Rechercher dans ce blog

Monday, May 31, 2021

วัดใจ '3ป.'ล้างไพ่การเมือง 'พรรคร่วม'แก้ทาง'ยุบสภา' - กรุงเทพธุรกิจ

1 มิถุนายน 2564

912

3 ป. คงต้องคิดหลายตลบ ต้องมีไม้เด็ดอะไรที่มากกว่าการ “ยุบสภา” หรือไม่ ถึงจะคุมพรรคร่วมอยู่หมัด

นาทีนี้ดูเหมือนไม่มีพรรคร่วมรัฐบาล ไม่กลัวการยุบสภาอีกต่อไปแล้ว ประชาธิปัตย์ ประกาศพร้อมสู้ศึกเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

คีย์แมนคนสำคัญในพรรค ประเมินแล้วว่า เกมยุบสภาอาจเกิดขึ้นไม่ช้าไม่นานจากนี้ โดยเฉพาะหลังการพิจารณา ...งบประมาณปี 65 และ ...กู้เงิน 5 แสนล้าน ผ่านสภาฯ ต้องจับตาความเคลื่อนไหวทุกฝีก้าว

เห็นชัดเจนว่า รัฐมนตรีหลายคนของประชาธิปัตย์ ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง วันหยุดเสาร์อาทิตย์ก็ไปแบบไม่เคยขาด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ที่ตั้งเป้าต้องกู้วิกฤติศรัทธาคืนมาให้ได้

ขณะที่ภูมิใจไทย เตรียมความพร้อมเรื่องนี้มาพักใหญ่แล้ว ตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคร่วมกับ 3 . ยังชื่นมื่น ด้วยการดึงอดีตผู้สมัครของพลังประชารัฐในอีสานหลายคนที่แพ้เลือกตั้งครั้งก่อนอย่างหวุดหวิดไม่กี่พันคะแนน แต่คะแนนรวมเบ็ดเสร็จก็สามารถโกยได้ในหลักหลายหมื่น มาแต่งตัวเตรียมส่งลงเลือกตั้งครั้งหน้า

เหตุผลที่ภูมิใจไทย เลี้ยงดูเด็กเก่าพลังประชารัฐ ก็ด้วยคิดคำนวณบนเงื่อนไขระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือบัตรใบเดียว ที่นำทุกคะแนนเสียงมาคำนวณจำนวน ..

ระบบเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว รอบหน้าภูมิใจไทยจึงเป็นหนึ่งในพรรคที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดพรรคหนึ่ง

พลังประชารัฐ เองก็ทันเกม ภูมิใจไทย จึงพยายามหาวิธีจำกัดไซส์คู่แข่งไม่ให้เติบโตมากไปกว่านี้ เพราะขนาดเท่าที่เป็นอยู่นี้ ยังขบเหลี่ยมต่อรองจนบิ๊กรัฐบาลปวดหัวหลายเรื่อง ถ้าปล่อยให้โตไปกว่านี้จะยิ่งลำบาก

แกนนำพลังประชารัฐบางคนในอีสาน ออกปากยอมรับตรงๆ ว่า นาทีนี้ภูมิใจไทยน่ากลัวที่สุดถ้าเลือกตั้งอาจได้ 80-100 ที่นั่งก็เป็นไปได้ ด้วยความพร้อมในทุกสรรพกำลังที่ระดมลงพื้นที่อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง บริหารการเมือง บริหารคนมีประสิทธิภาพ บวกกับปัจจัยในส่วนของเพื่อไทย ที่แรงอาจจะตก ..หลายคนเตรียมย้ายไปอยู่กับพรรคไทยสร้างไทย

ข้อเสนอของ พลังประชารัฐ เรื่องแก้ระบบเลือกตั้งเป็นแบบ 2 ใบ ก็เพื่อลดทอนขุมกำลังของภูมิใจไทย แบบเฉพาะเจาะจง ขณะเดียวกัน พลังประชารัฐ จะได้ส..เพิ่มจากระบบนี้

แม้ต้องแลกกับการที่เพื่อไทยจะได้ส..เพิ่มเช่นเดียวกัน แต่ในส่วนของ ก้าวไกล พรรคจะลีบลงและพรรคเล็กที่สร้างปัญหาต่อรองจะหายไป เกมนี้ของพลังประชารัฐ คำนวณแล้วถือว่าคุ้ม

ความเคลื่อนไหวในพลังประชารัฐ แกนนำแต่ละกลุ่ม มีมุมมองหลากหลายในเรื่องยุบสภา บางกลุ่มที่มองการเมืองขาดก็เตรียมตัวกันไว้เช่นเดียวกัน มีการจัดทีม พิจารณาบุคคลที่จะส่งลงเลือกตั้งไว้บ้างแล้ว

ประกอบกับการประชุมใหญ่สามัญของพลังประชารัฐ ที่เตรียมจัดขึ้นในเดือนมิ..นี้ เพื่อปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เปลี่ยนตัวเลขาธิการพรรค เป็น ..ธรรมนัส พรหมเผ่า เพื่อคุมศึกเลือกตั้งอย่างเต็มตัว สะท้อนว่า พลังประชารัฐ ก็พร้อมไม่น้อยไปกว่าพรรคร่วม

ทั้งต้องจับตาตัวละครสำคัญที่จะเปิดตัวกับพลังประชารัฐในไม่ช้า ก็คล้ายเป็นสัญญาณว่าจะมีการล้างไพ่เลือกตั้งใหม่ในระยะถัดไป

สถานการณ์ตอนนี้ต้องวัดใจ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าเกมยุบสภา จะแก้เผ็ดพรรคร่วม ได้จริงหรือไม่ เมื่อดูท่าที ประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย ไม่ได้หวั่นกับเรื่องนี้ เพราะรู้ดีว่าสถานการณ์ไม่เอื้อฝั่ง 3. และพลังประชารัฐ ด้วยเหตุผลสำคัญการติดหล่มแก้วิกฤติโควิด แม้จะรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในมือ ส่งผลให้กระแสนับวันยิ่งหดหาย

ประกอบกับรอยร้าวระหว่างภูมิใจไทย กับพลังประชารัฐ และ 3 . ที่มีประเด็นขุ่นข้องหมองใจเรื่อยมา จนถึงความไม่ลงรอยเรื่องการบริหารโควิดและวัคซีน อาจเป็นฟางเส้นสุดท้าย เพราะใครก็อยากสวมบทฮีโร่จัดการปัญหานี้กันทั้งนั้น

เมื่อ 2 พรรคร่วม ออกอาการแข็งข้อ พร้อมเลือกตั้ง คำถามสำคัญคือ 3 . พร้อมแล้วจริงหรือไม่แว่วๆ มาว่า พรรคใหม่ ที่ปลัดฉิ่ง ฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลุกปั่น วางตัวผู้ว่าฯ-รองผู้ว่าฯ ที่กำลังจะเกษียณมาลงสนามการเมือง เริ่มจะชะลอลงแล้ว เพราะรู้ว่าเวทีนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย

ดังนั้น 3 . คงต้องคิดหลายตลบ ต้องมีไม้เด็ดอะไรที่มากกว่าการ ยุบสภา หรือไม่ ถึงจะคุมพรรคร่วมอยู่หมัด ในเมื่อสนามนี้เป็นเวทีนี้ของนักการเมือง ย่อมไม่มีใครกลัวการเลือกตั้งอยู่แล้ว

Adblock test (Why?)


วัดใจ '3ป.'ล้างไพ่การเมือง 'พรรคร่วม'แก้ทาง'ยุบสภา' - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

วัคซีนทางเลือก สำคัญไม่แพ้วัคซีนหลัก - กรุงเทพธุรกิจ

1 มิถุนายน 2564 | โดย [บทบรรณาธิการ]

62

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาวะที่ประชาชนรอคอยความหวังในการฉีดวัคซีน ที่จัดหาโดยรัฐบาล "วัคซีนทางเลือก" นับเป็นทางเลือกของประชาชน และเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยให้การก้าวข้ามวิกฤติมีความรวดเร็วขึ้น

การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกที่ 3 ในประเทศไทยยังไม่ท่าทีถึงจุดสูงสุด โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับมาเกินกว่าวันละ 5,000 ราย อีกครั้ง เมื่อวันที่ 31 มิ.ย.2564 เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ขึ้นมาอยู่ที่ 5,485 ราย ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่ปี 2563 อยู่ที่ 159,792 ราย ถึงแม้จะมีผู้หายป่วยสะสมที่ 80,919 ราย แต่ก็มีผู้เสียชีวิตถึง 1,031 ราย เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศและจำนวนยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน 

ถึงแม้ความกังวลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นแนวทางการในก้าวข้ามวิกฤติโควิด-19 ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน รวมทั้งในอนาคตการฉีดวัคซีนอาจกลายเป็นเรื่องปกติที่ต้องฉีดประจำทุกปีเหมือนวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในขณะที่สังคมมีการเรียกร้องวัคซีนทางเลือกเพื่อเป็นช่องทางในการเสริมวัคซีนที่ทางการเป็นผู้จัดหา และวัคซีนทางเลือกได้ถูกปลดล็อคเพื่อให้องค์กรเอกชนดำเนินการจัดหาเพื่อฉีดให้กับพนักงาน ครอบครัวและประชาชน

วัคซีนทางเลือกไม่ได้เป็นแค่ทางเลือกใหม่ที่ช่วยให้การก้าวข้ามวิกฤติมีความรวดเร็วขึ้น แต่วัคซีนทางเลือกจะมาอุดช่องว่างของการจัดหาวัคซีนของภาครัฐที่ยังมีความไม่แน่นอนของการส่งมอบวัคซีนแอสตราเซเนก้าในระยะสั้น ซึ่งแม้จะมีสัญญาสั่งซื้อวัคซีนเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างบริษัทเจ้าของวัคซีนและรัฐบาล แต่หากเกิดความล่าช้าในการส่งมอบขึ้นมาแล้วรัฐบาลในฐานะคู่สัญญาควรเจรจาอย่างเคร่งครัดเพื่อเร่งรัดการส่งมอบหรือการแก้ปัญหาความล่าช้า

การฉีดวัคซีนในประเทศเริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2564 นับถึงวันที่ 30 พ.ค.2564 มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 3.6 ล้านโดส แบ่งเป็นผู้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 2.49 ล้านราย และการฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 1.11 ล้านราย แน่นอนว่าจำนวนผู้ฉีดวัคซีนยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่จะต้องฉีดให้ประชากรในประเทศไทยถึง 50 ล้านราย จำนวนผู้ฉีดวัคซีนที่ได้ไม่มาก แต่ขณะเดียวกันที่ผ่านมามีความไม่แน่นอนของการจองฉีดวัคซีนผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เข้าขั้นสร้างความสับสนให้ประชาชน 

ในขณะเดียวกันถึงแม้ว่าวัคซีนทางเลือกจะอยู่ในขั้นตอนการเจรจา การสั่งจองและการสั่งซื้อ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาวะที่ประชาชนรอคอยความหวังในการฉีดวัคซีนแล้วมีข้อเสนอที่ดีในการจัดหาวัคซีนทางเลือกออกมาย่อมทำให้ประชาชนไม่น้อยมีความพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งไม่ว่าวัคซีนทางเลือกจะได้รับการตอบรับที่ดีอย่างไร แต่อย่าลืมว่าวัคซีนหลักยังคงเป็นวัคซีนที่จัดหาโดยรัฐบาล ซึ่งเห็นว่าควรดำเนินการอย่างแข็งขันในการจัดหา เพื่อให้การรับมอบเป็นไปตามแผนการฉีดวัคซีนของประเทศไทยมากที่สุด

Adblock test (Why?)


วัคซีนทางเลือก สำคัญไม่แพ้วัคซีนหลัก - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

“ซีพี” หนุนวัคซีนทางเลือก พร้อมซื้อฉีดให้พนง.-ครอบครัว แบ่งเบาภาครัฐ - ประชาชาติธุรกิจ

ศุภชัย เจียรวนนท์
ศุภชัย เจียรวนนท์

“ซีพี”ย้ำจุดยืนสนับสนุนเอกชนซื้อ “วัคซีนทางเลือก” หวังช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐ ทั้ง”ซิโนฟาร์ม-ไฟเซอร์-โมเดอร์นา และอื่นๆ “ เพื่อจัดฉีดให้พนักงานและครอบครัว 

วันที่ 31 พ.ค.2564 นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.)เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ความชัดเจนของการนำเข้าวัคซีนทางเลือกมีมากขึ้น หลังจากวัคซีนโมเดอร์นา ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อกลางเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา และล่าสุด ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมนำเข้าวัคซีนทางเลือกของซิโนฟาร์มจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้เห็นโอกาสในการนำเข้าวัคซีนทางเลือก

ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์เห็นด้วยและสนับสนุนแนวทางดังกล่าว และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเปิดโอกาสให้มีวัคซีนทางเลือก และเป็นโมเดลที่ดีที่มีหน่วยงานเป็นตัวแทนภาครัฐจัดซื้อวัคซีนทางเลือก เพื่อให้ภาคเอกชนที่มีกำลังซื้อเข้ามาดีล และดำเนินการตามข้อกำหนด

“ขณะนี้วัคซีนโควิดยังเป็นการใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน การขยายวิธีการนำเข้าวัคซีนชนิดอื่นในลักษณะนี้จะเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนที่หลากหลาย และรวดเร็วมากขึ้น ทำให้การกระจายวัคซีนวัคซีนของประเทศไทยมีความยืดหยุ่นกว่าการมีวัคซีนหลักเพียง 2 ชนิด คือแอสตราเซนเนกาและซิโนแวค”

ปัจจุบันจากสถานการณ์ความต้องการวัคซีนทั่วโลกที่มากขึ้น วัคซีนทางเลือกคือคำตอบที่จะช่วยให้โลกนี้ผ่านพ้นวิกฤตโควิด โดยจะเห็นได้ว่า วัคซีนซิโนฟาร์ม ที่ต้องฉีด 2 โดส ได้รับการอนุมัติใช้แล้วใน 42 ประเทศทั่วโลก โดยมีการใช้มากเป็นอันดับ 4 รองจากวัคซีนแอสตราเซนเนกา ที่ใช้ใน 166 ประเทศ และวัคซีนซิโนแวค ที่ใช้ใน 25 ประเทศ วัคซีนไฟเซอร์-บิออนเทค ที่ใช้ใน 94 ประเทศ และวัคซีนโมเดอร์นา ที่ใช้ใน 46 ประเทศ

ซึ่งการเข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและหลากหลายมีความสำคัญอย่างมาก โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ มองว่า ซิโนฟาร์ม ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และวัคซีนทางเลือกอื่น ๆ ควรมีการเร่งเจรจานำเข้า โดยยึดจากโมเดลที่ทำสำเร็จแล้ว เพื่อให้สามารถเพิ่มปริมาณนำเข้าอย่างรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการวัคซีนในประเทศ

นายศุภชัย กล่าวอีกว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์มีจุดยืนสนับสนุนแนวทางการนำเข้าวัคซีนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นซิโนฟาร์มที่กำลังดำเนินการ หรือ ไฟเซอร์, โมเดอร์นา และวัคซีนอื่น ๆ ที่อยู่ในขั้นตอนการอนุมัติ ซึ่งในฐานะภาคเอกชนต้องการให้มีวัคซีนทางเลือกโดยเร็ว และยินดีใช้ทุนทรัพย์ของตนเอง เพื่อนำไปจัดฉีดให้บุคลากร พนักงาน ครอบครัวพนักงาน หรือกลุ่มคนขององค์กร โดยไม่มีการเก็บเงินกับผู้รับวัคซีน รวมถึงไม่มีการนำไปจำหน่ายต่อ และคาดว่าจะทำให้การเข้าถึงวัคซีนมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และถือเป็นการลดภาระงบประมาณภาครัฐอีกด้วย

Adblock test (Why?)


