Rechercher dans ce blog

Wednesday, June 30, 2021

“ธนกร” โต้ ”พิชัย” พิการทางจิตใจ เอาโควิด เล่นการเมือง บนความทุกข์ประชาชน - ไทยรัฐ

30 มิ.ย. 2564 17:03 น.

“ธนกร” ย้อน ”พิชัย” พิการทางจิตใจ เล่นการเมืองบนความทุกข์ประชาชน แจง รัฐบาลไม่ล้มเหลว ทั้งการเร่งฉีดวัคซีนและมาตรการเยียวยาฟื้นฟูประเทศ เหน็บ อย่าเอาใจคนแดนไกล จนไร้เหตุผล


วันที่ 30 มิ.ย. นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำพิการทางความคิด ล้มเหลวทุกด้านว่า สำหรับตนแล้วคนที่พิการทางความคิดเป็นนายพิชัย ไม่ใช่ท่านนายกฯ และยังพิการทางด้านจิตใจด้วย เพราะวันๆ จิตใจคิดแต่เรื่องลบ ไม่รู้กาลเทศะ เล่นการเมืองบนชีวิตของประชาชน การแก้ปัญหาโควิด-19 ไม่ได้ล้มเหลวทุกอย่างเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งฉีดวัคซีนให้กับพี่น้องประชาชน หรือการออกมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูประเทศ ทั้งโครงการคนละครึ่ง เพิ่มกำลังซื้อในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ฯลฯ แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะเกิดขึ้นในบางพื้นที่ แต่พล.อ.ประยุทธ์ก็เร่งแก้ปัญหาในทันที เช่นเดียวกับการประกาศปิดแคมป์ก่อสร้าง ร้านอาหารเครื่องดื่มในพื้นที่ 6 จังหวัด และมีการออกมาตราการช่วยเหลือตามมา ใช้งบประมาณ 8,500 ล้านบาท


นายธนกร กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่นายพิชัยตั้งคำถามนั้น รัฐบาลก็ชี้แจงได้ทุกข้อ เช่น กรณีการเยียวยาในโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ที่คนเข้าร่วมโครงการน้อยมาก แค่ 4 แสนคน จากยอดโครงการ 4 ล้านราย แม้กระทั่งโครงการ “คนละครึ่ง” ที่ในอดีตแย่งกันลงทะเบียน แต่ปัจจุบันกลับมีเหลือเป็นล้านราย แต่ทำไมถึงยังดำเนินโครงการต่อนั้น รัฐบาลออกแบบมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ให้ครอบคลุมและรองรับประชาชนทุกกลุ่มของประเทศให้มากถึง 51 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิโครงการใดตามความเหมาะสมและความจำเป็นของตนเอง โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เปิดให้ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการถึง 31 ล้านคน โดยมีผู้ได้สิทธิแล้วกว่า 28 ล้านคน มากกว่าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 1 และ 2 โดยคาดว่าเมื่อเริ่มเปิดให้ใช้จ่ายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 จะยังมีประชาชนสนใจเข้ามาลงทะเบียนอีกอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้มีกำลังซื้อ ซึ่งมุ่งเน้นกลุ่มที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 4 ล้านคน อีกทั้งขณะนี้ร้านค้าได้ทยอยลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ดังนั้น เมื่อเริ่มเปิดให้ใช้จ่ายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 คาดว่าจะมีประชาชนที่สนใจเข้ามาลงทะเบียนอีกเช่นกัน


นายธนกร กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ นายพิชัยสอบถามการปล่อยกู้ดอกเบี้ย 0% ตามที่ได้ประกาศว่า ได้มีการดำเนินการไปถึงไหนแล้ว มีธุรกิจใดได้แล้วบ้าง จะมีการกระจายให้ทั่วถึงได้อย่างไรนั้น กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายมาตรการพักชำระหนี้ และมาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ประชาชน และผู้ประกอบการ SMEs จนถึงสิ้นปี 2564 ทั้งนี้ ไม่เคยมีการประกาศเรื่องการปล่อยกู้ดอกเบี้ย 0% แต่อย่างใด โดย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ธนาคารออมสิน ได้ออกมาตรการยกเว้นการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ทำให้เงินงวดเป็นศูนย์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ก.ค. - ธ.ค. 2564) สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต เกสต์เฮาส์ และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ที่มีวงเงินสินเชื่อรวมไม่เกิน 250 ล้านบาท และหนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน และธนาคารออมสินมี 2 มาตรการสนับสนุนสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง คือ 1. มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน วงเงินกู้สูงสุด 5 แสนบาท และ 2. มาตรการสินเชื่อ มีที่ มีเงินสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน อัตราดอกเบี้ย ปีแรก 0.1%

ส่วนที่นายพิชัย ระบุว่า ถ้าเปิดประเทศไม่ได้ เศรษฐกิจไทยจะทรุดต่อไปอีกนาน พล.อ.ประยุทธ์ มีแผนงานจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจนั้น การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป จะให้ความสำคัญทั้งในด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน และจะติดตามการระบาดและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีแนวทางในการดูแลด้านสาธารณสุขให้ควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อกิจการและกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากนัก โดยมุ่งเน้นที่การจัดหาวัคซีนโควิดให้มีใช้อย่างเพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพรวมตลอดจนการกระจายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็ว หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น การดำเนินมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาจะเป็นทางเลือกแรกที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้ทันต่อสถานการณ์เพื่อประคองการดำรงชีพให้แก่ประชาชน ตลอดจนพยุงการบริโภคไม่ให้ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศหยุดชะงัก

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์เริ่มมีความคลี่คลาย รวมถึงประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นรัฐบาลจะเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นการบริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศให้กลับมาฟื้นตัวและเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ทดแทนภาคส่งออกและภาคการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ลดลง ประกอบกับการฟื้นฟูภาคการผลิต ส่งเสริม และสนับสนุนให้กับภาคธุรกิจภายในประเทศให้กลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็ว ตลอดจนสร้างแรงจูงใจให้กับภาคการผลิตในการพัฒนาสินค้าและบริการที่สอดรับกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลจะพิจารณการดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างเหมาะสมภายใต้ความเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่า เศรษฐกิจของประเทศจะสามารถฟื้นตัวเข้าสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว และสอดคล้องกับการฟื้นตัวของสภาวะเศรษฐกิจโลกในระยะยาว


"รัฐบาลจะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างสู่เศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรม และการให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานสะอาด และการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร ลดความเหสื่อมล้ำ และยกระดับทักษะแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางที่ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายไว้ ได้แก่ การมุ่งไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและองค์ความรู้ วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โอกาสสำหรับทุกกลุ่มคนและทุกพื้นที่และกำลังคนภาครัฐที่มีสมรรถนะสูง หวังว่านายพิชัยจะเข้าใจ อย่าเอาใจคนแดนไกลจนไร้เหตุผล" นายธนกร กล่าว.

อ่านเพิ่มเติม...

Adblock test (Why?)


“ธนกร” โต้ ”พิชัย” พิการทางจิตใจ เอาโควิด เล่นการเมือง บนความทุกข์ประชาชน - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...