมองว่าส.ว. เป็นผู้ร้าย ทั้งที่ข้อเท็จจริง ส.ว.ต้องพิจารณา ก่อนตัดสินใจลงมติตามเหตุและผล รวมถึงพิจารณาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ชัดเจนด้วย ส่วนที่มีคนระบุว่าส.ว.ที่ลงมติรับหลักการวาระแรกแล้ว ควรลงมติเห็นชอบวาระสาม นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะการทำกฎหมายที่แบ่งเป็น 3 วาระ คือ วาระแรก รับหลักการ คือ การคิด วาระสองคือการพิจารณา และวารสาม คือการตัดสินใจ ที่ต้องมีรายละเอียดเและเหตุผลประกอบอื่นๆ ด้วย

       “ที่ใครก็ตามบอกว่าหากรัฐสภาจะลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญจะไปฟ้อง ป.ป.ช. ถือว่าเป็นกลไกตรวจสอบถ่วงดุล ตามรัฐธรรมนูญ ที่ยอมรับว่าแม้การลงมติจะเป็นอำนาจและดุลยพินิจของรัฐสภา แต่ต้องเป็นไปอย่างถูกต้องและไม่ขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงกฎหมายด้วย” นายเสรี กล่าว.

Let's block ads! (Why?)


'เสรี'ประเมินวุฒิสภาออกเสียง 4ทาง แนะ 'รัฐสภา' รอคำวินิจฉัยกลาง ก่อนโหวตวาระสาม - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...