“ซีพี” หนุนวัคซีนทางเลือก พร้อมซื้อฉีดให้พนง.-ครอบครัว แบ่งเบาภาครัฐ - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

ผ่อนรถไม่ไหวมาทางนี้ ธปท.จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถช่วยลูกหนี้ - ไทยรัฐ

นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปี 2563 ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้รายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ลดลงอย่างมาก

ข่าวแนะนำ

นอกจากนี้ ธปท. ได้จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนค่อนข้างดี จึงได้ขยายขอบเขตของงานมหกรรมให้ครอบคลุมลูกหนี้ที่หนี้ถูกโอนขายไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์หนี้ ที่สำคัญของประชาชนรายย่อยอีกประเภทหนึ่ง คือ หนี้เช่าซื้อรถยนต์ทั้งในส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาชีพหรือใช้ในการเดินทางของคนในครอบครัว

ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถประกอบอาชีพ หรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ธปท. กรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และผู้ให้บริการทางการเงิน 12 แห่ง ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์รวมกันแล้วมากกว่าร้อยละ 6 จึงร่วมกันจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ขึ้น ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. -31 ก.ค.64 เพื่อเป็นช่องทางที่จะช่วยลดภาระของลูกหนี้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ ในการชำระหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

สำหรับ ความพิเศษของมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ครั้งนี้ คือจะครอบคลุมลูกหนี้เช่าซื้อบุคคลธรรมดาทุกกลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย หรือ NPL หรือกลุ่มที่เป็น NPL แต่รถยังไม่ถูกยึด
2. กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้วแต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด
3. กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีหนี้เช่าซื้อส่วนขาด

โดยมีเป้าหมายให้ลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่รายได้ลดลงในช่วงโควิด-19 สามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้ได้ตามความสามารถ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถนำรถที่ถูกยึดกลับไปใช้ในการประกอบอาชีพ และนำรถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นเดิม ซึ่งเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์ช่วงนี้อีกทางหนึ่ง โดยความช่วยเหลือจะแตกต่างกันตามความเหมาะสมและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ดังนี้

กลุ่มที่ 1. ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL หรือเป็น NPL แล้วแต่รถยังไม่ถูกยึด แนวทางช่วยเหลือจะสอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ของ ธปท. ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถขอพักชำระค่างวดได้ 3 เดือน หรือตามผลกระทบที่ลูกหนี้ได้รับ

โดยแนวทางใหม่จะคำนวณดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้จากฐานของค่างวดที่ได้พักชำระหนี้ตามเกณฑ์ของ สคบ. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระหนี้ถูกลงอย่างมาก (แนวทางเดิมเป็นการคำนวณดอกเบี้ยจากฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด)

สำหรับลูกหนี้ที่เคยพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ สามารถคืนรถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ได้ และหากราคาขายรถทอดตลาดที่ได้รับต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ลูกหนี้สามารถขอผ่อนปรนเพิ่มเติมได้โดยผู้ให้บริการทางการเงินอาจพิจารณายกหนี้ส่วนที่เหลือให้ตามความเหมาะสม

กลุ่มที่ 2. ลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด ลูกหนี้เช่าซื้อสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งนี้ เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ร่วมงานเพื่อขอรถที่ถูกยึดไปคืน โดยเจ้าหนี้เช่าซื้อจะชะลอการขายทอดตลาด และปรับโครงสร้างหนี้ งานมหกรรมในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกหนี้เช่าซื้อมีโอกาสที่จะนำรถกลับไปประกอบอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าหนี้กับลูกหนี้เช่าซื้อจะเจรจากันเอง ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน ทำให้โอกาสที่ลูกหนี้จะได้รถที่ถูกยึดคืนมีไม่มาก แต่ในครั้งนี้หวังว่าลูกหนี้ที่ถูกยึดรถไป ส่วนหนึ่งจะมีโอกาสที่จะได้รับรถคืนซึ่งเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

กลุ่มที่ 3. ลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีมูลหนี้เช่าซื้อส่วนที่ขาด กรณีรถถูกขายทอดตลาดแล้ว ปรากฏว่าเงินที่ได้รับนั้นน้อยกว่ายอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือ ทำให้มียอดหนี้ส่วนขาด หรือ ติ่งหนี้ ในงานมหกรรมครั้งนี้ สคบ.และ ธปท. ได้ร่วมกันศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาด และได้จัดทำโปรแกรมการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดแบบง่ายๆ เพื่อให้ลูกหนี้จะได้ใช้คำนวณ

โดยลูกหนี้เช่าซื้อที่มีปัญหาเกี่ยวกับยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมในครั้งนี้ไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ทั้งในส่วนที่ยังไม่มีการฟ้อง หรือฟ้องแล้ว ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรื่องนี้เป็นธรรมมากขึ้น และช่วยให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เช่าซื้อสามารถตกลงกันได้ง่ายขึ้นและตรงไปตรงมา

โดยมหกรรมไกล่เกลี่ยออนไลน์จะทำผ่านเว็บไซต์ของ กรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สคบ. ธปท. และศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) รวมทั้ง เว็บไชต์ของผู้ให้บริการทางการเงินที่เข้าร่วมมหกรรมฯ ทั้งนี้ ขอให้ลูกหนี้ศึกษาวิธีการกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพราะข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คำขอไกล่เกลี่ยของท่านไม่ได้รับการพิจารณาช่วยเหลือ

สำหรับ ประชาชนที่ไม่ถนัดในการกรอกข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรศัพท์ 1213 เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูล ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. หากนอกเวลาทำการสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่งอีเมลมาที่ Debtfair@bot.or.th เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป

"ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อภายใต้การกำกับของ ธปท. ทุกแห่ง จะต้องให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 นอกจากนี้ผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อหลายแห่งที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ก็มีแนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยเช่นกัน หากลูกหนี้ไม่ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ทางด่วนแก้หนี้ ของ ธปท. หรือ โทรศัพท์ 1213"

Adblock test (Why?)


ผ่อนรถไม่ไหวมาทางนี้ ธปท.จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถช่วยลูกหนี้ - ไทยรัฐ
Read More

CP หนุนนำเข้าวัคซีนทางเลือก 'ซิโนฟาร์ม ไฟเซอร์ โมเดอร์นา' - กรุงเทพธุรกิจ

31 พฤษภาคม 2564

481

ซีพี ย้ำจุดยืน สนับสนุนเอกชนซื้อวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และอื่นๆ เพื่อจัดฉีดให้กับพนักงานและครอบครัว แบ่งเบาภาระภาครัฐ

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ความชัดเจนของการนำเข้าวัคซีนทางเลือกมีมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากวัคซีนโมเดอร์นา ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

รวมทั้งล่าสุด ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงความคืบหน้า เตรียมนำเข้าวัคซีนทางเลือกของซิโนฟาร์มจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้เห็นโอกาสในการนำเข้าวัคซีนทางเลือก ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์เห็นด้วยและสนับสนุนแนวทางดังกล่าว โดยถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเปิดโอกาสให้มีวัคซีนทางเลือก

นอกจากนี้ เป็นโมเดลที่ดีที่มีหน่วยงานเป็นตัวแทนภาครัฐจัดซื้อวัคซีนทางเลือก เพื่อให้ภาคเอกชนที่มีกำลังซื้อเข้ามาดีลและดำเนินการตามข้อกำหนด เพราะขณะนี้วัคซีนโควิดยังเป็นการใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งการขยายวิธีการนำเข้าวัคซีนชนิดอื่นในลักษณะนี้จะเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนที่หลากหลายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทำให้การกระจายวัคซีนวัคซีนของประเทศไทยมีความยืดหยุ่นกว่าการมีวัคซีนหลักเพียงสองชนิด คือ แอสตราเซเนกา และ ซิโนแวค เท่านั้น

ปัจจุบันจากสถานการณ์ความต้องการวัคซีนทั่วโลกที่มากขึ้น วัคซีนทางเลือกคือคำตอบที่จะช่วยให้โลกนี้ผ่านพ้นวิกฤตโควิด โดยจะเห็นได้ว่า

วัคซีนซิโนฟาร์ม ซึ่งต้องฉีด 2 โดส ได้รับการอนุมัติใช้แล้วใน 42 ประเทศทั่วโลก โดยมีการใช้มากเป็นอันดับ 4 รองจาก วัคซีนแอสตราเซเนกา ที่ใช้ใน 166 ประเทศ วัคซีนซิโนแวค ที่ใช้ใน 25 ประเทศ

วัคซีนไฟเซอร์-บิออนเทค ที่ใช้ใน 94 ประเทศ และ วัคซีนโมเดอร์นา ที่ใช้ใน 46 ประเทศ

ทั้งนี้ การเข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและหลากหลายถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ มองว่า ซิโนฟาร์ม ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และวัคซีนทางเลือกอื่นๆ ควรมีการเร่งเจรจานำเข้าโดยยึดจากโมเดลที่ทำสำเร็จแล้ว เพื่อให้สามารถเพิ่มปริมาณนำเข้าอย่างรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการวัคซีนในประเทศ

นายศุภชัย กล่าวสรุปว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์มีจุดยืนสนับสนุนแนวทางการนำเข้าวัคซีนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นซิโนฟาร์มที่กำลังดำเนินการอยู่ หรือ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และวัคซีนอื่นๆที่อยู่ในขั้นตอนการอนุมัติ ซึ่งในฐานะภาคเอกชนต้องการให้มีวัคซีนทางเลือกโดยเร็ว โดยเอกชนยินดีใช้ทุนทรัพย์ของตนเอง เพื่อนำไปจัดฉีดให้แก่บุคลากร พนักงาน ครอบครัวพนักงาน หรือกลุ่มคนขององค์กร โดยไม่มีการเก็บเงินกับผู้รับวัคซีนแต่อย่างใด และไม่มีการนำไปจำหน่ายต่อ คาดว่าจะทำให้การเข้าถึงวัคซีนมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และถือเป็นการลดภาระงบประมาณภาครัฐอีกด้วย

Adblock test (Why?)


CP หนุนนำเข้าวัคซีนทางเลือก 'ซิโนฟาร์ม ไฟเซอร์ โมเดอร์นา' - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

เช็กช่องทางลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด "กทม.-ต่างจังหวัด" ที่นี่! - ประชาชาติธุรกิจ

ฉีดวัคซีน
Lillian SUWANRUMPHA / AFP

ตรวจสอบช่องทางลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นอกจาก “หมอพร้อม” ยังมีแพลตฟอร์มอื่นที่แต่ละจังหวัดเปิดให้บริการแก่ประชาชน

ช่องทางการจองคิวเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ไม่ได้มีเพียงระบบหมอพร้อมเท่านั้น ในแต่ละจังหวัดเริ่มดำเนินการเปิดแพลตฟอร์มให้ประชาชนในพื้นที่ได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีน เพื่ออำนวยความสะดวกและให้ประชาชนได้เข้าถึงการฉีดวัคซีนได้มากยิ่งขึ้น

“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมช่องทางการลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของแต่จังหวัดที่เปิดให้ลงทะเบียนแล้ว มาให้ดังนี้

กรุงเทพมหานคร

ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 18-59 ปี และไม่ได้เป็นผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง สามารถลงทะเบียนได้ผ่าน 3 ช่องทาง ดังต่อไปนี ้

1.กลุ่มเข้าร่วมโครงการรัฐบาล อย่าง “เราชนะ” และ “คนละครึ่ง” สามารถลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนผ่านแอปฯ เป๋าตัง

2.ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com 

3.ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถลงทะเบียนผ่านร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ 7-11, Top Daily, FamilyMart และ Mini Big C โดยนำบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือที่สามารถติดต่อได้ ไปเพื่อให้พนักงานลงทะเบียน

นอกจากนี้ ค่ายมือถือยังเปิดรับลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด ได้แก่ เอไอเอส ทรู ดีแทค และบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

จังหวัดชลบุรี

จังหวัดชลบุรี เปิดลงทะเบียนผ่าน Google Form เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการรวบรวมข้อมูลผู้ที่ประสงค์เข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 7 กลุ่ม ดังนี้

  1. บุคลากรทางการแพทย์
  2. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
  3. บุคคลที่มีโรคประจำตัว
  4. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด 19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
  5. ประชาชนทั่วไป
  6. อาชีพที่ให้บริการคนจำนวนมาก
  7. กลุ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

ช่องทางการลงทะเบียนสามารถตรวจสอบได้ที่ลิงก์ https://bit.ly/3wIGDiB โดยจะมีการแบ่งเป็นอำเภอ

จังหวัดสมุทรปราการ

จังหวัดสมุทรปราการ เปิดให้ลงชื่อแจ้งความประสงค์เข้ารับการฉีดวัคซีน ผ่านเว็บไซต์ www.spko.moph.go.th หรือ https://bit.ly/3vxwghw แบ่งออกเป็นกลุ่มบุคคลเป้าหมาย ดังนี้

  • บุคลากรทางการแพทย์ภาคเอกชน/ผู้สูงอายุ/ประชาชน7กลุ่มโรค/สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
  • ผู้ประกอบการร้านค้าในตลาด/ห้างสรรพสินค้า
  • สถานศึกษา
  • โรงงานอุตสาหกรรม
  • กลุ่มผู้สื่อข่าว
  • ศาสนสถาน
  • บุคลากรภาคขนส่ง

หากมีการลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อมแล้ว ให้กรอกแบบสำรวจข้างต้นไปพร้อมกัน หากได้รับการจัดสรรวัคซีนจากช่องทางใดก่อน ให้ไปรับวัคซีนจากช่องทางนั้น

จังหวัดภูเก็ต

เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนผ่าน www.ภูเก็ตต้องชนะ.com โดยแบ่งออกเป็น การขอรับวัคซีนสำหรับองค์กร และสำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ขอให้ลงทะเบียนรับวัคซีนป้องกันโรคโควิดเช่นกัน

จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรีได้ เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนสนามนอกโรงพยาบาลผ่าน “นนท์พร้อม” ที่ลิงก์ https://bit.ly/3c7CQ6R สำหรับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รวมถึงคนที่ลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อมไม่ได้ ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อม ให้รอคิวการฉีดวัคซีนตามที่ระบบแจ้ง และโรงพยาบาลนัดหมาย

ทั้งข้อมูลทั้งหมดข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามการพิจารณาของแต่ละพื้นที่และจังหวัด ขอให้ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารได้จากสำนักงานสาธารณสุขของจังหวัด

Adblock test (Why?)


