Rechercher dans ce blog

Tuesday, March 9, 2021

อ่านเกมแก้รธน.'รายมาตรา' 'แผนสอง' เข้าทางเพื่อไทย - กรุงเทพธุรกิจ

10 มีนาคม 2564

23

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราอาจเป็นประเด็นที่ไป “เข้าทาง” พรรคเพื่อไทย ที่เวลานี้เตรียม"แผนสอง" หยิบ “4 ร่างแก้ไข” ที่เคยเสนอเข้าสู่สภาก่อนหน้านี้ มาปัดฝุ่นอีกครั้ง  

วันพรุ่งนี้ (11 มี.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยคำร้องของ “ไพบูลย์ นิติตะวัน” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พลังประชารัฐ(พปชร.) ที่ร่วมกับ “สมชาย แสวงการ”ส.ว. ขอให้ศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา256 (1)

มีการประเมินว่า แนวทางคำวินิจฉัยที่จะออกมามีความเป็นไปได้ทั้ง  1. “สามารถทำได้” นั่นหมายถึงรัฐสภาจะเข้าสู่กระบวนการ ในโหมดต่อไป นั่นคือการโหวต "วาระสาม" ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงกลางเดือน มี.ค.นี้ทันที

2. รัฐสภา“ไม่มีอำนาจ” จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เท่ากับว่าประเด็นดังกล่าวเป็นอันต้องตกไป หากออกมาในแนวทางนี้ ต้องดูคำวินิจฉัยต่อไปว่า มีผลครอบคลุมไปถึงการโหวตวาระสามมากน้อยเพียงใด เพราะ ณ เวลานี้ ยังมีความเห็นเป็น 2 แนวทาง

ทั้ง “ฝั่งสภาฯ”  ที่ก่อนหน้านี้ “ราเมศ รัตนเชวง” เลขานุการประธานรัฐสภา แสดงความเห็นไว้ว่า หากศาลตีตก รัฐสภายังสามารถโหวตวาระสามได้ เนื่องจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังพิจารณามี 2 ประเด็น คือ ประเด็นแก้ไขมาตรา 256 ซึ่งเป็นประเด็นที่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่ยังเหลืออีกหนึ่งประเด็นคือ “การเพิ่มหมวดใหม่” ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ต่างจาก “ส.ว.สมชาย”  ในฐานะผู้ยื่นคำร้อง ที่มองว่า หากศาล “ตีตก” รัฐสภาจะไม่สามารถลงมติใดๆ ได้อีก เพราะวาระสาม คือการเห็นชอบ “ทั้งฉบับ”

หรือ แนวทางที่ 3.ศาลอาจให้ “แนวทางปฏิบัติ” เช่นต้องไปทำประชามติถามประชาชน เป็นต้น

นาทีนี้ ต่างฝ่ายต่างประเมินไปที่แนวทางที่ 2 คือ กรณีไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ “ทั้งฉบับ” นั่นหมายถึง การเสนอร่างแก้ไขฉบับใหม่ต้องเป็น “รายมาตรา”

ซึ่งแนวทางนี้อาจไป “เข้าทาง” พรรคเพื่อไทย ที่เวลานี้เตรียม"แผนสอง" หยิบ “4 ร่างแก้ไข” ที่เคยเสนอเข้าสู่สภาก่อนหน้านี้ มาปัดฝุ่นอีกครั้ง  

ไม่ว่าจะเป็น 1. การเเก้ไขมาตรา 272 ยกเลิกอำนาจ ส.ว. ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และให้เพิ่มเติมมาตรา 159 โดยการเลือกนายกฯ สามารถเลือกนอกบัญชีได้ แต่ต้องเป็น ส.ส. เท่านั้น เพื่อปิดทางนายกฯ คนนอก

2.แก้ไขมาตรา 270 ยกเลิกอำนาจ ส.ว.ในการปฏิรูปประเทศ และมาตรา 271 เกี่ยวกับการไม่เห็นชอบหรือแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมายฯ 3.การยกเลิกมาตรา 279 รองรับคำสั่ง และการกระทำของ คสช.

และ 4.การแก้ไขระบบเลือกตั้ง ซึ่งเพื่อไทยได้รับผลกระทบอย่างเต็มๆ ชนิด “ไร้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์” โดยให้ยกเลิกมาตรา 88, 83, 85, 90, 91 และ 94 และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 คือ ใช้บัตร 2 ใบเลือกคน และเลือกพรรคแทน

อันที่จริงการแก้ "รายมาตรา" ก็เป็นความต้องการของพรรคเพื่อไทยอยู่แล้วตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว เพราะย่อมรู้ดีว่า การตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นอกเหนือจะต้องทอดเวลาออกไปไม่ต่ำกว่า1ปี ยังไม่ต่างอะไรกับการซื้อเวลาให้รัฐบาลประยุทธ์อยู่ยาว เพื่อสร้างแต้มต่อทางการเมือง

 แต่เมื่อมิอาจเอาชนะเสียงในสภาฯได้ การเสนอร่างแก้ไขมาตรา256 จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ถูกนำมาใช้ภายใต้ข้อตกลงร่วมกับทางฝั่งรัฐบาลแลกกับการผ่านร่างในวาระแรก

ต่างจากพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่าง “พรรคก้าวไกล”  ที่ ณ เวลนั้น ชูประเด็นการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เปิดทาง “แก้ทุกมาตรา” มาเป็นประเด็นชูโรงอันดับแรก

จากเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้เอง จึงอาจเรียกได้ว่า เกมแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา อาจเป็นเกมที่ไปเข้าทางพรรคเพื่อไทย แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ เดดล็อก “84 เสียง ส.ว.” ที่จะต้องให้ความเห็นชอบในวาระหนึ่ง และสาม ซึ่งต้องไปลุ้นกันต่อว่าหากที่สุดศาลตีตกแล้วต้องหันไปแก้รายมาตราแทน ส.ว.จะเอาด้วยหรือไม่ ?

Let's block ads! (Why?)


อ่านเกมแก้รธน.'รายมาตรา' 'แผนสอง' เข้าทางเพื่อไทย - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...