Rechercher dans ce blog

Monday, March 15, 2021

อิสระทางการเงินแบบยูทูบเบอร์ - ไทยรัฐ

“วินเริ่มจากถ่ายคลิปตอนไปเที่ยวเยาวราช ตั้งข้อสังเกตราคาน้ำที่ขายแถวนั้น ปรากฏคนดูและแชร์เยอะมาก เลยคิดว่าเราน่าจะลองทำดู วินรู้ตัวว่าชอบกิน กินมัน เลยทำคอนเทนต์เรื่องกิน ตอนนั้นมีหม่อมถนัดแดก พีทอีทแหลก ซึ่งเขาดังอยู่แล้ว เราต้องหาจุดขายของเรา โชคดีที่เราไม่มีอะไรเหมือนเขา และนี่อาจจะเป็นเคล็ดลับสำหรับคนที่อยากลองทำดู หาสิ่งที่ตัวเองชอบและต้องไม่เหมือนใคร”

ปัจจุบันช่อง MAWIN FINFERRR มีผู้ติดตามอยู่ราว 380,000 คน เขาเล่าอย่างเปิดเผยว่า มีรายได้จากส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากยูทูบเป็นเงิน 6 หลักต้นๆ (หลักแสนบาท) ต่อเดือน ส่วนรายได้จากสปอนเซอร์ พรีเซนเตอร์สินค้าในแต่ละคลิป มีมูลค่ามากกว่านั้น มีต่อเนื่องทุกเดือน เป็นรายได้ที่เขารับเต็มๆไม่เกี่ยวกับยูทูบ

เมื่อถามถึงอิสระทางการเงินในฐานะยูทูบเบอร์ มาวินบอกว่า ตอนเป็นนักแสดงไม่มีอิสระเช่นนี้ ความพิเศษของช่อง MAWIN FINFERRR คือ 100% ของคอนเทนต์ร้านอาหารบนช่องของเขา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะแพง รายได้ของเขาอยู่ที่สปอนเซอร์จากแบรนด์ดังมากกว่า ยกตัวอย่าง บริการฟู้ดดีลิเวอรี ค่ายมือถือ

ส่วนการจะกินฟรีหรือชำระเงินนั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าของร้าน ซึ่งต้องทำความเข้าใจว่า เขาต้องชอบอาหารที่กินจึงจะนำไปทำคอนเทนต์ และไม่สามารถกำหนดเวลาปล่อยคลิปที่แน่นอนได้

ในอนาคตอันใกล้ มาวินมีแผนผลิตรายการเกี่ยวกับอาหาร ป้อนช่อง โทรทัศน์ เพื่อขยายฐานผู้ชมให้ครอบคลุม จากปัจจุบันเขาทำคลิปอยู่บนยูทูบ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม ด้วยทีมงานจำนวน 2 คน คือเขาและภรรยา (ปิยวดี มาลีนนท์) เป็นคนถ่ายคลิปให้

ยูทูบเบอร์คนต่อไป เป็นเภสัชกรหญิงเจ้าของช่อง Happy Mommy Diary ด้วยผู้ติดตาม 28,000 คน “ญาธิป พิริยะพงศ์ศักดิ์” หรือหวาน แม่บ้านลูก 2 วัย 35 ปี ย้อนหลังไปราว 5 ปีเศษ เริ่มทำคอนเทนต์เกี่ยวกับแม่และเด็กบนเฟซบุ๊ก แล้วขยับขยายเข้าสู่ยูทูบเธอบอกว่า ตอนจะเริ่มจริงจัง น้องสาวซึ่งเป็นยูทูบเบอร์ช่องดัง “ICE PADIE” แนะนำว่าอย่าทำเลย เหนื่อยนะ แต่เธอก็ตัดสินใจทำคอนเทนต์ร่วมกับทีมงานรวม 3 คน มาจนถึงวันนี้ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 7 หลัก (หลักล้านบาท) ส่วนใหญ่มาจากสปอนเซอร์ชิปสินค้าแม่และเด็ก ขณะที่ส่วนแบ่งจากยูทูบอยู่หลักหมื่นบาทต่อเดือน

ด้วยรายได้ระดับนี้ ญาธิปบอกว่า เธอมีอิสระทางการเงินยิ่งขึ้นไปอีก จากที่ไม่เคยลำบากมาก่อน

“เคล็ดลับอยู่ที่ความชอบในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ หวานโชคดีที่มีความรู้ด้านเภสัชกรรม ซึ่งเหมาะกับคอนเทนต์แม่และเด็ก ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น ที่สำคัญหวานทำงานนี้โดยปราศจากแรงกดดันใดๆ ทำจากความชอบล้วนๆ แม้บางครั้งยอดไลก์ ยอดแชร์ ยอดวิว จะมีผลต่อจิตใจบ้าง แต่ถึงคนชอบ-คนดูน้อยลง หวานก็จะยังทำต่อเพราะชอบ เหตุผลมีอยู่แค่นั้นค่ะ”

ปิดท้ายด้วยยูทูบเบอร์วัย 27 ปี “ธชปาน ปิติตรานันท์” หรือเจ อดีตกราฟิกดีไซเนอร์ ซึ่งเคยลองทำช่องยูทูบเป็นงานเสริม แต่สุดท้ายเมื่อรายได้จากงานเสริมเริ่มใกล้เคียงกับงานประจำ เขาจึงตัดสินใจลาออกและผันตัวเองมาเป็นยูทูบเบอร์ เต็มขั้น ปัจจุบันช่องไลฟ์สไตล์ของผู้ชาย Here’s Jae ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 2560 มีคนติดตามอยู่ 210,000 คน รับส่วนแบ่งรายได้รายเดือนจากยูทูบในหลักหมื่น “รายได้จากยูทูบไม่มากนัก และวิธีการคำนวณส่วนแบ่งค่อนข้างซับซ้อน รายได้หลักจริงๆ จึงมาจากสปอนเซอร์ชิป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าผู้ชาย”

เจเปิดเผยรายได้อย่างตรงไปตรงมาว่า อยู่ที่หลักหมื่น กลางๆ แต่ก็มีช่วงพีกที่รายได้ขยับขึ้นไปแตะ 6 หลัก (หลักแสน) อยู่บ้าง “ช่วงโควิดรายได้ซบไปเยอะครับ แต่โชคดีที่มีช่องทางอินสตาแกรมมาช่วยเสริม โพสต์งานโฆษณาเป็นภาพนิ่งแทน ส่วนใหญ่ผมทำงานคนเดียวมีจ้างฟรีแลนซ์บ้าง แต่ในอนาคตอยากขยาย ทำคลิป ให้ได้เยอะกว่านี้”

เมื่อถูกถามคำถามบังคับ “มีอิสระทางการเงินหรือไม่” เจบอกว่า พอใจมาก ไม่ใช่เรื่องเงินเท่านั้น แต่เป็นเรื่องทางใจด้วย “เจไม่เคยเหนื่อย ไม่เคยไม่อยากออกไปถ่ายคลิป เจว่านี่คืออิสระที่แท้จริง”.

ศุภิกา ยิ้มละมัย

Let's block ads! (Why?)


อิสระทางการเงินแบบยูทูบเบอร์ - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...