เช็กช่องทางลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด "กทม.-ต่างจังหวัด" ที่นี่! - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

'ปทุมธานี' ต้นแบบฉีดวัคซีนทางเลือก 'คำรณวิทย์' ชี้ไทยจะได้ 'ซิโนฟาร์ม' 20 ล้านโดส - กรุงเทพธุรกิจ

31 พฤษภาคม 2564

4,955

เลือก "ปทุมธานี" ต้นแบบฉีดวัคซีนทางเลือก เป็นพี่เลี้ยงให้ อบจ. ทั่วประเทศ "คำรณวิทย์" ชี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะได้วัคซีนโควิด "ซิโนฟาร์ม" 20 ล้านโดส

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมปูพรมฉีดวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยให้ปทุมธานีเป็นจังหวัดต้นแบบ ในการบริหารจัดการวัคซีน

พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า วัคซีนที่จะมีการนำเข้ามาที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์คือ ซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนที่มีความต้องการสูง ตามเอกสารพบว่ามีมาตรฐานสูงอันดับต้น ๆ ในการตอบสนองทำให้เกิดภูมิต้านทานได้ดี ความปลอดภัยสูง

ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ให้ทางบริษัทขึ้นทะเบียนซิโนฟาร์มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้แล้ว เป็นการจัดสรรวัคซีนทางเลือกให้กับประเทศ ซึ่งภายในประเทศไทยมีวัคซีนอยู่ 2 ชนิดได้แก่ 1.ซิโนแวค 2.แอสตราเซเนกา เป็นความต้องการใช้วัคซีนที่ค่อนข้างสูงในประเทศ แต่ปริมาณที่เราได้รับวัคซีนจาก 2 ชนิดยังไม่เพียงพอ จึงนำวัคซีนซีโนฟาร์มเพื่อปิดช่องว่างที่มีอยู่

ทำให้วัคซีนที่ได้รับมาจะได้ครอบคลุมคนทั้งประเทศ เป็นการฉีดวัคซีนปูพรมได้เร็วที่สุด ทำให้ภาคเอกชนการทำงานต่าง ๆ สามารถทำงานได้ หมายความว่า การทำกิจวัตรประจำวัน ที่เราสามารถทำธุรกิจธุรกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ทุกคนมีสิทธิในประเทศไทย เพียงแต่ว่า รัฐบาลต้องใช้เวลาในการหาวัคซีน เพื่อครอบคลุมคนทั้งประเทศ

ช่วงนี้เป็นช่วงวิกฤตที่เราต้องช่วยกัน ทั้งภาคเอกชน หน่วยราชการท้องถิ่น ที่จะดูแลคนของตัวเองได้เบื้องต้นทำให้ธุรกรรมธุรกิจเดินไปข้างหน้าได้ ไม่ใช่หมายความว่ารัฐบาลไม่มีความสามารถ แต่ความเร็วในการหาวัคซีนเข้ามาใช้จะทำให้ธุรกรรมธุรกิจเขาเดินหน้า เขาสามารถทำกำไลกับธุรกิจเขาได้ คนหาเช้ากินค่ำก็สามารถทำงานได้ อันนี้เป็นส่วนที่ควรจะทำ ในตอนนี้ ส่วนความพร้อมในการให้วัคซีนที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้มา จะแบ่งตามลำดับความสำคัญ คิดว่าทุกคนจะต้องได้หมด เพียงแต่ว่าจะมีด้านเอกสารด้านของความมั่นคงที่จะต้องมาคุยกับเรา เพื่อจัดสรรวัคซีนในเบื้องต้น

พล.อ.ต. นายแพทย์สันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดปทุมธานีและทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เคยมาช่วยฉีดวัคซีนให้บุคลาการทางการศึกษามาแล้วในเบื้องต้น และได้เคยพูดคุยกันไว้ว่าถ้า อบจ.ปทุมธานี มีความพร้อมก็ทำหนังสือมาเพื่อขอสนับสนุนวัคซีนทางเลือกของเรา โดยทำให้จังหวัดปทุมธานีก่อนเพื่อเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่น ดูว่าเราจะทำอย่างไร เอกสารเป็นอย่างไร ลงทุนกันอย่างไร ได้วัคซีนอย่างไร และการบริหารวัคซีนเป็นอย่างไร


ซึ่งวัคซีนเป็นการใช้แบบฉุกเฉินจึงต้องมีรูปแบบพอสมควร ต้องมีการควบคุมคุณภาพและรายงานคุณภาพหลังจากที่ฉีดแล้ว เกิดปัญหาอะไรต้องรายงานกับ อย. เพื่อให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่ใช่มีงบแล้วมาซื้อไปได้ เพราะมี รายละเอียดที่มากมายเบื้องต้นได้คุยกับ นายก อบจ.ปทุมธานีไว้แล้ว เพราะเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมและมี ประสบการณ์โดยให้เป็นผู้รวบรวมการสั่งซื้อจากจังหวัดอื่นๆแล้วเสนอขึ้นมาที่เดียวพร้อมเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องเอกสารและการดำเนินการในเรื่องต่างๆต่อไป

คลิปข่าว

ส่วนนายเสวก ประเสริญสุข รอง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่รอบแรกในปี พ.ศ. 2563 พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี ขณะนั้นในนานกลุ่มคนรักปทุม ได้ติดต่อหาน้ำยาฆ่าเชื้อโควิดอย่างดี พร้อมอุปกรณ์ทันสมัย รถแคปซูล ฉีดพ่นทั้งภายในอาคารและนอกอาคารโดยพ่นให้ประชาชนทั่วทั้งปทุมธานี ซึ้งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และ ท่านได้เต็มที่กับทุกอย่างที่ได้รบกับโควิดมาโดยตลอด และทำให้จังหวัดปทุมธานีจะได้ปลอดจากโควิด


และวันนี้เราอยากได้วัคซีนที่ดีที่สุด มาฉีดให้คนปทุมธานีเพื่อให้เปิดหน้ากากไม่ต้องกลัวโควิดกันอีกต่อไป นี่คือนโยบายของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ท่านเป็นหมอท่านรู้ว่าอะไรดีไม่ดี อยากให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้มอบให้จังหวัดปทุมธานีฉีดก่อนเป็นตัวอย่าง อย่างน้อย 500,000 คนก่อน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจของคนปทุมธานี ทำให้เศรษฐกิจความเป็นอยู่ของคนปทุมดีขึ้น เพราะเรามีความพร้อมที่จะเป็นต้นแบบอย่าง มีคุณสามารถอบรมแนะนำการฉีดวัคซีนกับ อบจ.อื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการฉีดวัคซีนว่าทำอย่างไร รวมถึงแกปัญหาให้ทุกจังหวัดได้


ที่ผ่านมาเราได้เห็นว่า พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ท่านมีความเสียสละรักษาคนป่วยฟรีมาโดยตลอด เมื่อทราบทราบว่าวัคซีนไหนเป็นวัคซีนที่ดีจึงอยากที่จะนำมาให้ประชาชนชาวปทุมธานี รวมถึงจังหวัดอื่นมาดูงานที่จังหวัดปทุมธานีได้ ที่ผ่านมาท่าน นายก อบจ. ได้นำแรปบิทเทสมาตรวจคัดกรองให้ชาวปทุมทั้งจังหวัดปทุมธานี หากผลบวกเป็นอย่างไรก็ไปสวอพคัดกรองหาเชื้ออีกที ทุกวันนี้ทาง อบจ.ได้บริการตรวจคัดกรองให้ชาวปทุมทุกวัน วันละ 1,500 คน เพื่อให้ชาวปทุมธานีปลอดจากโควิด ครั้งหนึ่งเราก็เคยได้วัคซีนจากสถาบันจุฬาภรณ์ มาฉีดให้คนปทุมธานี ซึ่ง อบจ.ปทุมธานีได้ดำเนินการอย่างเรียบร้อย แสดงถึงความพร้อมของเราจริงๆ ที่เราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า ขณะนี้พี่น้องประชาชนมีใจจดจ่อว่าจะได้ฉีดวัคซีนหรือไม่ บางคนคิดว่าวัคซีนน่ากลัว โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดหาวัคซีนซีโนแวคและแอสตราฯ แต่วันนี้ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีวัคซีนซีโนฟาร์มเข้ามา เป็นวัคซีนทางเลือก โดยเขาพร้อมที่จะเสียเงินที่จะได้ฉีดวัคซีน ซึ่งต้องแยกส่วนที่ฉีดของทางรัฐบาลที่ฉีดโดยกระทรวงสาธารณสุข

162242905641

และที่ฉีดโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่จะมีวัคซีนเข้ามาภายในเดือนมิถุนายนก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ต้องแยกกันให้ออก เนื่องจากจังหวัดปทุมธานีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดของประเทศ และเป็นพื้นที่สีแดง จังหวัดปทุมธานีจึงได้รับส่วนแบ่งวัคซีนจากรัฐบาลมาเบื้องต้นจำนวน 60,000 กว่าโดส สามารถฉีดให้ประชาชนได้ 30,000 กว่าคน ซึ่งไม่เพียงพอ


แต่ขณะเดียวกันจังหวัดที่ไม่ได้แพร่ระบาดแต่กลับได้มากกว่าเรา เนื่องจากตนได้รับการเลือกตั้งจากพี่น้องประชาชน จึงมองว่าในเมื่อไม่เพียงพอ เราจะทำอย่างไร ให้พี่น้องประชาชนได้ฉีดอะไรได้บ้าง จนในวันนี้มีวัคซีนทางเลือกเข้ามา จึงต้องดิ้นรนเพื่อหาวัคซีนทางเลือกคือซีโนฟาร์ม เข้ามาฉีดพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด เพราะปทุมธานีเป็นจังหวัดสุ่มเสี่ยงทั้งจังหวัดอยู่แล้ว จึงได้หารือกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จนได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว โดยฉีดให้บุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับโรงเรียนที่จะเปิดเทอม แต่ก็ไม่เพียงพอ จึงทำบันทึกถึงราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขอจองไว้ก่อนอย่างน้อย 500,000 โดส ซึ่งขณะนั้นจากที่พูดคุยกับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะได้วัคซีนมาจำนวน 20 ล้านโดส จึงได้จองไว้อย่างน้อย 500,000 หรือ 1,000,000 โดส

จำนวนประชาชนของจังหวัดปทุมธานีรวมประชากรแฝงด้วยคาดว่ากว่า 2ล้านคนขึ้นไป ถ้าเราฉีดได้ 500,000 คน จึงมองว่าจังหวัดปทุมธานีเรารอดแล้ว ซึ่งครั้งแรกจองไว้ 300,000 โดส แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีโทรศัพท์มาหาขอให้จองวัคซีน 500,000 โดส คนจึงเรียนทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขอ 500,000 โดส โดยจะเอางบประมาณ งบสะสมแต่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของตน จึงต้องมีการเปิดสภาเพื่อขออนุมัติ หน่วยงานหลักก็คือ กระทรวงมหาดไทย อยากบอกพี่น้องชาวปทุมธานี ก็จะทำเต็มความสามารถที่มี


ซึ่งถ้ากระทรวงมหาดไทยจะเบรกก็ไม่เป็นไร ผมก็ต้องหาแนวทางกันต่อไป แต่ขณะนี้ทางนายก อบจ.ทั้ง 76 จังหวัด ให้ความไว้วางใจตน เลือกให้เป็นตัวแทนของพวกเขา รวมเป็นคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมประชุมเป็นตัวแทนของนายก อบจ.ทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งผมก็หารือปัญหานี้ ไม่ใช่ว่าจังหวัดปทุมธานีจะได้วัคซีนเพียงแห่งเดียวทุกจังหวัดที่ขอมาก็ต้องได้เหมือนกัน

Adblock test (Why?)


'ปทุมธานี' ต้นแบบฉีดวัคซีนทางเลือก 'คำรณวิทย์' ชี้ไทยจะได้ 'ซิโนฟาร์ม' 20 ล้านโดส - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

Sunday, May 30, 2021

แฟชั่น "คริปโต" ทางเลือกลงทุนที่ "รัฐบาล" บางประเทศไม่ยอมรับ - ไทยรัฐ

"เบเรซิน" มองว่า ตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ "ตลาดคริปโตเคอร์เรนซี" ถูกหวดและทุบตีอย่างหนักหน่วง เป็นเพียง "บททดสอบ" ของ "บางสิ่ง" ที่กำลังจะเข้ามาในไม่ช้า และหากย้อนมองในมุมของ "แมท เกิร์ตเกน" (Matt Gertken) และ "กาย รัสเซล" (Guy Russell) ในรายงาน "ยุทธศาสตร์ภูมิรัฐศาสตร์" (Geopolitical Strategy) ก็พอจะคาดการณ์อนาคตได้ว่า "ตลาดคริปโต" จะต้องเผชิญกับ "กฎเกณฑ์" ที่เข้มงวดต่อไปอีกนานทีเดียว

แค่ช่วงตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จีนก็ออกคำสั่ง "แบน" บริษัทการเงินที่กำลังเสนอบริการ "คริปโตเคอร์เรนซี" โดยจากกรณีนี้ "เบเรซิน" วิเคราะห์ไปไกลกว่านั้นว่า "รัฐบาลจีน" กำลังมีความพยายามในการ "ควบคุม" การแอบลักลอบ "หนีภาษี" ด้วยการใช้ช่องทาง "คริปโตเคอร์เรนซี" ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาก็มีการประกาศว่า เตรียมบังคับใช้กฎหมายควบคุม "คริปโตเคอร์เรนซี" ด้วยการกำหนดว่า การโอนคริปโตมูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.1 แสนบาท) หรือมากกว่านั้น ต้องรายงานต่อกรมสรรพากร (IRS) (*อัตราแลกเปลี่ยน 29 พ.ค. 64: 31.26 บาท)

ลองมาดูมุมมองของ "รัฐบาล" แต่ละประเทศ ต่อ "คริปโตเคอร์เรนซี" หน่อยไหมว่าเป็นเช่นไร?

