Rechercher dans ce blog

Saturday, June 26, 2021

ทางโค้ง..จบแบบสวยหรือสาหัส (ตอนที่ 2) - ไทยรัฐ

ส่วนข้อมูลของสองเข็มนั้นยังไม่ชัดเจนนัก

อย่างไรก็ตาม คนติดเชื้อไวรัสเดลตา หรือสายพันธุ์อินเดีย หลังจากได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มยังมีการติดเชื้อได้หลากหลาย โดยรายงานต่อเนื่องจะเหลือประมาณ 6% แต่ในจำนวนที่ติดเชื้อแล้วมีอาการหนักต้องเข้าโรงพยาบาลคือ 11%

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา ทั้งหมด 42 ราย ในอังกฤษที่ใช้วัคซีนไฟเซอร์และแอสตราฯ มีถึง 12 ราย หรือ 28.5% เป็นผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ถ้ารวมอีก 7 ราย ที่ได้วัคซีน 1 เข็ม ตัวเลขของผู้ป่วยเสียชีวิตที่ได้วัคซีนครบ 1 เข็ม สูงถึง 45.2%

ตัวเลขดังกล่าวนี้จะผันแปรตามปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นตัวเชื้อไวรัสเองที่แม้ว่าจะเป็นตัวเดลตา แต่ส่วนของไวรัสที่กำหนดความรุนแรงจะมีอยู่หลายส่วนของไวรัสด้วยกัน

ดังนั้น การประเมินสถานการณ์จำเป็นต้องพิจารณาทั้งความเสี่ยงที่ทำให้ติดง่ายขึ้น แพร่ง่ายขึ้นและความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการหนักรุนแรงจนถึงเสียชีวิต

ซึ่งทั้งสองส่วนต้องพิจารณาควบคู่กันเสมอ และตัวเลขที่ปรากฏจะต้องไม่ถือเป็นตัวเลขตายตัว และต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

และนอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่ทำให้ติดง่ายและเสียชีวิตง่ายซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของชุมชน การรักษาวินัยระยะห่าง รวมกระทั่งถึงปัจจัยส่วนบุคคลที่กำหนดการตอบสนองต่อการติดเชื้อได้ดีเพียงใด รวมถึงอายุและภาวะโรคประจำตัวที่มีอยู่ การวินิจฉัยได้เร็วเพียงใดและเริ่มการรักษาได้เร็วเพียงใด

ในการฉีดวัคซีน ต้องบุกแหลก บุกหนัก เน้นความสำคัญของการได้ 2 เข็ม แบบไม่รอช้า เข็มสองไม่ต้องห่างนานเกินไป

เร่งหาวัคซีน เร่งฉีดเร็ว

ประการแรก คือ 2 เข็ม ทำให้การป้องกันการติด มีประสิทธิภาพ มากขึ้น ในตำแหน่งจมูก ลำคอ ทางเดินหายใจส่วนบน โดยใช้กลไกภูมิคุ้มกันจากน้ำเหลืองเป็นสำคัญ หรือแอนติบอดี

ประการที่สอง คือ ทำให้การป้องกันอาการหนักและการตายดีขึ้น ในตำแหน่งทางเดินหายใจส่วนล่างและในปอด รวมทั้งอวัยวะต่างๆ ทั้งนี้ อาศัยทั้งกลไกในน้ำเหลืองบวกเซลล์

ประการที่สาม ดังที่กล่าวไปแล้ว สองเข็มทำให้เก่งขึ้น แต่อาจไม่ถึงกับเต็ม 100 (ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา) ต่อสายพันธุ์เดลตา หรือที่มีกำเนิดที่อินเดีย ทั้งในเรื่องการป้องกันการติดและการที่ต้องเข้าโรงพยาบาล แต่อย่างไรช่วยได้แน่ๆ

(ข้อมูลจะไหลมาเรื่อยๆ จาก public health England)

ในประเทศไทยเอง เราเห็นเดลตาตั้งแต่ 13 พฤษภาคม จากคนในชุมชน ก่อนหน้าวันที่ 21 พฤษภาคมที่มีการพบที่แคมป์แรงงานที่หลักสี่

