Rechercher dans ce blog

Thursday, April 1, 2021

กทม.ชะลอสร้างทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด - มติชน

แฟ้มภาพ
กทม.ชะลอสร้างทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

วันนี้ (1 เมษายน 2564) นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ตามที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ห้าม กทม.ดำเนินโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เฉพาะแผนงานที่ 1 ทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยายังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง เนื่องจากมีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับโครงการยื่นฟ้องศาลปกครอง ขอให้ กทม.เพิกถอนโครงการ และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามดำเนินโครงการ กทม.จึงได้ชะลอโครงการ ตามคำสั่งศาลปกครองกลางตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563

“อย่างไรก็ตาม ภายหลังศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่มีคำสั่งห้าม กทม.ดำเนินโครงการ เฉพาะแผนงานที่ 1 คือ ทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงที่ 1 ฝั่งตะวันออก จากสะพานพระราม 7 ถึงกรมชลประทาน สามเสน ระยะทาง 2.99 กิโลเมตร และ ช่วงที่ 3 ฝั่งตะวันตก จากสะพานพระราม 7 ถึงคลองบางพลัด ระยะทาง 3.20 กิโลเมตร กทม.ก็จะชะลอการดำเนินโครงการต่อไป” นายไทวุฒิ กล่าวและว่า ยืนยันที่ผ่านมา กทม.มีความตั้งใจจะดำเนินโครงการ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยได้พิจารณาและศึกษารายละเอียดครอบคลุมทุกข้อกังวลของประชาชน ตลอดจนดำเนินการทุกขั้นตอนตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีที่มาจากการที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีสภาพเสื่อมโทรม ให้มีภูมิทัศน์ที่น่ามอง และมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยมีแผนการปรับปรุงพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรรองรับการเดินทางด้วยจักรยาน (Bike Lane) การชมทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา การพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพและนันทนาการ ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบและให้จัดตั้งคณะทำงานศึกษาความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์และเข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเท่าเทียม

โดย กทม.ร่วมกับคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาชุดต่าง ๆ จัดทำรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้ครอบคลุมแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่และสอดคล้องกับแผนพัฒนาอื่นๆ ทั้งด้านผังเมือง ระบบระบายน้ำ สิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชน และส่งเสริมการท่องเที่ยว จำนวน 12 แผนงาน ประกอบด้วย (1) แผนงานทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา (2) แผนงานปรับปรุงภูมิทัศน์เขื่อน (3) แผนงานพัฒนาท่าเรือ (4) แผนงานพัฒนาศาลาท่าน้ำ (5) แผนงานพัฒนาพื้นที่บริการสาธารณะ (6) แผนงานพัฒนาเส้นทางการเข้าถึงพื้นที่ (7) แผนงานปรับปรุงพื้นที่แนวคูคลองประวัติศาสตร์ (8) แผนงานพัฒนาพื้นที่ชุมชน (9) แผนงานการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ศาสนสถาน (10) แผนงานการพัฒนาพื้นที่นันทนาการและสวนสาธารณะริมน้ำ (11) แผนงานพัฒนาจุดหมายตาริมแม่น้ำเจ้าพระยา และ (12) แผนงานพัฒนาสะพานคนเดิน

ในระยะแรก มีแผนจะดำเนินการนำร่องจากสะพานพระราม 7 – สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตามแผนที่ 1 – 6 ประกอบด้วย การก่อสร้างทางเดินทางจักรยานริมแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างและซ่อมแซมแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมให้สมบูรณ์ สร้างท่าเรือโดยสารทดแทนของเดิมทั้งหมด สร้างศาลาท่าน้ำหน้าศาสนสถานและพื้นที่บริการสาธารณะริมฝั่งแม่น้ำสำหรับจอดรถจักรยาน หรือให้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งเป็นจุดประชาสัมพันธ์และจุดให้บริการฉุกเฉิน ตลอดจนปรับปรุงถนน หรือซอย เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากริมน้ำสู่ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ถนนสามเสน และถนนจรัญสนิทวงศ์

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon

บทความก่อนหน้านี้น้ำใจคนกีฬา! ‘มาดามแป้ง’ ปลื้ม ‘บิ๊กต๊อบ’ ร่วมทำบุญกับมูลนิธิ
บทความถัดไปกราดยิงสหรัฐ ดับ 4 มีเด็กรวมอยู่ด้วย

matichon

Let's block ads! (Why?)


กทม.ชะลอสร้างทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด - มติชน
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...