Rechercher dans ce blog

Friday, April 2, 2021

ยะลา ผลักดัน“ทุเรียนสะเด็ดน้ำ”ขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ - มติชน

ผลักดัน“ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา” ขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รักษามรดกทางภูมิปัญญาและมาตรฐานการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน สำนักงานพาณิชย์ จ.ยะลา จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการ ส่งเสริมการจัดทำคำขอขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย เพื่อขึ้นทะเบียนในประเทศ สินค้าทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา ให้สามารถขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย รวมทั้งสร้างการรับรู้ ความเข้าใจร่วมกับชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการขึ้นทะเบียน

โดยมี นายวรเชษฐ พรมโอภาษ รองผู้ว่าราชการ จ.ยะลา เป็นประธาน เปิดการประชุม ณ ห้องประชุมเวิ่งช่าย ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา นางผุสสดี จ๋ายเจริญพาณิชย์จังหวัดยะลา กล่าวว่า คณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย จังหวัดยะลา มีมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ให้ดำเนินการขึ้นทะเบียนทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดยะลา ให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทยของจังหวัดยะลา เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเป็นเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับทุเรียนในจังหวัดยะลา ภายใต้ชื่อ “ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา”กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา เล็งเห็นถึงคุณค่าและมูลค่าทางการตลาดที่จะได้รับหลังจากขึ้นทะเบียนฯ ของทุเรียนในจังหวัดยะลา จึงดำเนินการจ้างที่ปรึกษาจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย เพื่อขึ้นทะเบียนในประเทศ สินค้าทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา

สำหรับการจัดประชุมการครั้งนี้ จะเป็นการชี้แจงแนวทาง ขั้นตอน และแผนการดำเนินงานการจัดทำขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย สินค้าทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา สร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกับชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนฯ โดยมีวิทยากรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยคณะกรรมการอำนวยการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย จังหวัดยะลาคณะอนุกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย จังหวัดยะลา สินค้าทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 100 คน

นายวรเชษฐ พรมโอภาษ รองผู้ว่าราชการ จ.ยะลา กล่าวว่า จังหวัดยะลาเป็นแหล่งปลูกทุเรียนและมีปริมาณผลผลิตมากที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ในปี 2563 ที่ผ่านมา มีผลผลิตรวม 53,031 ตัน มูลค่า 2,000 ล้านบาท จากการคาดการณ์ในปี 2564 นี้ จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดรวม 73,067 ตัน โดยมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณมากขึ้น ซึ่งทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา นั้น มีลักษณะเด่น คือเป็นทุเรียนที่ปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำให้เนื้อแห้ง ละเอียด กลิ่นหอม รสชาติหวาน

การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ไทยจะเป็นการส่งเสริมการรักษามรดกทางภูมิปัญญาและมาตรฐานการผลิต อันเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่สินค้า ตลอดจนสนับสนุนศักยภาพของชุมชนให้เข็มแข็ง ซึ่งการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นี้ ผู้มีสิทธิใช้ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นกลุ่มผู้ผลิตที่อยู่ในพื้นที่หรือแหล่งภูมิศาสตร์ตามที่ระบุไว้ในการขึ้นทะเบียน และผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นเท่านั้น ผู้ผลิตรายอื่นที่อยู่นอกเหนือเขตจะไม่สามารถผลิตสินค้าโดยใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์เดียวกันมาแข่งขันได้ และผู้มีสิทธิใช้ไม่สามารถนำสิทธินี้ไปโอนหรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ต่อได้ เนื่องจากสิทธินี้เป็นสิทธิชุมชน

การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการส่งเสริมการจัดทำคำขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย เพื่อขึ้นทะเบียนในประเทศ สินค้าทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลาในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ร่วมกับชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทย รวมทั้งร่วมกันผลักดันให้ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลาสามารถขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ไทยและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

Let's block ads! (Why?)


ยะลา ผลักดัน“ทุเรียนสะเด็ดน้ำ”ขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ - มติชน
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...