สำหรับเด็ก Gen Z ที่ใฝ่ฝันอยากเรียนแพทย์ ยังคงมีทางเลือกอื่นนอกจากการเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยตามปกติหลังจบมัธยมปลาย เพราะสามารถเลือกสมัครเรียนปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ จากนั้นจึงสมัครเข้าเรียนต่อยังคณะแพทยศาสตร์ ทั้งในไทยและต่างประเทศ
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) บอกกับเราว่า
“จริงๆหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพของเรา จะคล้ายคลึงกับโรงเรียนเตรียมแพทย์ เพราะนอกจากจะสอน General Education หรือ GE แล้ว วิชาเมเจอร์จะมี Biology เป็นแกนหลัก สอนตั้งแต่ Molecular, Genetic, Cell, Organic Chemistry ฯลฯ และวิชาเลือกที่เกี่ยวกับแพทย์แทรกอยู่มาก เรียกว่าอะไรที่เป็นความรู้ทางด้านเตรียมแพทย์เราสอนหมด
“วิชาเมเจอร์จะถูกกำกับด้วย IDesign Course ที่เด็กสามารถเลือกเรียนได้เลย ยกต.ย.เช่นถ้าเขาเรียนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพราะอยากเรียนแพทย์ ซึ่งก็ต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดีมาก และเขาอาจจะเลือกเรียนไมเนอร์ทาง Psychology ได้ด้วย หรือหากเกรงว่าจะเรียนหนักไป ก็สามารถเรียนคอร์สสั้นๆ เพื่อรับ Certificate ได้อีกเช่นกัน
“เด็กของเราบางคนอยากเรียน Data Science และเราไม่ได้สอน ทว่ามหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์ในต่างประเทศของเราบางแห่งเก่งเรื่องนี้มาก เขาสามารถบินไปเรียนวิชานี้ที่นั่น และกลับมาจบที่เราได้”
นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถเลือกเรียนกลุ่มวิชาที่เรียกว่า 21st Century Skills อาทิเช่น Life Appreciation, Digital Literacy, Health & Wellness, Critical Thinking ที่ทางวิทยาลัยเพิ่มเข้ามา เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตจริงได้
“เพราะเราเชิญอาจารย์พิเศษจากศิริราชและที่อื่นอีกหลายท่าน ดังนั้นอาจารย์หมอเหล่านี้ก็จะแทรกมุมมองแพทย์มาสอนนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Community Health, Medical Micro Biology เด็กของเราจะได้ไอเดียเยอะมาก และมีเวลาไตร่ตรองว่าอยากเรียนหมอจริงหรือเปล่า
“ถ้าไม่อยากเป็นหมอเขาก็มีทางเลือกอีกมาก เพราะเราก็มีโครงการร่วมกับหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์นานาชาติของมหิดลด้วย และเรากำลังจะมีโครงการร่วมอีกสองสามแห่ง หรือออกไปทำงานบริษัทยา หรือเป็นครูสอนวิชาชีววิทยาหรือวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนนานาชาติก็มาก”
ก้าวเข้าสู่แพทยศาสตร์
นักศึกษาที่จบสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว และมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นหมอ ก็สามารถสมัครเข้าเรียนต่อที่ CU-MEDi จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 4 ปี
เนื่องจากทาง MUIC ลงนาม MOU กับทาง CU-MEDi ด้วย “เราเรียกว่า Preferred Application Process อย่างเดียว ไม่มีโควต้า แต่เป็นการทำความเข้าใจกันว่า จะพิจารณาใบสมัครของนักศึกษา MUIC เป็นพิเศษ เพราะเขารู้ถึงคุณภาพการเรียนการสอนของเรา
“แต่แน่นอนว่าคะแนน GPA และ MCAT ต้องดี และต้องเป็นเด็กที่เรียนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ”
นอกจากนี้ยังสามารถเรียนต่อยังคณะแพทยศาสตร์ที่ Duke-NUS Medical School ที่สิงคโปร์ Monash University และ University of Sydney ที่ออสเตรเลีย รวมทั้ง St.George’s University, Grenada Campus ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาเรียน 4 ปี
Pathway to SGU
สำหรับ St.George’s University เป็นโรงเรียนแพทย์เอกชนที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา แต่ทำการสอนที่แคมปัสในเกรนาดา
“เหตุผลที่ต้องเรียนที่เกรนาดา ก็เพราะโรงเรียนแพทย์เอกชนในอเมริกาไม่สามารถรับนักเรียนที่ไม่ใช่พลเมืองอเมริกันหรือมีกรีนการ์ดเข้าเรียน เด็กต่างชาติจึงต้องไปเรียนที่แคมปัสนอกประเทศ SGU จึงไม่ติดอันดับใน ranking โรงเรียนแพทย์ของโลกใดๆเลย เพราะไม่ใช่มหาวิทยาลัยเต็มรูปแบบ แต่ถ้าหากถามหมอในอเมริกาว่าจบแพทย์จากที่ไหน จะเจอ SGU เต็มเลย
“ซึ่งเขาต้องการรับนักศึกษาชาวเอเชียที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษสูง
โดยให้ทุนนักศึกษาเราที่เรียนดีเป็นพิเศษปีละ 5 คน ลดค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตรจาก 4 ล้านบาท เหลือล้านกว่าบาท”
ทั้งนี้ยังเปิดกว้างให้เด็กปี 1 สามารถเรียน Pre-Clinic ที่ Newcastle University ในอังกฤษได้ ปี 2 จึงเรียนที่ SGU และปี 3-4 สามารถเลือกขึ้นวอร์ดที่อเมริกาหรืออังกฤษก็ย่อมได้
“ข้อดีของโครงการนี้คือ นักศึกษาจาก MUIC ที่ไม่ใช่เด็กไทย ไม่สามารถเรียนแพทย์ในไทยต่อได้ ก็อาจเลือกโครงการนี้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีมาก ถึงขนาดเด็กไทยจำนวนมากอยากเรียน เพื่อจะได้ต่อ Residency และ Fellowship ที่อเมริกาได้”
นับว่าเป็นทางเลือกที่ไม่เพียงน่าสนใจ ทว่ายังจับต้องได้ ทางรศ.พญ.จุฬธิดายังเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์ใหม่ในต่างประเทศอีกแห่งของ MUIC ก็คือ Macquarie University ที่ออสเตรเลีย ก็รับ Preferred Application Process ด้วยเช่นกัน นักเรียนที่อยากมีทางเลือกมากขนาดนี้ สามารถสมัครเรียนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพได้ทาง FB หรือ website โดยเปิดรับปีละ 4 ครั้งด้วยกัน
อีกทางเลือกสู่การเป็นแพทย์นานาชาติ - Hello Magazine
Read More
No comments:
Post a Comment