Rechercher dans ce blog

Sunday, March 28, 2021

"ม็อกบัง" ช่องทางสร้างรายได้และช่วยทลายค่านิยมแบบเดิม ๆ ของผู้หญิงอินเดีย - บีบีซีไทย

โปรดเปิดการใช้งาน JavaScript หรือบราวเซอร์ต่างออกไป เพื่ดูเนื้อหานี้

"ม็อกบัง" หรือการโชว์กินจุทางออนไลน์ที่เป็นกระแสโด่งดังมาจากเกาหลีใต้ กำลังได้รับความนิยมในหมู่ชาวอินเดีย และมีผู้หญิงหลายคนหันมาทำวิดีโอโชว์กินจุหารายได้ทางยูทิวบ์

บีบีซีได้พูดคุยกับยูทิวเบอร์หญิงชาวอินเดีย 2 คนที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังในแวดวงนี้

ดิฟยา ราชกุมาร เป็นแม่บ้านลูกสองจากรัฐทมิฬนาฑู ทางภาคใต้ของอินเดีย เธอเล่าว่าก่อนหน้านี้เธอพยายามหางานพาร์ทไทม์ทำ แต่ประสบความล้มเหลว จึงหันมาลองทำวิดีโอโชว์กินจุทางช่อง Tamil Foodies ซึ่งมีผู้ติดตามเกือบ 8 แสนคน

วิดีโอที่เธอทำส่วนใหญ่เป็นการชวนสามีและลูก ๆ มารับประทารอาหารประเภทต่าง ๆ ต่อหน้ากล้อง โดยหนึ่งในวิดีโอที่ได้รับความสนใจมากที่สุดมียอดชมกว่า 24 ล้านครั้ง

"ในช่วงนี้ (โรคระบาด) ยูทิวบ์กลายเป็นแหล่งรายได้เดียวของพวกเรา...ฉันสามารถซื้อของที่ตัวเองอยากได้และของที่จำเป็นสำหรับลูก ๆ ได้" ดิฟยาเล่า

ขณะที่ มิตาลี รอย จากรัฐเบงกอลตะวันตก ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของอินเดีย เจ้าของช่อง Food Plaza ก็เป็นอีกคนที่ทำวิดีโอโชว์กินจุ และวิดีโอเกี่ยวกับวิถีชีวิตในชนบทของเธอ

มิตาลี เล่าว่า "ตอนที่ฉันมีรายได้จากการทำวิดีโอครั้งแรก ฉันรู้สึกว่ามันเป็นพรที่พระเจ้าประทานให้...ตอนนั้นฉันกำลังร้อนเงิน และมันช่วยได้มากเลย"

ทำไม "ม็อกบัง" จึงได้รับความนิยมในอินเดีย

ศาสตราจารย์ศรีราม เวนคาตรามัน นักมานุษยวิทยาอธิบายว่า วิดีโอเหล่านี้ได้รับความสนใจเพราะช่วยทลายค่านิยมแบบดั้งเดิมของอินเดียที่สังคมมักคาดหวังว่าผู้หญิงจะต้องทำตัวแบบใดแบบหนึ่ง

"การดูวิดีโอแบบนี้ทำให้พวกเขาเหมือนกับได้ใช้ชีวิตในแบบที่พวกเขาไม่สามารถทำได้"

"การกินและเพลิดเพลินไปกับมัน แล้วเผยให้คนทั้งโลกเห็นว่าคุณกินอาหารอย่างไร และมีความสุขกับมันขนาดไหน สำหรับผู้ชายแล้ว มันเป็นเรื่องน่าตื่นตา เป็นสิ่งแปลกใหม่ พวกเขาไม่เคยเห็นผู้หญิงกินเลอะเทอะในที่สาธารณะมาก่อน"

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ศรีราม ยังบอกว่า การที่ยูทิวเบอร์เหล่านี้มักนำเสนอวิถีชีวิตและอาหารแบบพื้นบ้านในภูมิภาคต่าง ๆ ก็ยังช่วยเติมเต็มความรู้สึกให้แก่ผู้ชมที่ไปทำงานต่างถิ่น แล้วรู้สึกโหยหาอาหารพื้นบ้านที่พวกเขาคุ้นเคยด้วย

Let's block ads! (Why?)


"ม็อกบัง" ช่องทางสร้างรายได้และช่วยทลายค่านิยมแบบเดิม ๆ ของผู้หญิงอินเดีย - บีบีซีไทย
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...