Rechercher dans ce blog

Monday, March 22, 2021

ราชดำเนิน - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สนามต่อสู้เรียกร้องทางการเมือง - กรุงเทพธุรกิจ

22 มีนาคม 2564

128

ราชดำเนิน จากท้องสนามหลวงถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลายเป็นถนนเส้นทางแห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จนทำให้มีอนุสรณ์สถาน เพื่อรำลึกถึงถึงความสูญเสียทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่

แยกคอกวัว บริเวณถนนราชดำเนินกลาง จุดกึ่งกลางระหว่างสนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นหนึ่งในสมรภูมิการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย และการต่อสู้ทางการเมืองที่เมื่อประชาชนไม่พอใจการบริหารประเทศก็มักจะออกมาชุมนุมเรียกร้อง ณ สถานที่บริเวณนี้

เช่นเดียวกันกับการชุมนุมของกลุ่มรีเดม ล่าสุดเมื่อคืนวันที่ 20 มี.ค.2564 ก็ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง มาจนถึงคอกวัวเป็นจุดรวมตัวต่อสู้ทางการเมือง จนเกิดเหตุปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์การชุมนุม ณ สถานที่แห่งนี้ ยังมีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองมากมายที่ใช้แยกคอกวัว สนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง ตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 พฤษภาทมิฬ 2535 การชุมนุมของคนเสื้อแดง นปช.เมื่อปี 2553 โดยเฉพาะวันที่ 10 เมษายน จนมาถึงกลุ่มคณะราษฎร 2563

จากเหตุการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ มากมายทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมหรือครอบครัวผู้สูญเสียได้สร้างอนุสาวรีย์เอาไว้เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์วันนั้น

คนขายหนังสือบริเวณถนนตะนาวใกล้กันกับพื้นที่การชุมนุม เล่าว่า เขาอาศัยและทำมาค้าขายตั้งแต่รุ่นแม่ เขามองว่าถนนเส้นนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตย เพราะใกล้กลับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มผู้ชุมนุมจึงมาเรียกร้องที่บริเวณนี้

“ถนนเส้นนี้เป็นถนนประชาธิปไตย เพราะใกล้กลับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มผู้ชุมนุมจึงมาเรียกร้องที่จุดนี้ หากไปเรียกร้องตรงอื่นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย คิดว่าคนที่มีอำนาจต้องมองว่าคนที่ออกมาเรียกร้องต้องการอะไร ส่วนคนไม่มีอำนาจก็ต้องเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องว่าตนอยากได้อะไรบ้าง ทางออกของเรื่องนี้คือต้องมาคุยกัน มีคนกลางมาคุยกัน”

ผู้ที่อยู่อาศัยบนถนนตะนาว หนึ่งในพื้นที่ทีมีความวุ่นวาย บอกว่า การชุมนุมทางการเมืองย่อมส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ แม้ไม่มากนักก็ตาม

“การชุมนุมมันเป็นเฉพาะจุด ไม่ได้มากมายเหมือน 14 ตุลาฯ ซึ่งชาวบ้านก็สามารถขายของได้ตามปกติ ยกตัวอย่างตอนสงกรานต์ คนก็เล่นน้ำในตรอกข้าวสาร คนที่ชุมนุมก็จะชุมนุมบนถนนราชดำเนิน ไม่เกี่ยวข้องกัน ส่วนที่มีผลกระทบก็เป็นเรื่องการเดินทางสัญจรไปมา โดยเฉพาะชาวบ้านที่ต้องเข้าบ้าน ก็มักจะถูกปิดถนนจากเจ้าหน้าที่ เพราะเจ้าหน้าที่ก็เกรงว่าจะเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาชุมนุม ไม่ใช่ชาวบ้านในพื้นที่”

ขณะที่ สุรชัย สิริประณมกรณ์ ชาวบ้านบริเวณแยกคอกวัว ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณนี้มาหลายชั่วอายุคน มองไปถึงเบื้องลึกของปัญหา โดยบอกว่า แม้จะอยู่ในเหตุการณ์การชุมนุมมาตั้งแต่พฤษภาทมิฬ จนถึงปัจจุบัน แต่การชุมนุมไม่ได้มีผลกระทบใด ๆ กับตัวเขา เพราะเขาเชื่อว่า หากประชาชนอยู่ดีกินดี ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ ก็จะไม่ออกมาเรียกร้องโดยใช้การชุมนุม

“คนที่มาชุมนุมเขามีความเดือดร้อน เขาก็อยากแสดงออก เป็นการบอกความต้องการไปยังผู้รับผิดชอบให้มารับฟัง เพราะตำแหน่งสูงสุดสามารถที่จะสั่งหน่วยราชการให้ลงมาแก้ไขได้ เพราะเขาต้องรับรู้ปัญหาของทุกคน นายกรัฐมนตรีหรือผู้ใหญ่ต้องช่วยเหลือคนจน เพราะเขามีปัญหาจึงมาร้องเรียน”

การเรียกร้องและความต้องการในความหมายของสุรชัย เป็นไปได้ทั้งความต้องการทางเศรษฐกิจและอุดมการณ์ทางการเมือง

เหตุนี้...ราชดำเนิน จากท้องสนามหลวงถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จึงกลายเป็นถนนเส้นทางแห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จนทำให้มีอนุสรณ์สถาน เพื่อรำลึกถึงถึงความสูญเสียทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ เพื่อตอกย้ำว่าประเทศนี้ และกงล้อประวัติศาสตร์ทางการเมือง ไม่ควรหมุนกลับไปเป็นแบบเดิม ไม่ควรปล่อยให้ความรุนแรงซ้ำเติมสถานการณ์

เขียนโดย : ชลธิชา รอดกันภัย

Let's block ads! (Why?)


ราชดำเนิน - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สนามต่อสู้เรียกร้องทางการเมือง - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...