1. แคนาดา

คำถาม: ประมูลถูกกฎหมาย?
คำตอบ: ไม่ได้, แต่ยอมรับเป็นบางส่วน

คำถาม: อนุญาตซื้อ-ขาย?
คำตอบ: ได้

คำถาม: อนุญาตสิทธิการครอบครอง?
คำตอบ: ได้

1.1 การแลกเปลี่ยนคริปโต
คำตอบ: ถูกกฎหมาย, กฎเกณฑ์แตกต่างในแต่มลรัฐ

1.2 การระดมทุน "ไอซีโอ" (ICO)
คำตอบ: ภายใต้การกำกับดูแล

2. จีน

คำถาม: ประมูลถูกกฎหมาย?
คำตอบ: ไม่ได้

คำถาม: อนุญาตซื้อ-ขาย?
คำตอบ: ไม่ได้

คำถาม: อนุญาตสิทธิการครอบครอง?
คำตอบ: ได้

2.1 การแลกเปลี่ยนคริปโต
คำตอบ: ผิดกฎหมาย

2.2 การระดมทุน "ไอซีโอ" (ICO)
คำตอบ: ห้าม

3. สหราชอาณาจักร

คำถาม: ประมูลถูกกฎหมาย?
คำตอบ: ไม่ได้, แต่ยอมรับเป็นบางส่วน

คำถาม: อนุญาตซื้อ-ขาย?
คำตอบ: ได้

คำถาม: อนุญาตสิทธิการครอบครอง?
คำตอบ: ได้

3.1 การแลกเปลี่ยนคริปโต
คำตอบ: ถูกกฎหมาย, ลงทะเบียนกับ FCA

3.2 การระดมทุน "ไอซีโอ" (ICO)
คำตอบ: คลุมเครือ

4. ญี่ปุ่น

คำถาม: ประมูลถูกกฎหมาย?
คำตอบ: ไม่ได้, แต่ยอมรับเป็นวงกว้าง

คำถาม: อนุญาตซื้อ-ขาย?
คำตอบ: ได้

คำถาม: อนุญาตสิทธิการครอบครอง?
คำตอบ: ได้

4.2 การแลกเปลี่ยนคริปโต
คำตอบ: ถูกกฎหมาย, กำกับโดยกฎหมายการให้บริการชำระเงิน (PSA)

4.3 การระดมทุน "ไอซีโอ" (ICO)
คำตอบ: ภายใต้การกำกับดูแล

5. สหรัฐอเมริกา

คำถาม: ประมูลถูกกฎหมาย?
คำตอบ: ไม่ได้, แต่ยอมรับเป็นบางส่วน

คำถาม: อนุญาตซื้อ-ขาย?
คำตอบ: ได้

คำถาม: อนุญาตสิทธิการครอบครอง?
คำตอบ: ได้

5.1 การแลกเปลี่ยนคริปโต
คำตอบ: ถูกกฎหมาย, กฎเกณฑ์แตกต่างในแต่มลรัฐ

5.2 การระดมทุน "ไอซีโอ" (ICO)
คำตอบ: ภายใต้การกำกับดูแล

ในตอนที่ 1 มีการเอ่ยถึง "ทฤษฎีแห่งวามเป็นไปไม่ได้ของคริปโต" (Crypto Impossibility Theorem) และ "บล็อกเชน ไตรเลมมา" (Blockchain Trilemma) ซึ่งมาถึงตอนที่ 2 หัวหน้านักกลยุทธ์ระดับโลกก็มองว่า "บล็อกเชน ไตรเลมมา" จะทำให้ความตั้งใจของคริปโตเคอร์เรนซีที่หวังจะผ่านพ้นความกังวลของแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่เรียกว่า ESG เป็นไปไม่ได้ ขณะเดียวกัน "ทฤษฎีแห่งความเป็นไปไม่ได้ของคริปโต" ก็จะเข้าขัดขวางไม่ให้คริปโตเคอร์เรนซีดำรงอยู่ในสถานะ "สะสมมูลค่า" ได้อย่างยั่งยืน

"คริปโตก็เหมือนฉลาม"

กล่าวคือ "คริปโตเคอร์เรนซี" จะเคลื่อนที่แบบพุ่งขึ้นไปข้างหน้าก็ได้ หรือจะดำดิ่งลงก็ย่อมได้ "เบเรซิน" ย้อนความไปช่วง "พวกมัน" ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในบรรดานักลงทุน ที่ตอนนั้น "พวกเขา" มีความปรารถนาอยากจะซื้อ "คริปโตเคอร์เรนซี" ก็เพราะหวังอยากเสี่ยงโชค แต่เวลานี้ "เหตุผล" ลักษณะนั้นอันตรธานไปแล้ว...

"ช่วงต้นปีนี้ (2564) มูลค่ารวมของคริปโตเคอร์เรนซีมากกว่ามูลค่าหุ้นทั้งหมดเป็นเวลาสั้นๆ และจากการปรับแก้ไขล่าสุด พบว่า คริปโตเคอร์เรนซี 17 สกุล มีมูลค่าตลาดรวมกันมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.1 แสนล้านบาท)"

5 อันดับ "สกุลคริปโตเคอร์เรนซี" มูลค่าตลาดสูงสุด

1. บิตคอยน์ (Bitcoin)
- การเปลี่ยนแปลง (YTD) : 37%
- มูลค่าตลาด 751,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (24 ล้านล้านบาท)

2. อีเธอร์เลียม (Ethereum)
- การเปลี่ยนแปลง (YTD) : 283%
- มูลค่าตลาด 324,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (10 ล้านล้านบาท)

3. ไบแนนซ์คอยน์ (Binance Coin)
- การเปลี่ยนแปลง (YTD) : 932%
- มูลค่าตลาด 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2 ล้านล้านบาท)

4. คาร์ดาโน (Cardano)
- การเปลี่ยนแปลง (YTD) : 935%
- มูลค่าตลาด 58,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.8 ล้านล้านบาท)

5. เทเทอร์ (Tether)
- การเปลี่ยนแปลง (YTD) : 0%
- มูลค่าตลาด 58,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.8 ล้านล้านบาท)

จะเป็นอย่างไรหาก "คริปโตเคอร์เรนซี" พังทลายอย่างต่อเนื่อง?

หัวหน้านักกลยุทธ์ระดับโลก วิเคราะห์ทิ้งท้ายกับ "ผู้เขียน" ว่า ในอนาคตอันใกล้ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นใน "ตลาดคริปโต" อาจทำให้สินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไรอื่นๆ เช่น หุ้นเทคโนโลยี เป็นต้น ตกต่ำลงไปด้วย ส่วนในระยะยาว นักลงทุนคงให้ความสนใจคริปโตเคอร์เรนซีน้อยลง และอาจเป็นผลประโยชน์ต่อ "ตลาดหุ้น" ที่นักลงทุนจะหันกลับไปจดจ่อกับ "หุ้น" อีกครั้ง ขณะที่ เศรษฐกิจวงกว้างนั้น ผลกระทบของ "ตลาดหมีคริปโต" จะอยู่ในวงจำกัด.

ผู้เขียน: เหมือนพระอาทิตย์
กราฟิก: เทพอมร แสงธรรมาพิทักษ์

ข่าวน่าสนใจ:

ข้อมูลอ้างอิง:

  • Close To 20 Cryptos Have A Market Cap In Excess Of US$10bn by COINMARKETCAP via BCA RESEARCH
  • Regulation of Cryptos: What Can and Cannot be done by Visualcapitalist, Chain Analysis, Comply Advantagem and The SEC via BCA Research

Adblock test (Why?)


แฟชั่น "คริปโต" ทางเลือกลงทุนที่ "รัฐบาล" บางประเทศไม่ยอมรับ - ไทยรัฐ
Read More

ลดอุปสรรค วัคซีนทางเลือก - กรุงเทพธุรกิจ

31 พฤษภาคม 2564 | โดย [บทบรรณาธิการ]

51

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังทวีความรุนแรง ขณะที่ความต้องการฉีดวัคซีนของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาภาคเอกชนได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอนำเข้าวัคซีนทางเลือก แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ และติดเงื่อนไขมากมาย จากนี้หากลดอุปสรรคลงได้จะทำให้ไทยมีทางเลือกมากขึ้น

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก พบผู้ติดเชื้อภาพรวมลดลง ส่วนทางกับการระบาดในประเทศไทยที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันสูงขึ้นจนเกือบถึงวันละ 5,000 รายแล้ว โดยล่าสุดวันที่ 30 พ.ค.2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4,528 ราย เสียชีวิต 24 ราย รวมจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยทั้งหมด 154,307 ราย และเสียชีวิต 918 ราย ถึงแม้จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในประเทศไทยจะห่างไกลกลับหลายประเทศ แต่ก็เป็นเรื่องน่ากังวลไม่น้อยกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังไม่ถึงจุดพีค

ในขณะที่ความต้องการฉีดวัคซีนของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นไม่หยุดในแต่ละวัน โดยการฉีดวัคซีนในประเทศไทยที่เริ่มฉีดมาตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2564 ถึงวันที่ 29 พ.ค.2564 ฉีดไปแล้ว 3.54 ล้านโดส แบ่งเป็นการฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 2.45 ราย และการฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 1.09 ราย แต่จำนวนที่ฉีดไปแล้วดังกล่าวก็ไม่เพียงพอกับการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่ต้องฉีดวัคซีนให้ได้ถึง 70% ของจำนวนประชากรในประเทศไทยทั้งหมด หรือต้องฉีดประมาณ 40-50 ล้านคน

ที่ผ่านมาภาคเอกชนได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอนำเข้าวัคซีนมาเพื่อฉีดให้กับพนักงานและครอบครัว แต่ได้รับการปฏิเสธด้วยเงื่อนไขการนำเข้าวัคซีนจะต้องดำเนินการด้วยหน่วยงานรัฐ เพราะเป็นการผลิตวัคซีนในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินที่บริษัทผู้ผลิตจะเจรจากับหน่วยงานรัฐของแต่ละประเทศเท่านั้น ทำให้ข้อเสนอของภาคเอกชนที่ต้องการนำเข้าวัคซีนทางเลือกเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา ต้องพับแผนไป แล้วเข้ามามีส่วนได้เพียงการสนับสนุนสถานที่และทรัพยากรในการฉีดวัคซีนให้พนักงานและประชาชน

ความต้องการวัคซีนทางเลือกไม่ได้จำกัดเฉพาะภาคเอกชน แต่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลทั่วประเทศที่สนใจสั่งซื้อวัคซีนทางเลือก แต่ที่ผ่านมากรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีหนังสือแจ้งให้ อปท.ทั่วประเทศว่าการสั่งซื้อวัคซีนของภาคเอกชนและ อปท.ในระยะแรกยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะอยู่ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินและวัคซีนมีจำกัด ดังนั้นระยะแรกจึงดำเนินการได้เฉพาะภาครัฐเท่านั้น

ช่วงที่ผ่านมาจึงมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย ทั้งเงื่อนไขในเชิงนโยบายและเงื่อนไขด้านกฎระเบียบ ทำให้การจัดหาวัคซีนทางเลือกของภาคเอกชนและ อปท.ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงหวังว่าหลังจากที่เริ่มมีการนำเข้าวัคซีนทางเลือกได้แล้วภาครัฐจะผ่อนคลายกฎระเบียบหรือนโยบายบางข้อลง เพื่อให้การกระจายวัคซีนทำได้เร็วที่สุดจากปัจจุบันที่ฉีดได้เพียง 3.54 ล้านโดส โดยเฉพาะการผ่อนคลายกฎระเบียบให้ อปท.ที่มีความพร้อมจัดหาวัคซีนให้ได้มากที่สุด

Adblock test (Why?)


ลดอุปสรรค วัคซีนทางเลือก - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

ถึงเวลาแยกทาง "แบงค็อก ยูไนเต็ด" ขอบคุณ "โฮโซไก" สำหรับความทุ่มเท - ไทยรัฐ

วันที่ 30 พ.ค. 64 สโมสรทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด ทีมดังในศึกไทยลีก แสดงความขอบคุณ ฮาจิเมะ โฮโซไก กองกลางชาวญี่ปุ่นเลือดซามูไร ที่ทุ่มเททำงานอย่างหนักตลอดหนึ่งฤดูกาลที่เข้ามาร่วมทีมด้วยสัญญายืมตัว และเตรียมย้ายกลับต้นสังกัดที่แท้จริงอย่าง "ปราสาทสายฟ้า" บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ทั้งนี้ ฮาจิเมะ โฮโซไก ย้ายมาร่วมทัพ แบงค็อก ยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 โดยลงเล่นไปทั้งหมด 28 เกม ทำไป 1 ประตู ในนัดที่เปิดบ้านถล่มสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ไป 4-1

ขอความจากเพจทางการของสโมสรระบุว่า "สโมสรขอขอบคุณทุกวินาทีที่ ฮาจิ ทุ่มเทเพื่อทีมและแฟนบอล และขออวยพรให้ฮาจิ ประสบความสำเร็จในเส้นทางลูกหนังต่อไป"

สำหรับ ฮาจิเมะ โฮโซไก เริ่มสร้างชื่อในฐานะดาวรุ่งกับ อูราวะ เรด ไดมอนด์ส ซึ่งเจ้าตัวมีส่วนช่วยในการคว้าแชมป์ เอ็มเพอเรอร์ส คัพ 2 สมัย เจลีก 1 สมัย และ เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก 1 สมัย ทำให้ฮาจิมีชื่อติดทีมชาติญี่ปุ่นและสามารถคว้าแชมป์ เอเอฟซี เอเชียนคัพ มาครองได้ 1 สมัยในปี 2011

จากนั้น โฮโซไก ได้เดินทางไปค้าแข้งในลีกเยอรมันกับหลายทีมชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น ไบเออร์ เลเวอร์คูเซน, เอาก์สบวร์ก, แฮร์ธา เบอร์ลิน และสตุ๊ตการ์ต โดยระหว่างนั้นเคยมีโอกาสได้สัมผัสฟุตบอลตุรกีกับ บูร์ซาสปอร์ เป็นเวลา 1 ฤดูกาล ก่อนจะกลับมาเล่นในลีกบ้านเกิดกับ คาชิว่า เรย์โซล เมื่อปี 2017 และออกเดินทางอีกครั้งสู่ประเทศไทยในปี 2019 กับทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โดยมี ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด เป็นสโมสรล่าสุด

Adblock test (Why?)


ถึงเวลาแยกทาง "แบงค็อก ยูไนเต็ด" ขอบคุณ "โฮโซไก" สำหรับความทุ่มเท - ไทยรัฐ
Read More

สระบุรีตรวจเชิงรุกพนักงาน CPF แก่งคอย ครึ่งทางพบติดโควิดแล้ว 391 ราย - ประชาชาติธุรกิจ

สระบุรีลุยตรวจเชิงรุก พนักงานโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ CPF แก่งคอย สระบุรี ครึ่งทางพบติดโควิดแล้ว 391 ราย

วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 รายงานข่าวจากจังหวัดสระบุรี แจ้งว่า กรณี การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ภายในโรงงานแปรรูปเนื้อไก่สระบุรี ของบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.30 น. ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ดำเนินการตรวจคันหาผู้ป่วยเชิงรุกพนักงานโรงงานแปรรูปเนื้อไก่สระบุรี ซึ่งมีพนักงานรวมทั้งสิ้น 5,862 คน 

 

ปัจจุบันดำเนินการตรวจเชิงรุกแล้วจำนวน 3,400 คน ทราบผลการตรวจแล้ว จำนวน 2,299 คน พบผู้ติดเชื้อจำนวน 391 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวกัมพูชาจำนวน 240 คน เป็นเพศชาย จำนวน 129 คน เพศหญิง จำนวน 111 คน ชาวไทย จำนวน 151 คน เป็นเพศชาย จำนวน 37 คน เพศหญิง จำนวน 114 คน

 “ซีพีเอฟ” หยุดโรงงานไก่ สระบุรี 5 วัน เร่งตรวจเชิงรุกพนักงาน 5,800 คน
สั่งปิดโรงเชือดไก่ “ซีพีเอฟ” แก่งคอย พบติดโควิด 245 ราย จ่อตั้งรพ.สนาม

ทั้งนี้พนักงานที่พบคิดโควิดทั้งหมดอาศัยอยู่ในจังหวัดสระบุรี จำนวน 349 คน แบ่งเป็นชาวกัมพูชา จำนวน 240 คน ชาวไทย 109 คน โดยคนไทย 42 คนจะเดินทางไป-กลับบ้านในต่างจังหวัด 

ผู้ที่ตรวจพบเชื้อดังกล่าว ได้นำตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่ จังหวัดสระบุรี ได้แก่ 1.โรงพยาบาลสนาม ณ ค่ายลูกเสือเจ็ดคต – โป่งก้อนเส้า อำเภอแก่งคอย 2. โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดสระบุรี

มาตรการดำเนินการที่ดำเนินการแล้ว ได้ตรวจหาเชื้อในพนักงานทั้งหมดทั้งในโรงงาน และนอกโรงงานโดยให้พนักงานไปตรวจเองที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันนี้ ดำเนินการประสานงานระหว่างจังหวัดเฝ้าระวังกลุ่มพนักงานที่อยู่ต่างจังหวัดเพื่อติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวังอาการตรวจหาเชื้อ และกักกันตัวที่บ้าน รวมทั้งให้สาธารณสุขอำเภอ ติดตาม ดูแล พนักงานอาศัยอยู่ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด 

ส่วนการดำเนินการของโรงงานแปรรูปเนื้อไก่สระบุรี (บริษัท ซีพีเอฟ ประเทศไทยจำกัด มหาชน)

ได้เตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ของบริษัทฯ โดยคาดว่าจะสามารถรองรับผู้ติดเชื้อได้ 400 คน และขณะนี้ได้ปิดโรงานชั่วคราวเพื่อทำความสะอาด ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป

มาตรการที่ต้องดำเนินการต่อโดยได้ขอให้พนักงานที่มีความเสี่ยงที่ยังไม่ได้ตรวจหาเชื้อให้ไปรับการตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน รวมถึงครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ให้แยกกักตัวเอง สังเกตอาการ

หากมีอาการ ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ คอแห้ง จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้น ถ่ายเหลว ขอให้ไปตรวจหาเชื้อโดยด่วนที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน มาตรการป้องกันโรคสำหรับประชาชนขอให้เข้มงวดในการรักษามาตรการการป้องกันโรค สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง งดเดินทางไปในสถานที่แออัดและการรวมกลุ่มหนาแน่น

Adblock test (Why?)


