Rechercher dans ce blog

Wednesday, June 2, 2021

ติดตามตัวเลขการจ้างสัปดาห์นี้ พร้อมกระจายพอร์ตสินทรัพย์ทางเลือก - กรุงเทพธุรกิจ

3 มิถุนายน 2564 | โดย มณฑล จุนชยะ | คอลัมน์ One’s Voice

78

จับตา 3 ปัจจัยสำคัญ ทั้งตัวเลขการจ้างงาน ตัวเลขเงินเฟ้อ และการประชุม FOMC ที่จะส่งผลต่อการลงทุน แล้วนักลงทุนควรจัดพอร์ตการลงทุนอย่างไรบ้าง?

ประเด็นใหญ่ของภาพการลงทุนไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือต่างประเทศ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ก็ไม่พ้นเรื่องโควิด-19 ส่วนเรื่องความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่มีผลมาจาก สภาพคล่องที่ฉีดเข้าไปในระบบและการเปิดเมืองในสหรัฐ ก็ยังเป็นปัจจัยที่ขึ้นๆ ลงๆ เนื่องจาก Fed บอกไม่ต้องกังวลแต่ตัวเลขที่ออกมามันชวนสงสัยและสร้างความไม่สบายใจข้ามทวีปมาถึงประเทศไทย เดือนนี้ มีหลายๆ เรื่องที่ต้องติดตามผมจะเริ่มไปทีละเรื่องนะครับ

เรื่องแรกค่อนข้างจะดี คือ การปรับพอร์ตของนักลงทุนต่างชาติจากการปรับตะกร้า MSCI หุ้นไทยถูกลดน้ำหนักลงในตะกร้าดัชนี MSCI EM ราว 1% ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา เป็นผลทำให้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิมาตลอดช่วงครึ่งหลังของเดือนพ.ค. แรงกดดันดังกล่าวจะบรรเทาลงหลังผ่านพ้นวันมีผลบังคับใช้ที่ 27 พ.ค.ไปแล้ว และน่าจะทำให้นักลงทุนต่างชาติกลุ่มนี้เริ่มกลับเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทยได้บ้าง

ประเด็นทางเศรษฐกิจ เริ่มที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของประเทศสำคัญทั้งจีน ยุโรป และสหรัฐที่จะออกมาในช่วงปลายเดือนพ.ค.ต่อต้นเดือนมิ.ย. ดัชนีนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นการสะท้อนคำสั่งซื้อของ

ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าหากยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่ง จะเป็นปัจจัยชี้นำต่อมายังภาคการส่งออกของไทยเราได้ในช่วงถัดไป ซึ่งดูเหมือนว่าจะยังเป็นเครื่องยนต์สำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ในปีนี้  ประเด็นถัดไปคือปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการเงิน ของสหรัฐ คือ รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันที่ 4 มิ.ย. เป็นตัวเลขที่ Fed มักหยิบมาอ้างอิงต่อการดำรงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในช่วงหลัง ดังนั้น หากตัวเลขการจ้างงานออกมาแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาดที่ 6.2 แสนตำแหน่ง มองว่าจะเป็นประเด็นที่ทำให้นักลงทุนตีความไปก่อนได้ว่า Fed อาจมีการส่งสัญญาณผ่อนคันเร่งการซื้อสินทรัพย์ในเร็วๆ นี้ได้ โดยอาจเริ่มตั้งแต่การประชุม FOMC กลางเดือนนี้เลย อันนี้ไม่ค่อยจะดี ต่อปัจจัยการลงทุนมากนัก

ส่วนการประชุม FOMC วันที่ 15-16 มิ.ย. ซึ่งถือเป็นการประชุมรอบใหญ่ที่จะมีการเผยแพร่ประมาณการเศรษฐกิจและ Dot plots ออกมา ผมคาดว่า Fed จะยังไม่มีการส่งสัญญาณทำ QE Tapering ออกมาในรอบนี้ เพราะถ้ามาดึงเงินกลับตอนนี้ ก็ดูจะเร็วไป เพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่ชัด

สำหรับประเทศไทย เรื่อง การปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจของธปท.ในวันที่ 23 มิ.ย. ดูเหมือนจะมีความสำคัญน้อยลงตามลำดับ หลังสภาพัฒน์ได้ออกมาปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้ลงมาที่ 1.5-2.0% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นการปรับลดสมมติฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติลงเหลือเพียง 5 แสนคนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า Downside risk ของเศรษฐกิจไทยส่วนหนึ่งน่าจะถูกป้องกันได้จากการออกพ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเม็ดเงินได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ รวมทั้งหากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ มีแนวโน้มที่ดี เศรษฐกิจก็อาจจะฟื้นตัวขึ้นได้ในปีหน้า

ผมมองว่าตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้จะดีในช่วงแรกของเดือน ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ช่วงของความผันผวน ตามปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐที่ในเดือนนี้จะมีทั้งตัวเลขการจ้างงาน ตัวเลขเงินเฟ้อ และการประชุม FOMC เป็นปัจจัยสำคัญ การลงทุนที่ดี คงหนีไม่พ้นการกระจายสินทรัพย์เพื่อการลงทุน และสินทรัพย์ทางเลือกที่น่าสนใจที่เราควรจะแบ่งเงินลงทุนเข้าไปประมาณ 5-10%

สอดคล้องกับธีมเปิดเมือง คือการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือกอง REIT ลองพิจารณาเปรียบเทียบผลตอบแทนของทรัพย์สินที่ท่านจะกระจายการลงทุนในระยะยาว 3- 5 ปี ข้างหน้า ควบคู่ไปกับประเภทสินทรัพย์ การทำประโยชน์ และ แนวโน้มทางเศรษฐกิจของสินทรัพย์อย่างน้อยประมาณ 5 ปีขึ้น ประกอบกับความเสี่ยงที่ยอมรับและเป้าหมายการใช้เงินก้อนนั้นในระยะกลางลงทุนระยะปานกลาง หรือ สอบถามปรึกษาการลงทุนของท่านกรณีที่ท่านต้องการพิจารณาลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกในสัดส่วนดังกล่าวข้างต้น

Adblock test (Why?)


ติดตามตัวเลขการจ้างสัปดาห์นี้ พร้อมกระจายพอร์ตสินทรัพย์ทางเลือก - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...