Rechercher dans ce blog

Monday, July 26, 2021

ศาลอาญาเปิด ให้พิจารณาคดีทาง "ออนไลน์" - ไทยรัฐ

โฆษกศาลยุติธรรมแจง ศาลอาญาเปิดพิจารณาคดีอาญาทางออนไลน์ช่วง วิกฤติโควิด ทั้งไต่สวนมูลฟ้องและกระบวนการอื่นๆในชั้นศาล แต่ยังคงเป็นการพิจารณาเปิดเผยถ่ายทอดเสียงและภาพเหมือนภาวะปกติ ส่วนคดีแพ่งให้ใช้รูปแบบการพิจารณาคดีทางออนไลน์ตามความเหมาะสมของผู้เกี่ยวข้อง

ศาลอาญาเน้นออนไลน์ช่วงวิกฤติโควิด เมื่อวันที่ 26 ก.ค. นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า การบริหารจัดการคดีของศาลยุติธรรมในช่วงระยะเวลานี้เพื่อป้องกันการเดินทางพบปะสัมผัสใกล้ชิดในสถานที่แออัดปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขโดยศาลยุติธรรมคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนมากที่สุด สำหรับในส่วนของคดีอาญานั้น เนื่องจากกฎหมายกำหนดวิธีพิจารณาและการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยแตกต่างจากคดีแพ่งการพิจารณาคดีอาญาทาง “ออนไลน์” ทำได้ในกรณี 1.คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองไม่ผ่านพนักงานอัยการ การไต่สวนมูลฟ้องให้ดำเนินการทางออนไลน์ได้ ส่วนผู้ถูกฟ้องยังไม่ตกอยู่ในฐานะจำเลยมีสิทธิขอฟังการพิจารณาหรือถามค้านพยานผ่านทางออนไลน์ได้เช่นกัน 2. กรณีที่จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เป็นคดีที่มีกฎหมายกำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ถ้าจำเลยถูกคุมขังระหว่างพิจารณาและเรือนจำไม่สามารถเบิกตัวมาศาลสามารถสืบพยานทางออนไลน์ได้ 3.กรณีอื่นๆ ถ้าจำเลยยินยอมและศาลเห็นสมควรก็อาจพิจารณาให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาทางออนไลน์ได้ โดยจำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีเต็มที่และถึงแม้เป็นการพิจารณาคดีทางออนไลน์ แต่ยังคงเป็นการพิจารณาที่เปิดเผย โดยทุกศาลจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงการพิจารณาคดีทางออนไลน์ เหมือนการพิจารณาคดีของศาลตามปกติ

ข่าวแนะนำ

“แม้ว่าสถานการณ์จะรุนแรงแต่ภาระหน้าที่ตามกฎหมายที่ศาลจะต้องดำเนินการยังมีอยู่และไม่อาจปิดทำการศาลยุติธรรมทั่วประเทศได้ ดังนั้นงานออกหมายจับ หมายค้น ผัดฟ้อง ฝากขัง พิจารณาพิพากษาคดีที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้ไม่อาจเลื่อนออกไปได้ งานส่วนนี้ศาลได้ดำเนินการมาโดยตลอด เพียงแต่จะบริหารจัดการให้สอดคล้องต่อสภาพความเป็นจริงเพื่อให้ความปลอดภัยและความยุติธรรมก้าวเดินไปพร้อมกัน” นายสุริยัณห์กล่าว

นอกจากนี้ นายสุริยัณห์ยังกล่าวถึงในส่วนคดีแพ่งว่า ให้ปฏิบัติตามมาตรการ ดังนี้ 1.การตั้งต้นคดี เช่น ยื่นคำฟ้อง คำร้อง คำขอหรือเอกสารต่างๆ สามารถดำเนินการผ่านระบบทางออนไลน์ของศาลยุติธรรมได้ คือ ระบบอีไฟล์ลิ่ง (e-Filing) และระบบซีออส (CIOS) ตั้งแต่ศาลชั้นต้นไปจนถึงชั้นอุทธรณ์และฎีกา 2.การมาขึ้นศาลเพื่อไต่สวนหรือสืบพยาน ถ้าคู่ความทุกฝ่ายพร้อมสามารถใช้วิธีการทางออนไลน์ในการพิจารณาคดีแทนการมาศาลได้ตามระบบที่ประสานกับศาลยุติธรรมที่มีอำนาจเหนือคดีนั้น สามารถใช้วิธีพิจารณาออนไลน์ได้ทุกคดี 3.ถ้าคู่ความไม่พร้อมที่จะใช้วิธีการทางออนไลน์และศาลเห็นว่าปลอดภัยก็ให้ดำเนินคดีโดยคู่ความและผู้เกี่ยวข้องมาศาลตามปกติได้ ถ้าเห็นว่าไม่ปลอดภัยก็จะเลื่อนคดีออกไปก่อนหรือใช้วิธีการทางออนไลน์กับฝ่ายที่มีความพร้อม ส่วนฝ่ายที่ไม่มีความพร้อมก็ให้มาดำเนินการที่ศาลแพ่งหรือศาลที่มีอำนาจตามปกติ

Adblock test (Why?)


ศาลอาญาเปิด ให้พิจารณาคดีทาง "ออนไลน์" - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...