“หมอบุญ” เผยความคืบหน้านำเข้าวัคซีนทางเลือก ชี้โดนค่าบริการ-ภาษี 2 รอบ รวมกว่า 24% พร้อมแนะประชาชนฉีดวัคซีนโควิด แจงผลดีมากกว่าผลเสีย
วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand กรณีประชาชนหวั่นผลข้างเคียงวัคซีนโควิด รวมถึงประเด็นความคืบหน้าการนำเข้าวัคซีนทางเลือกของสมาคมโรงพยาบาลเอกชน
เบื้องต้น ปัญหาการลงชื่อฉีดวัคซีนโควิดน้อยในประชาชน จากเป้าหมายแรกผู้สูงวัยและผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังจำนวนกว่า 16 ล้านคน มีการลงทะเบียนราว 1.6 ล้านคน โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ในบางพื้นที่มีประชาชนจองคิวฉีดไม่ถึง 15% ถือว่าน่าเป็นห่วงมาก
เนื่องจาก ปัจจุบันการแพร่ระบาดยังมีแนวโน้มรุนแรง ประกอบกับห้องไอซียูภายในประเทศไทยเริ่มรองรับไม่ไหว ดังนั้น ตนจึงอยากแนะนำให้คนไทยฉีดวัคซีนโควิดในยี่ห้อที่มีในช่วงนี้ไปก่อน และขอยืนยันว่าวัคซีนทุกตัวมีประสิทธิภาพสามารถป้องกันโควิดได้ แต่มากน้อยแล้วแต่ยี่ห้อ
ทั้งนี้ วัคซีนซิโนแวคเป็นวัคซีนจากเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูง และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าแอสตร้าเซนเนกาถึง 2 เท่า อาจจะมีอาการปวดเมื่อย เจ็บแขน 1-2 วันเท่านั้น ส่วนผลข้างเคียงที่เป็นอัมพฤกษ์ยังไม่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด เพราะจากการเอ็กซเรย์เบื้องต้นไม่พบสิ่งปกติ แต่หากติดเชื้อโควิด ไวรัสจะเข้าไปทำลายอวัยวะหลายส่วน อาทิ ตับ ไต ปอด สมอง มีความรุนแรงมากกว่าผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนถึงพันเท่า เมื่อชั่งน้ำหนักแล้วการฉีดวัคซีนย่อมดีกว่าไม่ฉีดอย่างแน่นอน
“ตอนนี้เราต้องเร่งฉีดวัคซีนโควิดสู่ประชาชน เราไม่มีทางเลือก แอสตร้าเซนเนกามีเหลือจากทั่วโลก บางประเทศเขาคืน งดฉีดกัน ฉีดยังดีกว่าปล่อยให้ผู้ป่วยโควิดล้นโรงพยาบาล ซึ่งห้องไอซียูเราไม่พอแล้ว”
อย่างไรก็ดี สำหรับความคืบหน้าด้านการนำเข้าวัคซีนทางเลือก ขณะนี้สมาคม รพ.เอกชน ร่วมกับองค์การเภสัชฯ ได้เจรจาวัคซีน 2 ตัว ได้แก่ โมเดอร์นา และโนวาแวกซ์ โดยโมเดอร์นาจะผ่าน อย.ภายใน 2 สัปดาห์นี้ แต่จะสามารถส่งวัคซีนให้แก่ไทยได้อีก 4 เดือนข้างหน้า เพราะขณะนี้ทางประเทศอเมริกายังมีข้อห้ามส่งออกวัคซีนออกนอกประเทศ
“ขณะนี้ทางเราได้พยายามส่งคนไปเจรจากับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ให้กระจายวัคซีนมาประเทศเราบ้าง เพราะประเทศเขามีเพียงพอแล้ว” หมอบุญกล่าวและว่า อย่างไรก็ดี การนำเข้าวัคซีนโมเดอร์นา เราอาจต้องเสียงภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) 7% ประมาณ 2 รอบ เท่ากับ 14%
โดยรอบแรกมาจาก อภ.ซื้อวัคซีนจากบริษัทผู้แทน และรอบที่สองจาก รพ.เอกชน ซื้อต่อจาก อภ.อีกครั้ง บวกกับค่าบริหารจัดการที่ อภ.จะคิดอีก 5-10% รวมทั้งหมดแล้วอาจสูงสุดที่ 24% ทำให้ต้นทุนวัคซีนดันขึ้นไปที่ 2,000 กว่าบาท
อย่างไรก็ตาม หาก รพ.ซื้อตรงกับบริษัทวัคซีนเองอาจไม่เสียภาษี เพราะได้รับการยกเว้น แต่ปัญหาอยู่ที่วัคซีนอนุมัติใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นเขาจึงอยากดีลกับภาครัฐมากกว่า
หมอบุญ เผย วัคซีนทางเลือก ถูกรีดภาษีเพิ่ม 2 รอบ เฉียด 24% - ประชาชาติธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment