Rechercher dans ce blog

Friday, March 19, 2021

ขนส่งทางบก ลุยทดสอบโครงสร้างต้นแบบรถโดยสาร ก่อนส่งต่อผู้ผลิต หวังยกระดับปลอดภัย - มติชน

กรมการขนส่งทางบก เดินหน้าทดสอบความแข็งแรงโครงสร้างต้นแบบตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร สำหรับเป็นต้นแบบให้ผู้ผลิตในประเทศนำไปผลิต เพื่อยกระดับมาตรฐานให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล

วันนี้ (19 มีนาคม 2564) ณ ศูนย์ทดสอบยานยนต์ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี นายยงยุทธ นาคแดง รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และคณะอนุกรรมการด้านการศึกษาวิจัยฯ กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมสังเกตการณ์การทดสอบความแข็งแรงโครงสร้างตัวถังรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ภายใต้โครงการศึกษาออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามหลักมาตรฐานความปลอดภัย

นายยงยุทธ นาคแดง รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการปรับปรุง พัฒนา ยกระดับมาตรฐานด้านวิศวกรรมยานยนต์ของประเทศ กรมการขนส่งทางบกจึงมีแนวทางในการปรับปรุงความแข็งแรงของโครงสร้างหลักของตัวรถโดยสารซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นหลัก โดยได้ให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เป็นผู้ศึกษาวิจัยและพัฒนาออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารมาตรฐานต้นแบบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลิตโครงสร้างตัวถังรถโดยสารให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ภายใต้โครงการศึกษาออกแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามหลักมาตรฐานความปลอดภัย เป็นการยกระดับความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารให้มีความปลอดภัยในการใช้งานสามารถลดความรุนแรงที่จะเกิดแก่ทั้งผู้ขับรถและผู้โดยสารจากการเกิดอุบัติเหตุการพลิกคว่ำ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมและตามมาตรฐานสากลของข้อกำหนดสหประชาชาติ (United Nation Regulation) UN R66 (UNIFORM TECHNICAL PRESCRIPTIONS CONCERNING THE APPROVAL OF LARGE PASSENGER VEHICLES WITH REGARD TO THE STRENGTH OF THEIR SUPERSTRUCTURE)

รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวต่อไปว่า การทดสอบในครั้งนี้ เป็นการทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่ผู้ศึกษาวิจัยและพัฒนาได้ออกแบบและพัฒนาความแข็งแรง โดยใช้การจำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบ ภายใต้ปัจจัยเงื่อนไขต่างๆ ได้แก่ ศักยภาพในการผลิตโครงสร้างตัวถังของผู้ผลิตในประเทศ การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ การออกแบบให้มีน้ำหนักที่เหมาะสมเชิงวิศวกรรม และด้านต้นทุน เป็นต้น พร้อมทั้งได้จำลองน้ำหนักของรถ และผู้โดยสารเสมือนจริงมาทำการพลิกคว่ำว่ามีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอในการใช้งานหรือไม่

โดยโครงสร้างตัวถังที่ยุบตัวหลังจากการกระแทกพื้น ต้องไม่ล้ำเข้ามาในพื้นที่ปลอดภัยที่จำลองไว้เป็นพื้นที่ของผู้โดยสาร จึงจะถือว่าโครงสร้างตัวถังรถมีความแข็งแรงที่เพียงพอและเหมาะสมที่จะใช้งาน เป็นไปตามหลักวิศวกรรมและตามมาตรฐานสากลของข้อกำหนดสหประชาชาติ (United Nation Regulation) UN R66 สำหรับต้นแบบโครงสร้างตัวถังรถโดยสารที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ ทางผู้พัฒนาจะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรายละเอียดสำหรับเป็นต้นแบบผลิตโครงสร้างตัวถังรถโดยสารเพื่อให้ผู้ผลิตในประเทศนำไปผลิตให้มีความแข็งแรงเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย

โดยมีเป้าหมายกับกลุ่มรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีความสูงตั้งแต่ 3.60 เมตรขึ้นไป ที่จดทะเบียนใหม่ รถที่มีการเปลี่ยนตัวถัง และรถที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีการเปลี่ยนตัวถัง โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ตามแนวทางการยกระดับมาตรฐานวิศวกรรมยานยนต์ของประเทศไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon

บทความก่อนหน้านี้คพ.ประกาศ 5 จังหวัดที่อากาศดีที่สุดในประเทศไทย
บทความถัดไป‘จุฑาธิป-ศุภักษร’ ทะลุชิงกันเอง ศึกสองล้อประเภทลู่ สนาม 2

matichon

Let's block ads! (Why?)


ขนส่งทางบก ลุยทดสอบโครงสร้างต้นแบบรถโดยสาร ก่อนส่งต่อผู้ผลิต หวังยกระดับปลอดภัย - มติชน
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...