สระบุรีตรวจเชิงรุกพนักงาน CPF แก่งคอย ครึ่งทางพบติดโควิดแล้ว 391 ราย - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

"วัคซีน" จุดเริ่มต้น...ทางรอด ไม่ได้ช่วยให้ธุรกิจมีรายได้มากขึ้น - ประชาชาติธุรกิจ

ยุทธชัย จรณะจิตต์
ยุทธชัย จรณะจิตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อิตัลไทย จำกัด

กว่า 1 ปีแล้วที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรมของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นระยะเวลาที่ลากยาวเกินกว่าที่ผู้ประกอบการได้คาดการณ์ไว้

“ยุทธชัย จรณะจิตต์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท อิตัลไทย จำกัด และผู้บริหารกลุ่มบริษัท ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป จำกัด บริษัทบริหารโรงแรมแบรนด์อมารี, โอโซ, ซามา, ซามา ฮับ และผู้ถือหุ้นโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ กล่าวบนเวที “Thailand Survivor…ต้องรอด” จัดโดยประชาชาติธุรกิจ พร้อมให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงแนวทางการบริหาร และทิศทางการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมท่ามกลางวิกฤตโควิด ไว้ดังนี้

การบริหารโรงแรมไม่เหมือนเดิม

“ยุทธชัย” บอกว่า แรกเริ่มที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิดคิดว่าผลกระทบ น่าจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ หรือประมาณสัก 12 เดือน ในช่วง 12 เดือนแรกที่เกิดการระบาดกลุ่มออนิกซ์จึงโหมรีอินเวสต์เมนต์ปรับปรุงโรงแรม ทำให้โรงแรมในกลุ่มใหม่ขึ้น สะอาดขึ้น มีระบบที่ดีขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือโควิดไม่จบ กระทั่งก้าวสู่ปีที่ 2 แล้ว

จึงมองว่าการบริหารจัดการโรงแรมนับจากนี้ไปจะไม่มีวันเหมือนเดิม ทั้งโครงสร้างการบริหาร และโครงสร้างการจ้างงาน เนื่องจากในระยะเวลา 2-3 ปี นับจากนี้ตลาดหลักของธุรกิจโรงแรมไทยคือ ตลาดภายในประเทศ (domestic) เพราะนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังมีข้อจำกัดในด้านการเดินทาง แต่ปัญหาคือ ที่ผ่านมาตลาดโดเมสติกนั้นสร้างรายได้ให้กับธุรกิจโรงแรมในสัดส่วนเพียงแค่ 20% เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับต้นทุนการดำเนินธุรกิจ

“ตอนนี้เราต้องเปิดให้บริการโรงแรมเพื่อให้พนักงานมีงานทำ และเจ้าของก็ต้องสนับสนุนยอมควักกระเป๋าจ่ายค่าจ้างพนักงาน เพราะรายได้ที่เข้ามาไม่พอสำหรับค่าพนักงานและค่าบริหารในแต่ละเดือน ทุกวันนี้เราต้องพยายามหารายได้เพิ่ม เพื่อให้รายได้กับค่าใช้จ่ายมีความสมดุล และลดการซับซิดี้ของเจ้าของ”

เขย่าโครงสร้าง-ปรับการจ้างงาน

“ยุทธชัย” บอกด้วยว่า จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและพอร์ตรายได้ของธุรกิจโรงแรมทำให้กลุ่มออนิกซ์ต้องปรับโครงสร้างการบริหารผู้บริหารระดับสูงอีกครั้ง ด้วยการสนับสนุนให้คนไทยขึ้นมาบริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป (GM) ในทุกโรงแรมในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป หลังจากที่ตนได้เข้ามาคุมบริหารงานด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่ธุรกิจต้องพึ่งพาตลาดภายในประเทศ

รวมถึงปรับระบบการจ้างงานใหม่ให้สอดรับกับการปรับฐานโครงสร้างการจัดจ้างพนักงานใหม่ในเซ็กเตอร์ธุรกิจโรงแรม เนื่องจากที่ผ่านมาธุรกิจโรงแรมเป็นกลุ่มที่เติบโตสูงมาก ส่วนใหญ่จ้างชาวต่างชาติมาบริหาร แต่สถานการณ์ในวันนี้เปลี่ยนไป รายได้หลักมาจากตลาดภายในประเทศ

กระตุ้น “โดเมสติกดีมานด์”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดโดเมสติกจะมีสัดส่วนเพียงแค่ 20% แต่ก็เป็นตลาดที่ยังมีโอกาสในการเติบโต เนื่องจากกลุ่มคนที่มีกำลังในการใช้จ่าย นิยมเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ กลุ่มนี้จะหันมาใช้จ่ายในประเทศแทน เพราะยังเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศไม่ได้

โดยจะเห็นว่าสินค้าในกลุ่มลักเซอรี่แบรนด์ยังขายดี โรงแรม 5 ดาวยังขายได้ คนกลุ่มนี้ยังกล้าใช้จ่ายรับประทานอาหารมื้อละหลักหมื่น

เช่นเดียวกับโรงแรมในระดับ 4 ดาวที่เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่เริ่มวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวแล้วหลังจากที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบ และจะทำให้โดเมสติกดีมานด์กลับมาอีกครั้ง และเชื่อว่าคนจะกล้าเที่ยวในช่วงไตรมาส 3 นี้ ซึ่งโรงแรมทุกแห่งในกลุ่มออนิกซ์ก็ได้เตรียมวางแผนรองรับแล้วเช่นกัน

คาด Q3 รายได้เริ่มกลับมา

เมื่อถามว่าหากสามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายช่วยทำให้ธุรกิจกลับมาพลิกฟื้นได้มากน้อยแค่ไหน “ยุทธชัย” บอกว่า ตอนนี้แทบทุกโรงแรมในกลุ่มออนิกซ์มองว่ากรกฎาคมนี้น่าจะเห็นการกลับมาของรายได้ โดยเฉพาะรายได้จากตลาดโดเมสติกที่คาดว่าจะกลับมาได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้

ส่วนตลาดต่างประเทศที่รัฐมีแผนเปิดภูเก็ตภายใต้โมเดล “ภูเก็ตแซนด์บอกซ์” 1 กรกฎาคมนั้น ส่วนตัวก็คาดหวังพอสมควร แต่ก็ยังกังวลเรื่องไฟลต์บิน และวอลุ่มของนักท่องเที่ยวที่จะมา เพราะนักท่องเที่ยวภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นตลาดยุโรป รัสเซีย สแกนดิเนเวีย ฯลฯ และไฮซีซั่นของภูเก็ตคือช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไป

ขณะที่ช่วงเดือนกรกฎาคมเป็นช่วงฤดูฝน ไม่เอื้อกับการเดินทางท่องเที่ยวนัก ที่สำคัญตลาดหลักของภูเก็ตในช่วงกรกฎาคม คือ อินเดียและมิดเดิลอีสต์ ซึ่งเป็นตลาดที่ยังมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่รุนแรงอยู่ ดังนั้น ในมุมการตลาดคงต้องปรับตัวพอสมควร และควรต้องหันไปโฟกัสกลุ่มยุโรปและอเมริกาทดแทน ซึ่งกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์มาก อาจยังเป็นโรงแรมในกลุ่มลักเซอรี่เป็นหลัก

“วัคซีน” ไม่ได้แก้ปัญหาทุกอย่าง

“ยุทธชัย” บอกด้วยว่า ประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับการเปิดประเทศคือ ประเทศไทยมีความพร้อมสำหรับเปิดประเทศแล้วจริงหรือ เพราะปัจจุบันคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และเมื่อถึง 1 ตุลาคม เราจะสามารถฉีดวัคซีนได้มากแค่ไหน ที่สำคัญสามารถปรู๊ฟได้หรือยังว่าคนที่เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศนั้นได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว

“แม้ว่าคนไทยจะมีการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นในกลุ่มคนสูงอายุ กลุ่มคนทำงานเพิ่งเริ่มต้นฉีด ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 3-4 เดือนกว่าจะฉีดได้ครบ ดังนั้น โจทย์จึงอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรต่อเพื่อที่จะบอกว่าประเทศไทยเรา safe to travel และตอนนี้เราอยู่ในจุดที่รับรองว่าเราเป็น 1 ในประเทศที่ปลอดภัยสำหรับการท่องเที่ยวหรือยัง และถ้าเปิดไปแล้วเกิดมีการกลับมาระบาดอีกครั้งจะตั้งรับกันอย่างไร”

“ยุทธชัย” ยังบอกอีกว่า เราต้องคิดไปไกล ๆ ว่า วัคซีนไม่ได้แก้ไขปัญหาทุกอย่างเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้เราไม่ป่วย ไม่ตาย แต่อาจจะไม่ได้ช่วยให้ธุรกิจมีรายได้มากขึ้น เพราะรายได้หลักของกลุ่มโรงแรมนั้น 80% มาจากต่างประเทศ

ประเด็นปัญหาขณะนี้คือ โรงแรมแห่งหนึ่งมีต้นทุนค่าบริหารสูงมาก เฉลี่ย 3-40 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับแบรนด์ และสเกล โรงแรมที่เป็นรีสอร์ตทั่วไปต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเจ้าของต้องควักกระเป๋าจ่ายอยู่ทุกวันในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เจ้าของโรงแรมเป็นหนี้มากขึ้น ต้องผ่อนยาวขึ้น จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จุดคุ้มทุนก็ยังยาวอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเซ็กเตอร์แบงกิ้งในอนาคตแน่นอน

ยันธุรกิจโรงแรมไม่มีวันตาย

ซีอีโอกลุ่มอิตัลไทยยังย้ำด้วยว่า แม้ว่าสถานการณ์โควิดยังยืดเยื้อ แต่เชื่อว่าจะเริ่มเห็นรายได้กลับมาบ้างภายในสิ้นปีนี้ และคาดว่าโควิดจะยังมีผลกระทบต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2 ปี

อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวยังเชื่อว่าในการเติบโตของธุรกิจ และมองว่าธุรกิจโรงแรมไม่มีวันตาย เพราะประเทศไทยเป็นเบอร์ 1 ในด้าน tourist destination of the world ซึ่งจุดนี้ประเทศไทยต้องรักษาไว้

สิ่งสำคัญคือ ผู้ประกอบการโรงแรมต้องเน้นคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณนักท่องเที่ยวสร้างความแตกต่าง และทำให้ทุกคนเชื่อ และช่วยกันรักษาภาพลักษณที่ดีของการท่องเที่ยวของไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นฮับการท่องเที่ยวในภูมิภาคเซาท์อีสต์เอเชียต่อไป

โดยกลุ่มของออนิกซ์ในฐานะที่เป็นแบรนด์และบริษัทคนไทยที่มีความคิดเป็นอินเตอร์ได้พยายามบอกว่าแต่ละแบรนด์มีโพซิชันนิ่งและราคาในแต่ละเซ็กเมนต์อย่างชัดเจน สามารถแข่งขันกับแบรนด์อินเตอร์ได้ และมีความเชื่อว่าธุรกิจจะกลับมาสดใสอีกครั้ง

สะท้อนชัดเจนจากการที่กลุ่ม “ออนิกซ์” ได้ทุ่มเงินลงทุนไปหลาย ๆ พันล้านในช่วงที่ผ่านมา…

Adblock test (Why?)


"วัคซีน" จุดเริ่มต้น...ทางรอด ไม่ได้ช่วยให้ธุรกิจมีรายได้มากขึ้น - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

เทียบชัด ๆ ประมูลรถไฟทางคู่ สายใต้ VS สายเหนือ-อีสาน - กรุงเทพธุรกิจ

30 พฤษภาคม 2564

45

"ดร.สามารถ" อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง TOR ประมูลรถไฟทางคู่ สายใต้ กับ สายเหนือ-อีสาน ชี้ ประมูลสายเหนือ-อีสาน ส่อเค้าสะดุด

30 พ.ค. 64 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ค ระบุว่า

"ประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน งานเข้า!

เหตุเปลี่ยนทีโออาร์?
ผลการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าราคาประมูลใกล้เคียงกับราคากลางมาก ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้อย่างไร?

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ในปี 2560 ซึ่งได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่า จึงน่าคิดว่าอะไรทำให้เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (ทีโออาร์) ต่างกัน ใช่หรือไม่?

