Rechercher dans ce blog

Thursday, July 29, 2021

โคนมปรับตัวสู้เอฟทีเอ ข้าวโพดหมักทางรอดลดต้นทุน - ไทยรัฐ

การเปิดเสรีการค้าไทย-ออสเตรเลีย จะมีผลบังคับใช้ในปี 2564 นี้ ส่วนเอฟทีเอที่ทำกับนิวซีแลนด์จะมีผลบังคับใช้ในปี 2568

เกษตรกรไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้จะได้รับผลกระทบเต็มๆ โดยเฉพาะโคนม โคเนื้อ และผลิตภัณฑ์ ยิ่งเกษตรกรรายย่อย สายป่านไม่ยาว ทุนไม่หนาเหมือนรายใหญ่ จะทำอย่างไรเพื่อความอยู่รอดของเกษตรกรไทย โดยเฉพาะเรื่องของต้นทุน ที่เราเทียบกับ 2 ประเทศนี้แล้วแทบไม่เห็นฝุ่น

ข่าวแนะนำ

“ที่ผ่านมาแม้ภาครัฐจะมีการเตรียมตัวมาค่อนข้างนาน กระทั่งก่อตั้งกองทุนเอฟทีเอ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องหลัก คือ การตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในทุกเรื่อง หวังปั้นเกษตรกรให้เป็นสมาร์ทฟามเมอร์ โดยเฉพาะการเน้นถึงรูปแบบการให้อาหารผสมสำเร็จ (Total Mixed Ration, TMR) ที่มีมาตรฐานตรงตามความต้องการของโคแต่ละกลุ่ม เพื่อลดต้นทุนให้สู้กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ แต่สุดท้ายเมื่อทำสูตรอาหารได้จนถ่ายทอดสู่เกษตรกรแล้ว กลับไม่เคยเข้าไปตรวจสอบหรือทำอะไรต่อยอด โดยสรุปกองทุนเอฟทีเอยังไม่ตอบโจทย์ในเรื่องของวัตถุดิบ”

รศ.ดร.สมเกียรติ ประสานพานิช กรรมการสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย แนะหนทางที่จะตอบโจทย์ในเรื่องการลดต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์

ประการแรกทั้งภาครัฐและเกษตรกรต้องปรับทัศนคติตัวเองเสียใหม่ อย่ามองว่าเขามาแย่งตลาดหรือเป็นคู่แข่ง แต่ให้มองว่าเขาเข้ามาทำให้เราปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น เพราะอย่างไรเสียบ้านเราเลี้ยงโคนมมาแค่ไม่กี่สิบปี ส่วนเขาเลี้ยงกันมานับร้อยปี ถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น ฉะนั้น ขอให้มองว่า...เราต้องแข่งกับตัวเอง

ประการต่อมา พึงระลึกไว้เสมอ อยากได้น้ำนมวัวคุณภาพ วัวต้องได้กินอาหารดีมีคุณภาพ และกินให้อิ่มท้องทุกวัน ฉะนั้นในประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องเลี้ยงวัวนม จะมีฐานข้อมูลที่อัปเดตตลอด มีการคำนวณว่าวัวจำนวนเท่านี้ต้องใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เท่าไร ใช้พื้นที่ปลูกแค่ไหน รวมถึงควบคุมวัตถุดิบให้เพียงพอต่อความต้องการตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่ปลูกอะไรไม่ได้ ทำให้เขาควบคุมได้ทั้งปริมาณผลผลิต กลไกตลาด ต้นทุนการผลิต ซึ่งน่าจะนำไปใช้ได้กับผลผลิตการเกษตรทุกชนิด

นอกจากนี้ต้องเข้าใจเสียใหม่ อาหารข้นเป็นอาหารเสริม อาหารหยาบเป็นอาหารหลัก ซึ่งก็เป็นไปตามธรรมชาติของวัว ที่ส่วนใหญ่ใช้เวลาหากินตามทุ่งหญ้า แต่บ้านเรากลับเข้าใจตรงกันข้าม ไปเน้นอาหารข้นมากเกินไป ทั้งๆที่จริง วัวควรเลี้ยงด้วยอาหารหยาบ 60–70% ที่เหลือเป็นอาหารข้น หรืออย่างน้อยก็ครึ่งต่อครึ่ง

“ยิ่งให้อาหารข้นมากก็ยิ่งส่งผลเสีย เพราะตามหลักสัตว์ 4 กระเพาะต้องกินอาหารหยาบเป็นหลัก จึงดูดซึมเข้าระบบหมุนเวียนต่อไปได้ง่าย แต่การให้อาหารข้นมากๆ กระเพาะวัวจะเป็นกรด อาหารจะไม่ถูกย่อย จึงเกิดแก๊สสะสมในกระเพาะวัว ทำให้วัวท้องอืด ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาจป่วยหรือตายได้ ที่สำคัญมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้วัวท้องช้าลง”

ดร.สมเกียรติ บอกว่า การให้อาหารหยาบมากกว่าอาหารข้น อาจได้น้ำนมลดลงเล็กน้อย แต่ก็ประหยัดต้นทุนค่าอาหารโดยอาหารข้น กก.ละ 10-14 บาท แต่อาหารหยาบอย่างใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งต้นหมัก กก.ละ 2-3 บาท ได้เปอร์เซ็นต์ไขมันเพิ่ม ทำให้ได้ราคาเพิ่ม

สำหรับอาหารหยาบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากการทดลองร่วมกันระหว่างสหกรณ์โคนมกำแพงแสน จำกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม ตามโครงการพัฒนาส่งเสริมการใช้นวัตกรรมทางการเกษตร เมื่อปี 2562 พบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อายุ 85–90 วัน ที่ตัดทั้งต้นแล้วนำมาหมัก มีศักยภาพสูงกว่าข้าวโพดอ่อนทั้งฝักหมัก ที่กำลังนิยมทำกันในขณะนี้ เพราะมีค่าโปรตีนเหมาะสมกับจุลินทรีย์ที่ย่อยเยื่อใยในกระเพาะวัว และในฝักที่เกือบแก่ยังมีค่าพลังงานเหมาะสม ไขมันสูงถึง 4% แทบไม่ต่างจากอาหารข้น

“ในข้าวโพดฝักอ่อนมีค่าโปรตีน พลังงาน ไขมัน น้อยกว่าข้าวโพดอายุ 85-90 วันที่ตัดทั้งต้น เพราะข้าวโพดฝักอ่อนจะมีแต่ต้นกับใบ ทำให้ต้องเพิ่มกากเต้าหู้เป็นอาหารเสริมให้วัวกินอีกเฉลี่ยตัวละ 8 กก. ทำให้มีต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตนม 1 กก. เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 1 บาท ที่สำคัญการนำข้าวโพดอายุ 85-90 วันทั้งตันมาเป็นอาหาร วัวจะได้กินทั้งต้น ใบ ฝัก ทำให้ผลิตนมได้มากขึ้น เปอร์เซ็นต์ไขมันสูงถึง 4.9% น้ำนมมีกรดไขมันอิ่มโอลิอิค หรือโอเมก้า 9 มาก ทำให้ผู้บริโภคดื่มคล่องคอ กลิ่นหอมมากขึ้น เมื่อเราได้น้ำนมคุณภาพ อันดับต่อไปพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น เพื่อเป็นอีกทางเลือก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในยุคการค้าเสรี.”.

กรวัฒน์ วีนิล

Adblock test (Why?)


โคนมปรับตัวสู้เอฟทีเอ ข้าวโพดหมักทางรอดลดต้นทุน - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...