Rechercher dans ce blog

Friday, June 25, 2021

ล็อกดาวน์บางเมือง-เลื่อนเปิดประเทศ ทางถอย 120 วันของ "ประยุทธ์" - ประชาชาติธุรกิจ

เป้าหมายเปิดประเทศ 120 วัน ถูกตั้งคำถามอย่างท้าทายว่า ทำได้จริง-เป็นไปได้หรือไม่

เป็น “ข้อกังขา” แปรผันตามตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันแตะหลักพัน-ตัวเลขสี่หลัก วัคซีนโควิด-19 “ไม่มาตามนัด” เคราะห์ซ้ำกรรมซัด “ไวรัสกลายพันธุ์”

โรดแมป 120 วัน เปิดประเทศที่มีเป้าหมาย 1.แผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 จำนวน 150 ล้านโดส ภายในปี 2564 ขณะนี้จัดหา-จองวัคซีนแล้ว 105.5 ล้านโดส ประกอบด้วย วัคซีน AstraZeneca จำนวน 61 ล้านโดส วัคซีน Sinovac จำนวน 19.5 ล้านโดส วัคซีน Pfizer จำนวน 20 ล้านโดส และวัคซีน Johnson & Johnson จำนวน 5 ล้านโดส การจัดหาวัคซีนโควิด-19 จำนวน 150 ล้านโดส ภายในปี 2564

ไม่รวม “วัคซีนทางเลือก” เช่น วัคซีน Sinopharm จำนวน 1 ล้านโดสของสถาบันราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขณะที่วัคซีนโควิด-19 ที่อยู่ระหว่างรับการอนุมัติ-ขึ้นทะเบียน

ได้แก่ วัคซีน Sputnik V วัคซีน Biotech และวัคซีน Covaxin 2.คนไทยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มที่ 1 อย่างน้อย 50 ล้านคน ภายในเดือนตุลาคม 2564 เพื่อรองรับการเปิดประเทศภายใน 120 วัน

ข้อมูล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2564 มี “ยอดสะสม” การฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์-23 มิถุนายน 2564 จำนวน 8,400,320 โดส แบ่งออกเป็น เข็มที่ 1 จำนวน 6,017,424 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 2,382,896 ราย ปัจจุบันศักยภาพในการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 4 แสนโดสต่อวัน

แต่ถ้าต้องการทันเปิดประเทศหรืออย่างน้อยฉีดเข็มแรก 50 ล้านคน ภายในเดือนตุลาคม 2564 ต้องฉีดให้ได้จำนวน 5 แสนโดสต่อวัน

สำหรับแผน Reopen Thailand การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวใน 120 วัน โดยไม่ต้องกักตัว เริ่มจากการเปิดเมือง (พื้นที่นำร่อง) ให้แล้วเสร็จในไตรมาส 3 รอบ 1.ภูเก็ต : Phuket Sandbox เริ่ม 1 กรกฎาคม 2564 และ 2.สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) เริ่ม 15 กรกฎาคม 2564

ระยะต่อไป 1.กระบี่ (เกาะพีพี ไหง ไร่เลย์) และ 2.พังงา (เขาหลัก เกาะยาว) เริ่มสิงหาคม 2564 (ไตรมาส 3 : กรกฎาคม-กันยายน)

พื้นที่ผืนแผ่นดิน 1.เชียงใหม่ (อำเภอเมือง แม่ริม แม่แตง ดอยเต่า) เริ่มกันยายน 2564 (ไตรมาส 3) 2.ชลบุรี (พัทยา บางละมุง สัตหีบ) เริ่มกันยายน 2564 3.บุรีรัมย์ (อำเภอเมือง สนามช้างอารีนา) เริ่มกันยายน 2564 และ 4.กรุงเทพมหานคร ชะอำ หัวหิน เริ่มตุลาคม 2564 (ไตรมาส 4 : ตุลาคม-ธันวาคม 2564)

กุนซือประจำทำเนียบรัฐบาล มองปัจจัยความสำเร็จ-key massage ของการประกาศเปิดประเทศภายใน 120 วัน คือ “เป้าหมายสำหรับการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน”