ผมจึงได้เปรียบเทียบทีโออาร์ระหว่างสายใต้กับสายเหนือและสายอีสาน ได้ผลดังนี้

1. ค่าก่อสร้าง
1.1 สายใต้
สายใต้แบ่งสัญญาการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 6,071-8,390 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่าก่อสร้างต่อสัญญาของสายเหนือและสายอีสานมาก

1.2 สายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานไม่ได้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อย ทำให้มีค่าก่อสร้างสูงกว่าสายใต้มาก กล่าวคือมีค่าก่อสร้างต่อสัญญาอยู่ระหว่าง 19,406-28,333 ล้านบาท

2. ผลงานก่อสร้างทางรถไฟของผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูล
2.1 สายใต้
ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายใต้ต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 10% ของค่าก่อสร้างโครงการที่จะประมูล คิดเป็นผลงาน 607-839 ล้านบาท (10% ของค่าก่อสร้าง 6,071-8,390 ล้านบาท)

นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้จะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 607-839 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึงก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้

2.2 สายเหนือและสายอีสาน
ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลสายเหนือและสายอีสานต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟมากกว่าสายใต้ โดยกำหนดให้มีผลงานในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง คิดเป็นผลงาน 2,910-4,250 ล้านบาท (15% ของค่าก่อสร้าง 19,406-28,333 ล้านบาท)

นั่นหมายความว่าผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานจะต้องเคยมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 2,910-4,250 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเข้าประมูลสัญญาไหน หากมีผลงานไม่ถึงก็ไม่สามารถเข้าประมูลได้

3. ระบบอาณัติสัญญาณ
3.1 สายใต้
สายใต้แยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟ เนื่องจากถูกทักท้วงว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง กล่าวคือผู้รับเหมาที่จะเข้าประมูลจะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณว่ายินดีจะขายและติตตั้งระบบอาณัติสัญญาณให้ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเลือกออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเหมารายใดก็ได้ เช่น อาจจะออกหนังสือรับรองให้เฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ ถือเป็นการล็อกสเปกผู้รับเหมาอย่างแยบยล ด้วยเหตุนี้ ทีโออาร์สายใต้จึงแยกการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว

3.2 สายเหนือและสายอีสาน
สายเหนือและสายอีสานรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณเข้ากับงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้ปิดโอกาสการเข้าประมูลของผู้รับเหมาขนาดกลางได้ เนื่องจากไม่ได้รับหนังสือรับรองจากผู้ผลิตระบบอาณัติสัญญาณ

4. ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้หรือไม่?
4.1 สายใต้
ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์เปิดกว้างมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน

อนึ่ง เดิมการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ เนื่องจากทีโออาร์กำหนดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวไว้สูง โดยกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 15% ของค่าก่อสร้าง อีกทั้ง มีการรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณไว้ในงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งอาจทำให้สามารถล็อกสเปกให้ผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้

ผมจึงได้ทักท้วง เป็นผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับเปลี่ยนทีโออาร์ โดยลดผลงานก่อสร้างทางรถไฟในสัญญาเดียวจาก 15% เหลือ 10% ของค่าก่อสร้าง และแยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากการประมูลงานก่อสร้างทางรถไฟ เป็นการปลดล็อกให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าประมูลได้

4.2 สายเหนือและสายอีสาน
ผู้รับเหมาขนาดกลางไม่สามารถเข้าประมูลได้ หากต้องการเข้าร่วม จะต้องรวมกับผู้รับเหมาขนาดใหญ่เป็นกิจการร่วมค้า และจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์ ซึ่งโดยทั่วไปหากไม่จำเป็นจริงๆ ผู้รับเหมาขนาดใหญ่มักปฏิเสธไม่ให้ผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าร่วมด้วย เพราะผู้รับเหมาขนาดใหญ่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามทีโออาร์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องอาศัยผู้รับเหมาขนาดกลาง

อีกทั้ง อาจไม่ต้องการแบ่งรายได้และผลงานให้ผู้รับเหมาขนาดกลาง เนื่องจากหากผู้รับเหมาขนาดกลางมีผลงานเพิ่มขึ้นก็จะกลายเป็นผู้รับเหมาขนาดใหญ่ในวันข้างหน้า ทำให้มีผู้รับเหมาขนาดใหญ่เข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น โอกาสที่จะชนะการประมูลโครงการใดโครงการหนึ่งก็จะยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้รับเหมาขนาดใหญ่ได้งานแล้วก็มักจะจ้างผู้รับเหมาขนาดกลางเป็น “ผู้รับเหมาช่วง” มาทำงานให้

5. สรุป
จะเห็นได้ว่า สายใต้มีค่าก่อสร้างต่อสัญญาต่ำกว่า อีกทั้ง ทีโออาร์กำหนดให้ผู้รับเหมาที่สามารถเข้าประมูลได้มีผลงานก่อสร้างทางรถไฟเป็นสัดส่วนของค่าก่อสร้างต่ำกว่าด้วย จึงทำให้ผู้รับเหมาขนาดกลางสามารถเข้าประมูลได้ด้วย ส่งผลให้การประมูลมีการแข่งขันกันมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน ซึ่งมีเฉพาะผู้รับเหมาขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถเข้าประมูลได้

ด้วยเหตุนี้ ผลการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้จึงได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางมากกว่าสายเหนือและสายอีสาน กล่าวคือสายใต้ได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลาง 5.66% ในขณะที่สายเหนือและสายอีสานได้ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเท่ากัน คือเพียง 0.08% เท่านั้น

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี หาก ร.ฟ.ท. ใช้ทีโออาร์รูปแบบเดียวกับการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ในการประมูลสายอื่นก็จะสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ได้เป็นจำนวนไม่น้อย

แต่ทำไมจึงไม่ใช้?"

162235007636

Adblock test (Why?)


เทียบชัด ๆ ประมูลรถไฟทางคู่ สายใต้ VS สายเหนือ-อีสาน - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

ก.ล.ต.ลงโทษทางแพ่งผู้บริหาร JKN สั่งปรับเงิน 2,166,840 บาท - ไทยรัฐ

30 พ.ค. 2564 12:00 น.

ก.ล.ต. ใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้บริหาร JKN กรณีเผยแพร่ข้อความที่อาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจและราคาหุ้น JKN สั่งปรับ 2,166,840 บาท 

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 64 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้ออกหนังสือชี้แจง โดยระบุว่า สืบเนื่องจากมีข่าวปรากฏในหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์หลายแห่ง กรณีการเผยแพร่ข้อความการดำเนินธุรกิจของบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในลักษณะชี้นำราคาหุ้น JKN และสำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับแจ้งเบาะแสจากประชาชน เกี่ยวกับการกระทำของ นายจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ และกรรมการของบริษัท JKN ที่อาจไม่เป็นไปตามกฎหมายในกรณีดังกล่าว

ข่าวแนะนำ

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า เมื่อวันที่ 8 - 9 มี.ค. 64 นายจักรพงษ์ ได้เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ในลักษณะว่า JKN เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์กัญชงเจ้าแรกเจ้าเดียว และเช่าเวลาสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ แบบ 24 ชั่วโมง โดยสื่อความในทำนองว่าผลการดำเนินงานของ JKN จะดีขึ้นอย่างมาก หรือราคาหุ้น JKN จะปรับตัวสูงขึ้นมาก

รวมทั้งมีข้อความในลักษณะชักชวนให้รีบซื้อหุ้น JKN ซึ่งข้อความที่นายจักรพงษ์เผยแพร่ดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนและผู้ลงทุนเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลอื่นใดของ JKN ที่น่าจะทำให้มีผลกระทบต่อราคา หรือต่อการตัดสินใจลงทุนใน JKN

การกระทำของนายจักรพงษ์เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 240 ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 296 วรรคสอง และมาตรา 296/2 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) มีมติให้ ก.ล.ต. นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับกับนายจักรพงษ์ โดยให้ชำระเงินค่าปรับทางแพ่งและชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด รวมเป็นเงินจำนวน 2,166,840 บาท

หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอมชำระเงินค่าปรับทางแพ่งและชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด ก.ล.ต. จะมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลแพ่งเพื่อกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าที่ ค.ม.พ. กำหนดจนถึงอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ เงินค่าปรับทางแพ่งเป็นรายได้แผ่นดินที่ ก.ล.ต. นำส่งกระทรวงการคลัง

ด้าน รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนหรือบุคคลใด ต้องระมัดระวังในการสื่อสารหรือเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์หรือต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์นั้น นอกจากนี้ หากข้อความที่สื่อสารหรือเผยแพร่ ไม่เป็นจริง หรืออาจทำให้ประชาชนและผู้ลงทุนเข้าใจผิดเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ หรือข้อมูลใดที่เกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน บุคคลที่สื่อสารหรือเผยแพร่ข้อมูลลักษณะดังกล่าวอาจมีความผิดตามกฎหมายได้.

อ่านเพิ่มเติม...

Adblock test (Why?)


ก.ล.ต.ลงโทษทางแพ่งผู้บริหาร JKN สั่งปรับเงิน 2,166,840 บาท - ไทยรัฐ
Read More

Saturday, May 29, 2021

"ฐากร" แม่ทัพ "เครือไทยฯ" ชู DATA ทางรอดธุรกิจหลังโควิด - ประชาชาติธุรกิจ

โลกธุรกิจยุคใหม่ ข้อมูล (ดาต้า) เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภคได้ดีขึ้นสามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์ออกมาตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างตรงจุดมากขึ้นอย่างที่ “ฐากร ปิยะพันธ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TGH ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ “Data-Driven” ในงานสัมมนาก้าวสู่ปีที่ 45 ประชาชาติธุรกิจ “Thailand Survivor … ต้องรอด” เมื่อเร็ว ๆ นี้

ดาต้าผุดขึ้นมหาศาลทุกวัน

โดย “ฐากร” เริ่มต้นว่า โลกปัจจุบันนี้มีดาต้าเกิดขึ้นเยอะมาก ซึ่งมีความสำคัญ มีตัวอย่างในหลาย ๆ ประเทศที่ใช้ข้อมูลมาช่วยทำให้ประเทศดีขึ้น และช่วยให้ธุรกิจรอดจากวิกฤตไปได้

โดยว่ากันว่าปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นในโลกอย่างมหึมา เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง และจะยิ่งมากขึ้นเมื่อเข้าสู่สังคม 5G ซึ่งมีคำกล่าวของ นายมาซาโยชิ ซัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซอฟต์แบงก์ บัดดี้ของนายแจ็ก หม่า แห่งอาลีบาบา ที่ได้กล่าวไว้ว่า

“ใครก็แล้วแต่ที่ควบคุมดาต้าได้ คนคนนั้นหรือธุรกิจนั้น ๆ จะครองโลกได้” หรือเรามักได้ยินว่า “Data is a new oil” ซึ่งต้องเอาไปกลั่นก่อนเพื่อทำให้สะอาด หรือเพื่อให้ได้ “อินไซต์ของข้อมูล”

ทั้งนี้ “ดาต้า” จะเป็นจุดหนึ่งทำให้ “เอาชนะคู่แข่ง” ได้ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสร้างนวัตกรรมได้ นอกเหนือไปจากนั้นต้องพูดถึงการสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดีด้วยการทำ digitalization(การปรับเปลี่ยนดาต้าที่มีจากแบบแอนะล็อก (analog) ไปเป็นดิจิทัล) เพื่อทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และท้ายที่สุดสิ่งที่ต้องปรับตัวคือการมีความสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมต่อเนื่อง

ตัวอย่างความสำเร็จ

“วิธีคิดต้องมาพร้อมการใช้ข้อมูลเราถึงจะไปเจอสิ่งที่เรียกว่า ‘คิดใหม่ ทำใหม่เกิดนวัตกรรมใหม่’ โดยเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าปัญหาคืออะไร และให้ตกผลึกเพื่อเกิดเป็นไอเดีย

เช่น ผมซื้อกล้วยไม่เคยกินหมด บางทีซื้อมาผ่านไป 3 วัน อีกครึ่งหวีทานไม่ได้แล้ว และถ้าซื้อกล้วยดิบก็รอนาน ปัญหาเหล่านี้ลองคิดดูว่าจะช่วยผู้บริโภคให้สามารถซื้อกล้วย 1 หวี และทานจนกล้วยสุกไปทุก ๆ วันเป็นไปได้หรือไม่

ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นแล้วในประเทศเกาหลีใต้ ดังนั้น อาจไม่ต้องมีเทคโนโลยีอะไรเลยก็ได้ แต่เข้าใจปัญหาผู้บริโภคและลองคิดดูว่ามีไอเดียอะไรที่สามารถตอบสนองปัญหาของผู้บริโภคได้”

หรือแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ในประเทศจีนอย่างอาลีบาบา, JD.com ก็เก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ซื้อและใช้แพลตฟอร์มแนะนำเพิ่มเติม เช่น คนคนนี้ชอบเพลงอะไรชอบดูหนังอะไร ใช้ชีวิตแบบนี้ควรจะไปท่องเที่ยวที่ไหน

หรือควรจะมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินอะไรบ้าง เป็นต้น ขณะเดียวกันประเทศจีนพัฒนาจนถึงขั้นสร้างระบบโลจิสติกส์ใหม่ เพื่อให้การขนส่งมีต้นทุนที่ถูกที่สุด โดยจีนนำข้อมูลอีคอมเมิร์ซที่มีอยู่มหาศาลมาใช้ประโยชน์

ซึ่งดาต้าสำคัญตรงที่ช่วยให้เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น และช่วยบอกว่าควรจะพัฒนาอะไร ปัญหานี้ต้องแก้ด้วยอะไร และจะหาลูกค้าใหม่อย่างไรได้บ้าง สำคัญไปกว่านั้นคือ ช่วยให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง ไม่ใช่ตัดสินใจจากความรู้สึก

“แนะนำรัฐบาลไทยเราก็สามารถใช้ข้อมูลมาวางนโยบายเศรษฐกิจได้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาธุรกิจและประเทศได้เหมือนที่ประเทศจีนทำ”

ขับเคลื่อนธุรกิจ “เจ้าสัวเจริญ”

“ฐากร” กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเองมาจากธุรกิจประกัน กลุ่มการเงินในเครือของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ก็หนีไม่พ้น จำเป็นต้องนำดาต้าและดิจิทัลมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ โดยตัวอย่างที่มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลกับธุรกิจประกัน เช่น เดวิด เบ็กแฮม ตำนานนักเตะชาวอังกฤษ สมัยค้าแข้งก็ได้ซื้อประกันบาดเจ็บที่ขาด้วยมูลค่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่วน เจนนิเฟอร์ โลเปซ นักร้องระดับโลกก็จ่ายเบี้ยประกัน 27 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อประกันก้น หรือร้าน Costa Coffee ในอังกฤษ ยอมจ่าย 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อประกันปุ่มรับรสให้กับคนชิมกาแฟประจำร้าน และถ้ากลัว UFO มาฉกตัวไป ก็สามารถซื้อประกันป้องกันการถูกเอเลี่ยนจับตัวไปได้ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

“ต่อไปดาต้าจะช่วยให้เรารู้ว่าจะขายประกันได้มากขึ้นต้องทำอย่างไร ต้นทุนตรงไหนที่ลดได้ บอกพฤติกรรมผิดปกติหรือการทุจริตได้ ช่วยบริหารความเสี่ยงด้านการเคลม ส่งผลให้บริษัทสามารถทำกำไรได้มากขึ้น

โดยปัจจุบันในอุตสาหกรรมมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 7 แสนล้านบาทต่อปี โต 13% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่เบี้ยประกันสุขภาพและอุบัติเหตุเติบโตสูงถึง 38% และอัตราการเติบโตของค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้นกว่า 20% นั่นหมายความว่าเทรนด์ต่อไปคนจะรักษาสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสทางธุรกิจ”

นอกจากนี้ มีข้อมูลพบว่าคนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคกระเพาะอักเสบ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม ซึ่งมีข้อมูลที่ควรให้แก่ผู้บริโภค เช่น ช่วงอากาศร้อนอย่ารับประทานของดิบเพื่อไม่ให้ป่วย

ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าไม่ทานอาหารผิดสำแดงจะได้ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลและไม่เคลมประกัน แต่ถ้าป่วยแล้วก็สามารถแนะนำได้ว่าโรงพยาบาลไหนค่ารักษาถูกที่สุดได้ ขณะที่ประกันรถยนต์ก็ดูข้อมูลได้ว่าจังหวัดไหนเมืองใด อำเภอไหน เกิดอุบัติเหตุบ่อยสุด