ซึ่งหมายความว่าต้องมีการกระจายเป็นหย่อมแล้ว และในที่สุดมีการกระจายกว้างขวางขึ้นจริง ดังที่ทางการได้ประกาศในวันที่ 16 มิถุนายนว่าพบแล้วใน 20 จังหวัดและอาจจะครองสัดส่วนมากขึ้นตามลำดับ แต่ตัวเลขดังกล่าวนั้น ในความเป็นจริงอาจจะแพร่ในพื้นที่มากกว่านี้เมื่อมีการตรวจเข้มข้นจริงๆ

จากการที่เดลตาติดง่ายขึ้น และเพิ่มจำนวนในเซลล์ได้มากกว่า

และจากการที่รหัสพันธุกรรม ที่ผันแปรไปในหลายตำแหน่ง โดยมีที่ทำให้สามารถหลบเลี่ยงระบบป้องกันของร่างกายได้ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดอาการหนัก และเป็นสายพันธุ์ที่ทั่วโลกต้องให้ความใส่ใจวิตก (variant of global concern)

ในการบุกแหลกนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่วัคซีนยี่ห้อต่างๆมาได้ไม่พร้อมกัน ฉีดเข็มแรกอย่างหนึ่ง ตามด้วยเข็มสองอีกยี่ห้อ
อาจไม่มีความจำเป็นต้องวิตกเพราะการฉีดคนละยี่ห้อ มีการศึกษาทั้งที่สเปนและเยอรมนี และเป็นหัวข้อขององค์การอนามัยโลก

ที่เริ่มด้วยแอสตราฯ ตามด้วยไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา

ประโยชน์ ของ mix and match หรือ prime and boost ปนกันคนละขั้วหรือเทคนิค คือ มีภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองสูงขึ้นมากกว่าธรรมดา ตามการศึกษาดังข้างต้น

และในกรณีของแอสตราฯที่ส่วนของโควิดที่ฝากไว้กับไวรัสตัวอื่นคือ อดิโนไวรัส (adenovirus) เข็มถัดมา เกรงว่าร่างกายจะรับรู้และทำลายไวรัสไปก่อน ทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง ซึ่งหมายถึงการใช้เข็มที่สามด้วย

นอกจากนั้น หวังว่าวัคซีนคนละเทคนิคดังกล่าวอาจจะช่วยเสริมสร้างภูมิข้ามสายพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะเดลตาอินเดีย

ทั้งนี้ ในประเทศไทย แม้จะเป็นเชื้อตาย ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม กับแอสตราฯ ควบรวมกัน ไม่น่ามีปัญหาและอาจได้ประโยชน์เพิ่ม ในด้านผลข้างเคียง ไม่ชัดเจนว่าเกิดผลร้ายมากขึ้นกว่าการใช้ยี่ห้อเดียว

รายงานแรกๆ อาจมีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้บ้าง และในประเทศสิงคโปร์ถ้าแพ้รุนแรงจากไฟเซอร์ โมเดอร์นา เข็มสองเป็นซิโนแวคได้

ข้อสำคัญ การมีผลข้างเคียงไม่ใช่เรื่องดี และไม่ทำให้ภูมิสูงขึ้นกว่าธรรมดา

สรุป ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าต่อจากนี้ จงใจเปลี่ยนยี่ห้อ แต่ถ้าคนละยี่ห้อก็ไม่เสียหาย

เป้าหมาย 120 วันทั้งประเทศจะเป็นทางโค้งที่สำคัญ และอาจไม่ได้หมายถึงการที่ต้องได้วัคซีนอย่างเดียว แต่รวมถึงตัวเชื้อว่าจะอ่อนข้อลงหรือไม่ และประการสำคัญคือกระบวนการตรวจต้องแม่นยำไม่หลุด ครอบคลุมถ้วนทั่วทุกคนในพื้นที่ จนสามารถนำมาประเมินได้ว่ามาตรการทั้งหลายเหล่านี้ สัมฤทธิผลจริงหรือไม่ถ้าไม่เช่นนั้นถึงแม้จะฉีดวัคซีนครบ 90% ของคนไทยสองเข็มก็ตาม ในที่สุดก็ต้องเริ่มใหม่ สาหัสกว่าเก่าหรือไม่.

หมอดื้อ

Adblock test (Why?)


ทางโค้ง..จบแบบสวยหรือสาหัส (ตอนที่ 2) - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...