หลังจากนี้ทุกส่วนงานจะจัดทำแผนปฏิบัติการของตัวเอง ต้องมุ่งมั่นว่าจะต้องทำได้ เป็นเป้าหมาย 100 วัน ทุกฟันเฟืองต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน ทั้งภาคสาธารณสุข ภาคการเมือง ภาคประชาสังคมและภาคส่วนธุรกิจ ภายใต้สถานการณ์ที่สามารถปรับได้ตลอดเวลา

วอร์รูมตึกไทยคู่ฟ้าประเมินว่า worst case หลังจากครบ 120 วัน-เปิดประเทศในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 เลวร้ายที่สุดอาจจะต้องขยายระยะเวลา 120 วันออกไป หรือ “เลื่อนการเปิดประเทศ”

“มองจากต่างประเทศที่ประกาศเปิดประเทศ แต่เมื่อยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้-ตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หรือระดับการฉีดวัคซีนให้คนไทยยังไม่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย”

ขณะที่ best case หากประสบความสำเร็จ โดยวัดจากหลักเกณฑ์ 1.ผู้ติดเชื้อลดลง 2.ควบคุมการแพร่ระบาดได้ 3.การท่องเที่ยวเปิดได้ 4.เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อได้-ประชาชนประกอบอาชีพได้ตามปกติ ภายใต้ new normal

“คำว่า new normal ก็จะกลับมาเหมือนเดิมและชัดเจนมากขึ้น หากมองจากสถานการณ์โลกวัคซีนโควิด-19 พัฒนาไปตามไวรัสกลายพันธุ์ วัคซีนมีปริมาณเพียงพอกับคนทั้งโลก ตราบใดที่ทั้งโลกยังฉีดวัคซีนไม่ครบ 70 เปอร์เซ็นต์ การเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยว การทำมาหากิน การไปมาหาสู่ของนักธุรกิจยังทำไม่ได้ทั้งหมด ฉะนั้น ต้องเคลื่อนไปทั้งโลก”

วัคซีนโควิด-19 ไม่ใช่จุดชี้ขาดว่า การเปิดประเทศจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ แต่ปัจจัยสำคัญคือ ทุกภาคส่วนต้องทำงานในหน้าที่ของตัวเอง

“มองย้อนกลับไป การระบาดระลอกแรกในเดือนเมษายนเมื่อปีที่แล้ว ทำไมถึงควบคุมการระบาดได้สำเร็จ เพราะทุกคนป้องกันตัวเอง ไม่ทำกิจกรรมที่สุ่มเสี่ยง เมื่อมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้น ส่งผลต่อการบริหารจัดการ”

สำหรับ “ยุทธวิธี” ควบคุมการแพร่ระบาดหลังจากก่อน-ระหว่าง-หลังเปิดประเทศ 120 วัน เช่น “Bubble and Seal” ควบคุมการระบาดในโรงงาน และ “ขนมครก” ควบคุมการระบาดในจังหวัดสมุทรปราการ เช่นเดียวกับคลัสเตอร์บางแค-คลองเตย

“ยุทธวิธีเหล่านี้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ขณะนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น แผนจะต้องปรับได้ตลอดเวลา”

ความยากของการผลักดันแผนเปิดประเทศ 120 วัน คือ การร่วมหัว-จมท้ายของทุกภาคส่วน

เป็นคำถามที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ “แก้ไม่ตก” ตั้งแต่การระบาดโควิด-19 “ระลอกแรก” คือ การสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจกับสาธารณสุข

“จุดสมดุลระหว่างเศรษฐกิจกับสาธารณสุขต้องไม่แข็งเกินไป แต่เมื่อมีสัญญาณการแพร่ระบาดที่มากขึ้น ก็ต้องปรับให้เข้มขึ้น แต่ละประเทศมีบทเรียนว่า การล็อกดาวน์ทั้งประเทศไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นสูงจึงต้องใช้ปิดเฉพาะจุด ปิดเฉพาะเมือง ในช่วงนี้มาตรการป้องกันตัวเองสำคัญที่สุด”

120 วันอันตรายต่อระบบสาธารณสุข-เศรษฐกิจ-การเมือง ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์

Adblock test (Why?)


ล็อกดาวน์บางเมือง-เลื่อนเปิดประเทศ ทางถอย 120 วันของ "ประยุทธ์" - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...