Rechercher dans ce blog

Tuesday, June 29, 2021

นักวิจัยไขข้อสงสัย!! COVID-19 ไม่ติดต่อทางอาหาร - ประชาชาติธุรกิจ

การแกะรอยต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน และยังมีข้อถกเถียงในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ว่า เชื้อโควิด-19 อาจจะกระจายจากค้างคาวมาที่สัตว์ตัวกลางซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าคือสัตว์ประเภทใด หรืออาจจะเป็นสัตว์ที่อยู่ในตลาดอู่ฮั่นประเทศจีนที่เริ่มระบาดในช่วงแรก ซึ่งยังต้องสืบค้นกันต่อไปแต่ข้อมูลที่เชื่อกันว่าไวรัสนี้มาจากค้างคาวค่อนข้างชัดเจน

เชื้อโควิด-19 ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคน โดยติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจและแพร่เชื้อจากคนสู่คน ซึ่งการติดเชื้อวิธีนี้จะไม่มีผลต่อระบบทางเดินอาหารมากนัก แต่มีบางกรณีที่ไวรัสเข้าสู่ร่างกายและกระจายจากตำแหน่งทางเดินหายใจไปสู่ระบบทางเดินอาหาร โดยไวรัสมีการนำส่งจากปอดไปที่ลำไส้ผ่านทางกระแสเลือด ซึ่งไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหาร ขณะที่ ไวรัสที่ติดต่อผ่านระบบทางเดินอาหารจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจไม่ได้ และมีวิธีการเข้าสู่ร่างการแตกต่างกัน

จากกรณีประเทศจีนยกเลิกนำเข้าสินค้าปลาแซลมอนจากประเทศนอร์เวย์ หลังจากพบเชื้อโควิด-19 บนเขียงแล่ และต่อมามีการแพร่กระจายเชื้อในกรุงปักกิ่ง แท้ที่จริงแล้วสาเหตุที่ผู้ป่วยติดเชื้อไม่ได้มาจากการรับประทานปลา แต่เกิดจากการจับปลาแล้วความไม่ได้ระวัง ไม่ล้างมือให้สะอาด และเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการสัมผัสหน้าหรือป้ายตา ซึ่งเป็นช่องทางในการติดเชื้อที่สูงมาก ดังนั้น ต้องแยกแยะสาเหตุของการติดเชื้อ เพราะว่าการรับประทานโดยตรงไม่ก่อให้เกิดโรค แต่การสัมผัสไวรัสมีโอกาสเกิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีปริมาณไวรัสเยอะและไวรัสอยู่ในสถานที่เย็น จะคงทนอยู่ได้นานมากกว่าปกติ 

โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ทำการเก็บหลักฐานและตัวอย่างเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีครึ่งจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมายังไม่พบผู้ติดเชื้อจากการรับประทานอาหารโดยตรง นอกจากนี้ จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 กว่า 170 ล้านคนทั่วโลกขณะนี้ ยังไม่มีรายงานว่าติดเชื้อทางการรับประทานอาหารที่มาจากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 และทางการสัมผัสกับบรรจุภัณฑ์อาหาร ถึงแม้จะมีรายงานตรวจพบรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 บนอาหารทะเลเนื้อสัตว์แช่แข็งและบรรจุภัณฑ์อาหาร พบว่าส่วนใหญ่เป็นซากเชื้อ มีจำนวนก็น้อยมากไม่เพียงพอก่อโรคในคน

นอกจากนี้ “ความร้อน” สามารถทำลายเชื้อโควิด-19 ได้ เนื่องจากความร้อนทำให้สารพันธุกรรมชนิด RNA ไวรัสสลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ไวรัสหมดสภาพ ดังนั้น หากไวรัสอยู่ในความร้อนอุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส ต่อเนื่อง 30 นาที จะถูกทำลาย อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียสอยู่ได้ 5 นาที และอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หรือน้ำเดือด เชื้อจะอยู่ได้ประมาณ 10 วินาที 

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลจากงานวิจับพบว่าเชื้อโควิด-19 สามารถมีชีวิตรอด และส่งผ่านเชื้อได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นผิว เช่น พื้นผิวของทองแดง ไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 4 ชั่วโมง กระดาษลัง – พัสดุไปรษณีย์ สามารถมีชีวิตอยู่ได้ 24 ชั่วโมง พลาสติก – สแตนเลส อยู่ได้นานที่สุดคือ 72 ชั่วโมงหรือ 3 วัน แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ เชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่บนร่างกายได้นานเท่าไหร่คงจะเป็นสิ่งที่น่ากังวลมากกว่า เนื่องจากร่างกายคือจุดเริ่มต้นของการสัมผัสสิ่งต่างๆ ซึ่งมีการทดลองที่สามาถสรุปได้ว่าเชื้อโควิด-19 จะอยู่บนร่างกายได้ประมาณ 2-3 ชม. ดังนั้น จึงมีหลายประเด็นที่เปลี่ยนแปลงไปจากความเข้าใจของเชื้อโควิด-19 เมื่อปีที่แล้วว่าการติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสเข้าสู่ร่างกายคงจะเป็นประเด็นที่น้อยลง และโอกาสที่จะสัมผัสเอาปริมาณไวรัสมากๆเข้าสู่ร่างกายก็จะน้อยลงไปด้วย 

สำหรับการใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ พัสดุ พื้นผิวต่างๆก่อนสัมผัส ถือว่าเป็นการสร้างความตระหนักในตนเองว่าควรเพิ่มความระมัดระวัง ใส่ใจเรื่องความสะอาด แต่หากไม่ได้ใช้แอลกอฮอล์ก็ไม่ต้องวิตกกังวล นอกจากนี้ ควรรับประทานอาหารปรุงสุกเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ ส่วนอาหารดิบยังรับประทานได้ แต่ต้องมั่นใจว่าสด สะอาด ปลอดภัย แต่หากไม่รู้แหล่งที่มาหรือไม่มั่นใจในความสะอาดก็ไม่แนะนำให้บริโภค เนื่องจากยังมีเชื้ออื่นๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทั้งนี้ ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องเข้าใจเชื้อไวรัสว่าติดต่อทางใด เพื่อให้ปฏิบัติตนเองได้อย่างถูกวิธี

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

Adblock test (Why?)


นักวิจัยไขข้อสงสัย!! COVID-19 ไม่ติดต่อทางอาหาร - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...