เพื่อจะได้ป้องกันและแนะนำผู้บริโภคได้โดยจากสถิติที่ผ่านมาพบว่าช่วง 24 ชั่วโมงอุบัติเหตุเกิดบ่อยที่สุด คือ ช่วง 4 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม (ช่วงเลิกงาน) และ เกิดน้อยสุด ช่วงเที่ยงคืนถึงตี 4 แต่มูลค่าความเสียหายจะสูงมาก เพราะทัศนวิสัยไม่ดี หรืออาจจะเพิ่งออกจากผับหรือดื่มแอลกอฮอล์มาเต็มที่

ขณะที่ผู้เอาประกันแต่ละช่วงอายุก็มีความเสี่ยงแตกต่างกัน อาทิ คนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี มีพฤติกรรมการขับรถและมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าโดยค่าเฉลี่ยทั่วไป และคนอายุตั้งแต่ 70 ปี (ผู้สูงอายุ) ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุสูงจากสายตาไม่ดีและการตัดสินใจช้า เพราะฉะนั้น จะเห็นกลุ่มคนมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ซึ่งจะถ่ายโอนค่าเบี้ยประกันที่ต่างกันด้วยเช่นกัน

“ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนการวิเคราะห์และกำหนดราคาเบี้ยประกันได้ ซึ่งอุตสาหกรรมประกันมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) สามารถเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ได้เยอะมาก สามารถนำมาดีไซน์และช่วยให้เราลดต้นทุนในการเคลมประกัน และช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการทุจริตเคลมได้ด้วย”

ปรับธุรกิจทางรอดหลังวิกฤต

ทั้งนี้ ธุรกิจที่จะอยู่รอดหลังโควิดจะต้องทรานส์ฟอร์มโมเดลธุรกิจเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยอาจจะต้องหา new business ซึ่งต้องเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยหลังจากนี้ไปทุกธุรกิจจะเข้าสู่ยุคของการเป็น “data business” ดังนั้น ไม่ว่าจะธุรกิจเล็กหรือใหญ่ต้องกลับไปดูว่าตัวเองมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง

“ทุกวันนี้เราไม่จำเป็นต้องมีสาขา เครื่องจักร หรือสินทรัพย์เยอะ ๆ เพราะต่อไปนี้เราต้องแข่งกันบนสปีดและต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เราต้องไม่แบกอะไรไว้เยอะ

และแน่นอนว่าใครที่ไม่ทำธุรกิจบนโลกออนไลน์จำเป็นอย่างมากที่ต้องปรับโมเดลให้สามารถมีกลยุทธ์ทางด้านออนไลน์มากขึ้น เพราะต้องสเกลให้ได้เร็วและสร้างประสบการณ์ที่้ดีให้กับลูกค้าได้”

สุดท้าย ซีอีโอเครือไทยฯฝากทิ้งท้ายว่า “ถ้าการเดินเรือต้องใช้เข็มทิศ เพื่อให้ไปถึงจุดหมาย ข้อมูลหรือดาต้า ก็คือเข็มทิศในการดำเนินธุรกิจตอนนี้”

Adblock test (Why?)


"ฐากร" แม่ทัพ "เครือไทยฯ" ชู DATA ทางรอดธุรกิจหลังโควิด - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

แอสตราเซเนกาอยู่ไหน... หรือทางเลือกของคนไทยลงท้ายที่ซิโนแวค? - ไทยรัฐ

ในตอนนี้ เกิดการตั้งคำถามไปทั่วประเทศว่า ตกลงแล้วไทยยังคงมีวัคซีนแอสตราเซเนกาเหลืออยู่หรือไม่ แล้วลอตที่กำลังจะมาถึง จะมาถึงทันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือเปล่า เนื่องจากรัฐบาลยังคงเตรียมนำเข้าวัคซีนซิโนแวคเพิ่มอีก 3 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายน

ท่ามกลางความคลุมเครือ สร้างความกังวลใจต่อประชาชนที่ลงทะเบียนเข้ารับวัคซีนผ่านแอปพลิเคชัน ‘หมอพร้อม’ หรือผู้ลงทะเบียน ณ จุดบริการ และกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับวัคซีนจากการปูพรมในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 หลายคนต่างกังวลว่าวัคซีนที่ถูกฉีดเข้าร่างกายจะเป็นซิโนแวคกับแอสตราเซเนกาตามที่เคยระบุไว้ หรือจะเป็นซิโนแวคเพียงอย่างเดียว ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีใครสามารถตอบคำถามที่แน่ชัดได้เลย


แอสตราเซเนกาแรกเข้ามีแค่ 117,600 โดส

ก่อนหน้านี้ ไทยรับมอบวัคซีนแอสตราเซเนกาจากเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ จำนวน 117,600 โดส เป็นกรณีเร่งด่วนที่ใช้ในภาวะฉุกเฉิน และได้กระจายวัคซีนไปยังพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเร่งฉีดให้กลุ่มเป้าหมายระยะที่ 1 คือกลุ่มผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป

ช่วงแรกกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีนโยบายนำแอสตราเซเนกาเข้ามาเพิ่มอีก โดยจะเน้นการผลิตในประเทศ กระทรวงสาธาณสุขเปิดเผยข้อมูลว่า ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 มีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนแล้ว 1,651,782 โดส แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เข็มแรก 1,201,258 ราย และเข็มที่สอง 450,524 ราย ทว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ได้จำแนกเจาะจงว่าจำนวนทั้งหมดมีคนรับวัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกาทั้งหมดกี่โดส

ยังไม่มีความชัดเจนใดที่ทำให้ประชาชนรู้ว่า วัคซีนแอสตราเซเนกาจำนวน 117,600 โดส ที่ได้มาตั้งแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ถูกใช้ไปจนหมดแล้วหรือไม่ หรือว่ายังมีเหลืออยู่ และหากมีเหลือ แอสตราเซเนกาไปตกหล่นอยู่ตรงไหน

อย่างไรก็ตาม วันที่ 4 พฤษภาคม เพจเฟซบุ๊กร้าน ‘เจ๊เล้ง ranjaeleng’ ลงคลิปวิดีโอว่า อารียฉัตร อภิสิทธิ์อมรกุล เจ้าของร้านค้าปลีก รับผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ว่าวัคซีนจำนวนแสนกว่าโดสอาจยังเหลืออยู่จนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งโพสต์ดังกล่าวถูกลบออกจากเพจภายหลัง


รัฐบาลไทยหวังใช้วัคซีนที่ผลิตในประเทศ

วันที่ 31 มีนาคม อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์หลังเข้าพบกับประธานบริษัทผลิตวัคซีนแอสตราเซเนกา เรื่อง ความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนแอสตราเซเนกาในประเทศไทย โดยอนุทินระบุว่า ประธานบริษัทฯ ชื่นชมบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ (Siam Bioscience: SBS) ที่มีกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน ดำเนินการตามขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเคร่งครัด ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการเป็นที่น่าพอใจ และมีมาตรฐานดีเยี่ยม

สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา เคยโพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 12.16 น. เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงความปลื้มปีติต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นผู้วางแนวทางให้สยามไบโอไซเอนซ์ และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตในประเทศไทย

“วัคซีนแอสตราเซเนกา 1.7 ล้านโดส ที่จะเริ่มรับมอบและฉีดให้คนไทยจากสยามไบโอไซน์ในประเทศไทยด้วยฝีมือคนไทยครับ ด้วยบุญที่พวกเราคนไทยทั้งผองที่ในหลวง ร.9 พระราชทานมรดกไว้ให้ดูแลเราในยามที่พระองค์ท่านเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว ผมทราบข่าวเมื่อวานถึงการเตรียมส่งมอบวัคซีนลอตนี้แล้ว ดีใจปลื้มใจจนเกือบน้ำตาไหล ปลื้มใจนึกถึงพระองค์ท่านครับ”

พร้อมแนบรูปตารางที่ระบุว่า วัคซีนแอสตราเซเนกา ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ในประเทศไทย 1.7 ล้านโดส 17-21 พฤษภาคม 2564

แต่จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม ยังไม่ปรากฏวี่แววของแอสตราเซเนกา

หากการผลิตดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่มีการติดขัดตามข่าวลือในโซเชียลมีเดียว่าวัคซีนที่ผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐาน หรือเกิดปัญหาในกระบวนการผลิต แล้วเหตุใดวัคซีนแอสตราเซเนกาถึงยังส่งไม่ถึงภาคประชาชน

สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ ‘คนเคาะข่าว’ ช่องนิวส์วัน เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม เกี่ยวกับข้อมูลของแอสตราเซเนกาที่ผลิตในประเทศไทยว่า มีการปรับเปลี่ยนข้อตกลงเดิมที่กำหนดส่งมอบวัคซีนจำนวน 6 ล้านโดสภายในเดือนพฤษภาคม เปลี่ยนเป็นทยอยส่งมาก่อนประมาณ 1.7 ล้านโดส และในเดือนมิถุนายนจะส่งมอบอีก 4 ล้านโดส

สาธิตให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริษัทอาจติดปัญหาเรื่องค่าเบี่ยงเบนตามเอกสาร ทำให้จำเป็นต้องส่งมอบวัคซีนทีเดียวในเดือนมิถุนายน หากมองในแง่บวก นั่นหมายความว่าบริษัททำตามมาตรฐานของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน ส่วนที่เป็นปัญหาไม่ได้ส่งมอบได้ 1.7 ล้านโดส เป็นส่วนของ earlier deliverly ซึ่งกำหนดการสามารถปรับเปลี่ยนได้


แอสตราเซเนกาลอตใหม่จะมาทันกำหนดหรือไม่

ความกังวลและคำถามที่ว่า ตกลงคนไทยจะได้ฉีดแอสตราเซเนกาตามที่รัฐบาลเคยระบุไว้หรือไม่ เริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นหลังจาก ศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ว่า โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ไม่ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาสำหรับบุคลากรตรงตามเวลาที่กำหนดไว้

“เรากำลังถูกเท... เราถูกขอให้ต่อสู้ รบยืดเยื้อ และให้ขยายแนวรบออกไปตลอดเพื่อชาติ ชาติบอกเรามาว่า ให้ปันส่วนกระสุน เอาไปคนละสิบนัดในเดือนนี้ แล้วให้ตรึงแนวรับไว้ให้ได้จนถึงเดือนหน้า บางหน่วยยังเตรียมพร้อมอยู่ในที่ตั้ง แต่มีกระสุนให้ไม่จำกัด วังเวง ...และเริ่มรู้สึกท้อ ขอเราไปทำหน้าที่สั่งการและช่วยตัดสินใจแทนชาติชั่วคราวสักเดือนนึงได้ไหม ขอร้อง”

วันที่ 23 พฤษภาคม 2564 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช แจ้งต่อประชาชนเช่นกันว่า “ผู้รับบริการที่มีนัดรับวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2564 (รับการฉีดเข็มที่ 1 ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 5 เมษายน 2564) โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ขอเลื่อนวันรับวัคซีนออกไปก่อน เมื่อได้รับวัคซีนมา ทางโรงพยาบาลจะแจ้งให้ทราบต่อไป’

ส่วนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ทางศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีวัคซีนบริการแค่ซิโนแวคเท่านั้น ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถรับวัคซีนซิโนแวคได้ แต่หากประสงค์รับวัคซีนแอสตราเซเนกา ให้แจ้งความประสงค์เลื่อนนัดวันได้

แต่ในวันเดียวกับคำประกาศของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้ารับวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มที่สอง พร้อมแสดงเอกสารรับรองต่อสื่อมวลชน

เวลานี้ โรงพยาบาลจำนวนมากไม่สามารถฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาให้ได้ตามกำหนด ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า เป็นเพราะเกิดปัญหาติดขัดทางเทคนิค เพราะไม่มีวัคซีน หรือยังมีวัคซีนเหลืออยู่ แต่ส่งมาไม่ถึงภาคประชาชนกันแน่ เนื่องจากยังมีข่าวลือในโลกโซเชียลมีเดียเป็นระยะว่ามีคนจำนวนหนึ่งยังได้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาอยู่

วันที่ 27 พฤษภาคม เวลา 16.28 น. ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล โพสต์ทวิตเตอร์ว่า “ส.ส. พลังประชารัฐและ ส.ส. รัฐบาล ได้ฉีดแอสตราเซเนกาครับ จนท. จะถาม ส.ส. ก่อนว่า เป็น ส.ส. พรรคไหน ถ้าเป็นพรรคฝ่ายค้าน เจอชิโนแวคครับ.”

ข้อความดังกล่าวส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง หลายคนเริ่มเรียกร้องให้ผู้แทนฝ่ายรัฐบาลออกมายืนยันว่าจริงหรือไม่ บางคนถามหาหลักฐานการกล่าวหาประเสริฐพงษ์ เพื่อทวงความจริงว่าตกลงแล้วเกิดอะไรขึ้นกับการแจกจ่ายวัคซีนกันแน่


คำบอกเล่าแสนสับสนของเหล่าเจ้าหน้าที่รัฐ

กระทรวงสาธารณสุขเคยแถลงการณ์ว่า จะมีวัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตในไทยประมาณ 61 ล้านโดส จะมีกำหนดส่งมอบ 4 ครั้งด้วยกัน คือ เดือนพฤษภาคม จำนวน 1.7 ล้านโดส (ที่ตอนนี้เลื่อนไปแล้ว) เดือนมิถุนายน 4.3 ล้านโดส เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน เดือนละ 10 ล้านโดส เดือนธันวาคม 5 ล้านโดส

ท่าทีของศูนย์บริการฉีดวัคซีนหลายแห่งที่ระบุว่าไม่มีวัคซีนแอสตราเซเนกาให้บริการ สร้างความงุนงงแก่ประชาชนจำนวนมาก รวมถึงความกังวลว่าในวันที่ 7 มิถุนายน ที่นายกรัฐมนตรีเรียกว่าเป็น ‘วาระแห่งชาติ’ กับการฉีดวัคซีนแบบปูพรมซึ่งคาดว่าจะฉีดได้ 860,000 คนต่อวัน จะมีวัคซีนแอสตราเซเนการวมอยู่ในวัคซีนที่จะฉีดให้ประชาชนหรือไม่

วันเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีได้ฉีดแอสตราเซเนกาเข็มที่ 2 อนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่า ขอให้มั่นใจว่าไทยมีวัคซีนโควิด-19 พร้อมฉีดปูพรมตามกำหนดแน่นอน และวัคซีนแอสตราเซเนกาจะมาส่งตามกำหนด ส่วนประเด็นที่หน่วยบริการหลายแห่งเลื่อนการฉีดวัคซีนยี่ห้อดังกล่าวออกไป อาจเป็นเพราะกังวลว่าวัคซีนจะมาไม่ทันกำหนดการที่วางไว้ และขอชี้แจงว่า บริษัทแอสตราเซเนกาไม่ได้กำหนดส่งมอบวัคซีนในวันที่ 1 มิถุนายน แต่จะเริ่มจัดส่ง ‘ภายใน’ เดือนมิถุนายน

