Rechercher dans ce blog

Tuesday, June 1, 2021

จาก 'ชื่อพันธุ์โควิด' สู่ 'วัคซีนทางเลือก' - กรุงเทพธุรกิจ

2 มิถุนายน 2564 | โดย [บทบรรณาธิการ]

151

ความเคลื่อนไหวของ WHO ที่มีการเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์โควิด-19 เพื่อที่จะได้ไม่ต้องตีตราความผิดให้ประเทศต้นกำเนิดแต่ละสายพันธุ์ ขณะที่ประเทศต่างๆ พยายามควบคุมการแพร่ระบาดหรือกระจายวัคซีน รวมถึงหาวัคซีนทางเลือกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่มากขึ้น

ความเคลื่อนไหวขององค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) เกี่ยวกับการเรียกชื่อสายพันธุ์โควิด-19 โดยสั่งเปลี่ยนชื่อจากที่เคยใช้ผสมกัน ระหว่างตัวอักษรกับตัวเลข มาเป็นตัวอักษรกรีก ส่งผลให้ชื่อสายพันธุ์ใหม่เป็นดังนี้ สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) ให้เปลี่ยนเป็น อัลฟา สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) เปลี่ยนเป็นเบตา สายพันธุ์บราซิล (P1) ให้เรียกว่า แกมมา และสายพันธุ์อินเดีย (B1.617.2) ให้เปลี่ยนเป็น เดลตา จากนี้ไปหากมีสายพันธุ์ที่น่าจับตาเพิ่มขึ้น ก็ให้เรียงกันไปตามลำดับอักษร ดับบลิวเอชโอให้เหตุผลในการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ เพื่อการจดจำและออกเสียงง่าย

อีกเหตุผลสำคัญ การเปลี่ยนชื่อใหม่ จะได้ไม่ต้องตีตราความผิดให้ประเทศต้นกำเนิดแต่ละสายพันธุ์ ดับเบิลยูเอชโอใส่ใจในรายละเอียดเกี่ยวกับโควิด เนื่องจากมีผลต่อมนุษยชาติการบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ ความรับผิดรับชอบ เพราะต้องยอมรับว่า การอุบัติของโรคใหม่ ไม่อาจใช้บทสรุปของคนในยุคปัจจุบันเป็นเครื่องตัดสิน เพราะมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูงมาก ยกตัวอย่างอีโบลา ในอดีตตั้งชื่อตามแม่น้ำในประเทศคองโก สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือได้ทำลายชื่อเสียงของสถานที่ดังกล่าว หรือไข้หวัดสเปน ที่ถือกำเนิดเมื่อปี 2461 ปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันต้นกำเนิดว่ามาจากไหน

รัฐบาลแต่ละประเทศ รวมทั้งไทยก็ควรดำเนินการเรื่องโควิด-19 ด้วยความรัดกุมรอบคอบเช่นกัน ไม่ว่ามิติควบคุมการแพร่ระบาดหรือการกระจายวัคซีน ส่งผลต่อความรู้สึกของประชาชน จึงต้องใส่ใจและระมัดระวัง อย่างขณะนี้สังคมกำลังวิพากษ์วิจารณ์ กรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 62 อบจ. ได้แสดงความสนใจ สั่งซื้อวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หวังให้เป็นวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนในท้องถิ่น ทว่ารัฐบาลกลางสั่งเบรก ด้วยเหตุผลจะเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างจังหวัดใหญ่กับจังหวัดเล็ก

เราเห็นว่า ความเหลื่อมล้ำที่ผู้บริหารประเทศมอง สวนทางความคิดผู้นำท้องถิ่นหลายๆ แห่ง ที่มองว่า การสั่งซื้อทางเลือกเป็นการเพิ่มช่องทางรับวัคซีนให้กับคนในจังหวัด เราจึงเห็นด้วยกับผู้นำท้องถิ่น เพราะน่าจะสามารถสะท้อนความต้องการของคนในพื้นที่ได้ใกล้เคียงที่สุด ในขณะนี้ต้องยอมรับว่านอกจากความไม่มั่นใจเรื่องความชอบธรรมในการกระจายวัคซีนที่ผ่านมาแล้วเรื่องของยี่ห้อวัคซีนได้ถูกมองข้ามไปแล้วถ้าเทียบกับความต้องการฉีดวัคซีน เพราะความล่าช้าในการดำเนินการของส่วนกลาง สอดคล้องกับผลสำรวจนิด้าโพล วันที่ 1 มิ.ย.2564 พบว่าคนส่วนใหญ่มองว่าประเด็นปัญหาอยู่ที่การจัดหาที่ล่าช้า ประชาชนจึงพร้อมฉีดทันทีหากได้รับโอกาส

เราเห็นว่า ถ้าผู้มีอำนาจไม่มีการเมืองแอบแฝง วัคซีนทางเลือกคือการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงให้คนในต่างจังหวัด บทเรียนที่ผ่านมาชี้ให้เห็นแล้วว่าไม่ควรปิดกั้น ทั้งยี่ห้อวัคซีน ระบบและช่องทางการลงทะเบียน ดังนั้นการเพิ่มช่องทางรับวัคซีนทางเลือกให้แต่ละจังหวัด

เป้าหมายปลายทางคือคนไทยได้รับวัคซีนที่เร็วขึ้น นำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่มากขึ้น นับเป็นประโยชน์ส่วนรวม ผู้นำประเทศควรฉกฉวยสถานการณ์ แทนการกลัวที่จะสูญเสียอำนาจ โอกาสคนไทยรู้สึกอยากฉีดวัคซีน เกิดขึ้นไม่บ่อยในยุคนี้

Adblock test (Why?)


จาก 'ชื่อพันธุ์โควิด' สู่ 'วัคซีนทางเลือก' - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...