Rechercher dans ce blog

Wednesday, April 21, 2021

กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ตรวจสถานีรถไฟ-รถไฟฟ้า คุมเข้มมาตรการป้องกันโควิด-19 - มติชน

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วย นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่เพื่อสำรวจ ตรวจ ติดตามการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของระบบขนส่งทางราง โดยลงพื้นที่บริเวณสถานีพญาไท ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS)

จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ที่มีการกลับมาระบาดอีกครั้ง รัฐบาลได้มีนโยบายขอความร่วมมือประชาชนในการการงดหรือชะลอการเดินทางที่ไม่มีเหตุจำเป็นออกไป
โดยมีการออก (ร่าง) ข้อกำหนดออกความตามมาตรการ 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่20) รวมถึงกระทรวงคมนาคมได้มีการออกประกาศ เรื่อง มาตรการ แนวทางการดำเนินการ และแนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคติตเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ให้หน่วยบริการระบบขนส่งการเดินทาง ขอให้พิจารณาปรับเพิ่มมาตรการการอนุญาตให้ คืนตั๋วโดยสาร โดยไม่หักค่าใช้จ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนด และให้เข้มงวดการคัดกรองและป้องกัน โดยให้เพิ่มเจ้าหน้าที่ตรวจสอบดูแล การเพิ่มความถี่ทำความสะอาด บริเวณทุกผิวสัมผัส ห้องสุขา ช่องแอร์ รวมทั้งให้ตรวจสอบ คัดกรองพนักงานผู้ให้บริการในทุกระบบ ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ทำความสะอาดมือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และตรวจสอบอุณหภูมิก่อนให้บริการทุกครั้ง

ขร. ในฐานะหน่วยงานกำกับ ดูแล ด้านระบบขนส่งทางราง จึงได้มีการออกประกาศกรมการขนส่งทางราง
เรื่อง แนวทางปฏิบัติการเพื่อป้องกันและยับยั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 เพื่อให้หน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งทางรางทุกระบบดำเนินการ อาทิเช่น การตั้งจุดสกัดหรือจุดคัดกรองผู้โดยสาร การบริหารจัดการไม่ให้เกิดความหนาแน่นแออัดของผู้โดยสารภายในขบวนรถและภายในสถานี

โดยให้มีการดำเนินมาตรการ Group Release ภายในสถานี และการเพิ่มขบวนรถเสริมหรือเพิ่มความถี่การบริการในช่วงเวลาเร่งด่วน รวมทั้งกำกับดูแล ตรวจติดตาม และขอความร่วมมือให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค D – M – H – T – T (Distancing , Mask Wearing, Hand Washing, Testing และ Thai Cha Na) เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค และขอความร่วมมือในการจำกัดการบริการเดินรถ โดยให้มีเส้นทางการบริการ ขบวน หรือความถี่เท่าที่จำเป็น ในช่วงเวลา 23.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการชะลอหรืองดการเดินทางที่ไม่มีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะการเดินทางเข้าไป ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามมาตรการที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กำหนด

สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ขร. ได้มีการตรวจสำรวจมาตรการตามประกาศในข้างต้น ซึ่งได้รับความมือเป็นอย่างดีทั้งจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) รถไฟฟ้า (BTS) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ได้มีการดำเนินการจัดตั้งจุดคัดกรองผู้โดยสาร การตรวจคัดกรองพนักงานก่อนให้บริการ การทำความสะอาดทั้งบริเวณทุกผิวสัมผัส เช่น เครื่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร ราวจับบันได/บันไดเลื่อน ปุ่มกตลิฟต์ ห้องน้ำ และภายในขบวนรถ อย่างสม่ำเสมอ

โดยในส่วนของ ARL ยังได้มีการเพิ่มความถี่ในการให้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วน (Peak Hour) ที่อาจมีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมากอย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด (9 ขบวน 230เที่ยว/วัน ใช้ระยะเวลาจากเดิม 10 นาที/ขบวน เหลือ 7- 8 นาที/ขบวน) และการจัดคิว Group release ให้ผู้โดยสารมีลำดับในการเข้าใช้บริการ ป้องกันการแออัดเบียดเสียด และควบคุมความจุภายในขบวนรถไม่ให้หนาแน่นเกินไป เพื่อให้สามารถเพิ่มระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ได้ และในส่วนของ รฟท. ได้มีการออกมาตรการให้ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วโดยสาร (รายบุคคล หมู่คณะ) ตั๋วสำหรับเช่าขบวนรถพิเศษโดยสารและเช่ารถไว้ล่วงหน้า สามารถติดต่อขอคืนเงินค่าตั๋วก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 1 วัน และจังหวัดของสถานีต้นทางหรือปลายทางตามตั๋วของผู้โดยสารได้ประกาศมาตรการเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด อนุญาตให้คืนเงินค่าตั๋วก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง โดยเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการคืนเงิน และคืนเงินเต็มราคาเป็นกรณีพิเศษ

ทั้งนี้ในส่วนของการจำกัดการบริการเดินรถ โดยให้มีเส้นทางการบริการ ขบวน หรือความถี่เท่าที่จำเป็น ในช่วงเวลา 23.00 น. ถึง 04.00 น. อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง รฟท. ต่อไป

Let's block ads! (Why?)


กรมการขนส่งทางราง ลงพื้นที่ตรวจสถานีรถไฟ-รถไฟฟ้า คุมเข้มมาตรการป้องกันโควิด-19 - มติชน
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...