“เขาทราบวันเวลาที่รัฐบาลวางแผนฉีดวัคซีนแบบปูพรมอยู่แล้ว แต่เราก็มีวัคซีนซิโนแวคพร้อมอยู่ มั่นใจว่า วัคซีนแอสตราเซเนกาจะส่งตามข้อกำหนด ตามสัญญาระบุไว้ หากวัคซีนที่ผลิตในไทยยังจัดส่งไม่ได้ เขาก็ต้องจัดหามาจากแหล่งผลิตอื่นส่งให้เรา เราไม่ต้องกังวล”

ทว่า นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เกิดปัญหาวัคซีนแอสตราเซเนกาไม่เพียงพอในบางพื้นที่จริง เนื่องจากบางพื้นที่มีความต้องการวัคซีนเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปัญหาในการบริหารจัดการ ทางกระทรวงฯ ต้องขออภัยประชาชนและจะเร่งแก้ปัญหา ก่อนออกแถลงอีกครั้งในวันที่ 26 พฤษภาคมว่า บริษัท แอสตราเซเนกา ไม่ได้กำหนดส่งในวันที่ 1 มิถุนายน นี้ แต่จะเริ่มจัดส่งภายในเดือนมิถุนายน และทางบริษัทก็รับทราบกำหนดการที่รัฐบาลวางแผนฉีดวัคซีนแบบปูพรมอยู่แล้ว ทั้งนี้ ทางบริษัทต้องปฏิบัติตามสัญญา ส่วนการบริหารจัดการทางภาครัฐได้มีแผนสำรองสำหรับทุกสถานการณ์และจะทำอย่างสุดความสามารถ เพื่อให้ไทยพ้นจากมหาวิกฤติครั้งนี้โดยเร็วที่สุด

ในวันเดียวกัน อนุทินระบุว่า ตนทราบถึงความวิตกของประชาชนว่าอาจไม่มีแอสตราเซเนกาทันใช้ในวันที่ 7 มิถุนายน รวมถึงประเด็นที่เพจ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค โพสต์ข้อความเลื่อนการเข้ารับวัคซีนจากเดือนมิถุนายนเป็นเดือนกรกฎาคม เนื่องจากสถาบันฯ ไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีน ก่อนลบและประกาศใหม่ว่านัดหมายการฉีดวัคซีนยังคงเป็นกำหนดการเดิม

สำหรับเรื่องโพสต์เลื่อนรับวัคซีน อนุทินมองว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอาจมือไว ใจเร็ว และขอให้ประชาชนเข้าใจเจ้าหน้าที่ที่ทำงานภายใต้ความกดดันและความเครียดที่เห็นคนไข้มารอเป็นจำนวนมาก และกล่าวว่าวัคซีนจะยังคงมีเพียงพอต่อประชาชนทั้งแอสตราเซเนกาและซิโนแวค

จนกระทั่งวันที่ 27 พฤษภาคม อนุทินกล่าวถึงความคืบหน้าของแอสตราเซเนกาว่า ไทยจะได้วัคซีนดังกล่าวในเดือนมิถุนายนตามกำหนด แต่เรื่องการจัดส่งและจำนวนโดสแต่ละช่วงเวลาจะมีจำนวนเท่าใด ขอให้เป็นเรื่องการบริหารจัดการภายในของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีกรมควบคุมโรคเป็นคู่สัญญากับบริษัทแอสตราเซเนกา

เท่ากับว่า รัฐบาลยังคงไม่ชี้แจงรายละเอียดหรือตอบคำถามคาใจให้ประชนได้รับทราบทั่วกันอยู่เช่นเคย เนื่องจาก ‘ขอให้เป็นเรื่องการบริหารจัดการภายใน’ ไปก่อน


‘ซิโนฟาร์ม’ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ไม่อยากรอ

ขณะที่ประเด็นเรื่องซิโนแวคกับแอสตราเซเนกายังคงเป็นที่ถกเถียง วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดหาวัคซีน อุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามาบริการประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน

วันที่ 28 พฤษภาคม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงว่าคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนยี่ห้อ ‘ซิโนฟาร์ม’ (Sinopharm) จากประเทศจีน ที่นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ได้รับการอนุมัติจาก อย. แล้ว มีทั้งหมด 5 ยี่ห้อ คือ แอสตราเซเนกา, ซิโนแวค, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน, โมเดอร์น่า และซิโนฟาร์ม ที่เพิ่งผ่านการอนุมัติรายล่าสุด โดยผู้ประสงค์รับวัคซีนซิโนฟาร์มต้องฉีด 2 เข็ม ในระยะเวลาห่างกัน 28 วัน

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะเป็นผู้ดำเนินการนำเข้าและบริหารจัดสรรวัคซีนให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจจัดซื้อ โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุว่า จะเริ่มนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มจำนวน 1 ล้านโดส ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้

ซิโนฟาร์มถือเป็นวัคซีนทางเลือกตัวที่ 5 ในประเทศไทย จะทำงานคู่ขนานไปกับวัคซีนของรัฐบาล เพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในสังคม และยืนยันว่า “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ไม่แสวงหากำไรแน่นอน”

อย่างไรก็ตาม ซิโนฟาร์ม มีฐานการพัฒนาและคิดค้นวัคซีนอยู่ 2 แห่งด้วยกัน คือ บริษัทที่จดทะเบียนในกรุงปักกิ่งกับการจดทะเบียนที่อู่ฮั่น ซึ่งบริษัทในปักกิ่งผลิตวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การรับรอง และมีการใช้วัคซีนดังกล่าวแล้วกว่า 41 ประเทศทั่วโลก ส่วนอู่ฮั่นยังไม่ได้รับการรับรองจาก WHO และยังมีการใช้ฉีดอยู่แค่ในประเทศจีนเท่านั้น

ประชาชนที่ทราบข่าวการนำเข้าซิโนฟาร์ม เริ่มสับสนว่าตกลงแล้ววัคซีนที่จะเข้าไทยในเร็วๆ นี้ เป็นวัคซีนตัวที่ได้รับการรับรองจาก WHO หรือไม่ เนื่องจากบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ถือลิขสิทธิ์ซิโนฟาร์มของอู่ฮั่น ส่วนบริษัท วีโนวา อินเตอร์เนชั่นแนล ถือลิขสิทธิ์ซิโนฟาร์มของปักกิ่ง โดย นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ระบุว่า วัคซีนที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียน อย. ในไทย ผลิตโดยสถาบันชีววัตถุในกรุงปักกิ่ง

รัฐบาลไทยยังคงสั่งซื้อซิโนแวคอย่างต่อเนื่อง

เวลานี้ ประเทศไทยทุ่มงบจำนวนมากไปกับการแก้ปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งค่าใช้จ่ายเรื่องการนำเข้าวัคซีน ปัญหาเรื่องหน้าด่าน การกระจายวัคซีน และค่าใช้จ่ายจิปาถะต่างๆ ทว่างบประมาณที่ทุ่มไปกับการซื้อวัคซีนซิโนแวคถูกเปิดเผยออกมาแค่ในช่วงแรกเท่านั้น

วันที่ 5 มกราคม 2564 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณกลางจำนวน 1,200 ล้านบาท มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค 2 ล้านโดส ต่อมาคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม เห็นชอบสำรองงบประมาณสั่งซื้อไปก่อนกว่า 1,000 ล้านบาท

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ อนุมัติงบประมาณตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอโครงการจัดหาวัคซีนโควิด-19 เพิ่มเติมจำนวน 500,000 โดส ภายใต้วงเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 งบกลาง จำนวน 321,604,000 บาท เพื่อบรรเทา แก้ไข และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการหาวัคซีนเพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้

แบ่งเป็นค่าวัคซีน 271.25 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 18.99 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบริหารจัดการวัคซีนระดับพื้นที่ 31.36 ล้านบาท ดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม

อย่างไรก็ตาม เนื้อข่าวดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงยี่ห้อวัคซีนที่สั่งเพิ่มกว่า 500,000 โดส กระทั่งวันที่ 30 เมษายน นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ยืนยันว่าวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ จะได้รับวัคซีนซิโนแวคจำนวน 1 ล้านโดส จากนั้นในวันที่ 14 พฤษภาคม จะได้รับวัคซีนซิโนแวคที่รัฐบาลจีนบริจาคให้อีก 500,000 โดส และในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม อภ. ได้สั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคอีก 2 ล้านโดส

นายแพทย์วิฑูรย์ชี้แจงว่าไทยรับวัคซีนซิโนแวคเข้ามาแล้ว 8 ลอตด้วยกัน ดังนี้

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ จำนวน 200,000 โดส
วันที่ 22 มีนาคม จำนวน 800,000 โดส
วันที่ 10 เมษายน จำนวน 1 ล้านโดส
วันที่ 24 เมษายน จำนวน 500,000 โดส
วันที่ 6 พฤษภาคม จำนวน 1 ล้านโดส
วันที่ 14 พฤษภาคม เป็นวัคซีนบริจาคจากจีนจำนวน 500,000 โดส
วันที่ 15 พฤษภาคม จำนวน 500,000 โดส
วันที่ 20 พฤษภาคม จำนวน 1.5 ล้านโดส

เท่ากับว่า ในเดือนพฤษภาคม 2564 ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนซิโนแวคมาเพิ่มอีก 3.5 ล้านโดส และเมื่อรวมจำนวนวัคซีนซิโนแวคที่ผ่านมา ทั้งการสั่งซื้อของรัฐบาลและการรับบริจาคจากประเทศจีน ไทยมีวัคซีนซิโนแวครวมแล้ว 6 ล้านโดส และจะนำเข้ามาเพิ่มอีก 3 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายน

การนำเข้าวัคซีนซิโนแวคมาสมทบเพิ่มอีกเรื่อยๆ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เพราะเหตุใดรัฐบาลไทยถึงจำเป็นต้องสั่งวัคซีนยี่ห้อซิโนแวคมาเพิ่ม แทนที่จะใช้วัคซีนแอสตราเซเนกาที่มีประสิทธิภาพต่อไวรัสกลายพันธุ์ได้ดีกว่าซิโนแวค หรือเป็นเพราะเกิดปัญหาอะไรบางอย่างขึ้นกับแอสตราเซเนกากันแน่

นักการเมืองฝ่ายค้านก็เกิดคำถามเช่นเดียวกับประชาชน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ตั้งคำถามต่อรัฐบาลว่า เพราะเหตุใดถึงสั่งซื้อวัคซีนที่ยังไม่มีการยืนยันถึงประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสที่แน่ชัดมาเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก

“แอสตราเซเนกาเป็นวัคซีนหลัก แล้วซิโนแวคเป็นวัคซีนเพื่อแก้ไขสถานการณ์แบบเร่งด่วน ในเมื่อแอสตราเซเนกาจะส่งมอบได้ในเดือนมิถุนายนนี้ ปัจจุบันซิโนแวคยังไม่มีข้อยืนยันถึงประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ อยากทราบว่า จะสั่งเพิ่มมาทำไม สำหรับกระบวนการขึ้นทะเบียนวัคซีนฉุกเฉิน (Emergency Use List: EUL) ซิโนแวคยังอยู่ระหว่างกำลังพิจารณา แต่มีการเลื่อนมาเป็นระยะๆ ซึ่งต้องติดตามต่อว่าจะได้รับการอนุมัติในเดือนพฤษภาคมนี้หรือไม่”

เมื่อเปรียบเทียบเรื่องความไม่แน่ชัดของการรับมอบวัคซีน ไปจนถึงจำนวนการใช้ ที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลว่าวัคซีนแอสตราเซเนกาถูกใช้ไปเท่าไรแล้ว ประกอบกับการสั่งซื้อซิโนแวคมาสมทบ ปัจจัยที่ไม่แน่นอนและยังไม่ได้คำตอบที่แน่ชัด ส่งผลให้เกิดการวิจารณ์เป็นจำนวนมาก และกระทบต่อความเชื่อมั่นในการเข้ารับวัคซีนของประชาชน

การนำเข้าวัคซีนซิโนแวคเพิ่มอีก 3 ล้านโดสที่คาดว่าจะถึงไทยในช่วงเดือนมิถุนายน เวลานี้ยังไม่มีแผนงบประมาณที่แน่ชัดออกมาแต่อย่างใด เอางบประมาณส่วนไหนไปซื้อ และยังไม่เปิดเผยต้นทุนการซื้อ-ขาย ระหว่างรัฐกับบริษัทเวชภัณฑ์ต่างชาติ

การสั่งซื้ออยู่เรื่อยๆ พานให้คนคิดว่ารัฐบาลกำลังเอื้อประโยชน์ให้ใครอยู่หรือไม่ ซึ่งชื่อที่ถูกคนในโซเชียลมีเดียพูดถึงคือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ข่าวลือถูกส่งต่อไปไกล จนทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ ออกหนังสือชี้แจงเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคของรัฐบาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทซิโนแวค 15 เปอร์เซ็นต์ตามที่เป็นข่าว


ราคากลางๆ ประสิทธิภาพน้อย? แต่รัฐยังคงสั่งซื้อ

จากการรวบรวมข้อมูลและการพูดคุยของประชาชนในโซเชียลมีเดีย บางส่วนเกิดการตั้งคำถามถึงราคาวัคซีนที่รัฐบาลนำเข้า ก่อนพบว่าซิโนแวคมีราคาสูงกว่าวัคซีนหลายยี่ห้อ สวนทางกับรายงานเรื่องประสิทธิภาพในการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันโรค แต่รัฐบาลกลับยังสั่งซื้อเพิ่มอยู่เรื่อยๆ

นายแพทย์วิฑูรย์เคยกล่าวถึงกรณีข่าวลือว่าไทยซื้อวัคซีนซิโนแวคที่มีราคาแพงว่า ไทยไม่ได้ซื้อในราคาแพง กลับกันคือซื้อได้ในราคาที่ถูกด้วยซ้ำกับการซื้อวัคซีนจำนวนน้อย และเปรียบเทียบกับประเทศอินโดนีเซียที่ซื้อมากถึง 100 ล้านโดส

ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมยังกล่าวอีกว่า จากนี้ราคาวัคซีนแต่ละตัวจะถูกลงเรื่อยๆ เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของตลาด ในช่วงแรกวัคซีนเป็นสิ่งที่มีความต้องการสูง แต่ผลิตได้น้อย จึงทำให้มีราคาแพง แต่ปัจจุบันนี้มีวัคซีนเพียงตัวเดียวที่ยังมีราคาสูงอยู่คือ โมเดอร์นา

การตอบคำถามเรื่องราคาวัคซีนซิโนแวค ยังคงคลุมเครือไม่ต่างจากการตอบคำถามประเด็นวัคซีนอื่นๆ เมื่อไหร่กันที่เจ้าหน้าที่รัฐจะมีคำตอบที่ชัดเจนต่อความค้างคาใจของประชาชน เช่น การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนที่ซื้อเข้ามากับบริษัทอื่นๆ

ขณะที่เพื่อนบ้านอาเซียนอย่างฟิลิปปินส์ ได้สั่งวัคซีนไฟเซอร์จำนวนมากถึง 40 ล้านโดส หลังชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นในวัคซีนที่รัฐมี การพยายามปรับตัวของเพื่อนบ้าน และการไม่พยายามปรับตัวต่อเสียงวิจารณ์ของไทย ส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามถึงผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งแก้ปัญหาเหล่านี้

Adblock test (Why?)


แอสตราเซเนกาอยู่ไหน... หรือทางเลือกของคนไทยลงท้ายที่ซิโนแวค? - ไทยรัฐ
Read More

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...