Rechercher dans ce blog

Wednesday, March 24, 2021

'กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ' ร้อง กมธ.กิจการเด็กฯ พิจารณาเลิกภาษีผ้าอนามัย ชี้เหลื่อมล้ำเรื่องต้นทุนเพศ - มติชน

‘กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ’ ร้อง กมธ.กิจการเด็กฯ พิจารณายกเลิกภาษีผ้าอนามัย ชี้เป็นความเหลื่อมล้ำเรื่องต้นทุนเพศ

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 24 มีนาคม ที่รัฐสภา กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดยนายปภาณษิณ ปิ่นแก้ว ในฐานะหัวหน้ากลุ่ม ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผ่านนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะโฆษก กมธ. เพื่อขอให้มีการพิจารณายกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มของผ้าอนามัย

นายปภาณษิตกล่าวว่า ผ้าอนามัยเป็นสินค้าควบคุม แต่ผ้าอนามัยที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ตนมองว่าไม่เป็นธรรม เนื่องจากหากผู้หญิงเป็นประจำเดือน จำเป็นต้องใช้ และเมื่อเลือกที่จะไม่ใช้ไม่ได้ การเสียภาษีในส่วนนี้จึงเป็นการเสียภาษีประเภทเลือกเสียภาษีแบบทางเพศ ซึ่งเสียเฉพาะเพศหญิงเพศเดียว ส่วนเพศชายไม่จำเป็นต้องเสีย จึงเกิดเป็นความเหลื่อมล้ำขึ้นมา

นายปภาณษิตกล่าวว่า ในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักรก็เพิ่งยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มผ้าอนามัยไปเมื่อต้นปี การเสียภาษีผ้าอนามัยจึงเป็นเหมือนการเสียภาษีเพียงแค่เกิดมาเป็นผู้หญิงจึงต้องจ่าย เมื่อนำการเสียภาษีผ้าอนามัยมาคำนวนเป็นเงิน หากตีตามอายุเฉลี่ย 70 ปี จะตกอยู่ที่ 10,000-20,000 บาท ซึ่งค่อนข้างเยอะ และไม่สอดคล้องกับสิ่งที่รัฐควรดูแลเกี่ยวกับสุขภาพของเพศหญิง ตนมองว่าในสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโควิด-19 การเก็บภาษีเหมือนเป็นการกดย้ำเพศหญิงลงไป หากยกเลิกภาษีผ้าอนามัย สภาพความเป็นอยู่ของเพศหญิงต้องดีขึ้นแน่นอน

นายปภาณษิตกล่าวต่อว่า ตนมีข้อเรียกร้องต่อ กมธ.คือ ขอให้ยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าประเภทผ้าอนามัย ทั้งแบบธรรมดา แบบสอด หรือแบบผ้าอ้อม และต้องมีการจัดหา หรือแจกผ้าอนามัยในสถานศึกษาในระดับโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากเป็นวัยที่ยังไม่มีรายได้ ฉะนั้นรัฐบาลจึงต้องดูแลเยาวชนตรงนี้ด้วย ที่สำคัญคือการเพิ่มความเท่าเทียมทางเพศอยู่ในกฎข้อที่ 5 ของเอสดีจีที่ออกโดยสหประชาชาติว่าด้วเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ

ด้านนายธัญวัจน์กล่าวว่า กมธ.ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น มีหลายองค์กรของผู้หญิงทั่วโลกได้พูดถึงความไม่เป็นธรรมของค่าใช้จ่ายเรื่องภาษีผ้าอนามัย ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้หญิง อย่างไรก็ตาม กมธ.จะนำข้อเสนอของกลุ่มลดความเหลื่อมล้ำทางเพศเข้าสู่การพิจารณาอย่างรอบด้านตามกรอบอำนาจของหน้าที่

เมื่อถามว่า มีความคิดเห็นอย่างไรเมื่อสังคมมองว่าเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล นายธัญวัจน์กล่าวว่า เรื่องผ้าอนามัยเป็นหนึ่งความเหลื่อมล้ำในร่มใหญ่ของคำว่าต้นทุนเพศ ทุกเพศมีต้นทุนของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนร่างกายและต้นทุนเรื่องบทบาทที่สังคมมอบให้

นายธัญวัจน์กล่าวว่า ผู้หญิงมีต้นทุนเพศในเรื่องผ้าอนามัยเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้นทุนเรื่องบทบาททางเพศที่ต้องเป็นภรรยาและแม่ ซึ่งสังคมมองว่าเป็นหน้าที่ แต่ความจริงแล้วเป็นงานที่ผู้หญิงต้องลาออกจากงานที่ทำแล้วได้เงินเพื่อมาทำงานที่ทำแล้วไม่ได้เงิน โดยรัฐไม่ได้รวมมูลค่าตรงนี้สู่จีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ด้วย

“นี่เป็นหนึ่งในเรื่องความเหลื่อมล้ำที่ทำให้อัตราการเกิดลดลง ฉะนั้น จึงต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความเหลื่อมล้ำเรื่องต้นทุนเพศ” นายธัญวัจน์กล่าว

Let's block ads! (Why?)


'กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ' ร้อง กมธ.กิจการเด็กฯ พิจารณาเลิกภาษีผ้าอนามัย ชี้เหลื่อมล้ำเรื่องต้นทุนเพศ - มติชน
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...