การบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ของไทยไม่แพ้ประเทศใดในโลก
ในมุมมองของ “รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส” กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ระบุว่า หากถามคนในอาเซียน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศใกล้ ๆ เรา เช่น เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา เกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา ก็จะบอกว่าประเทศไทยจัดการได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทั้งการควบคุม การติด การรักษาพยาบาล จำนวนคนที่ป่วย
ส่วนปี 2564 นี้ สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่นี้เป็นช่วงน่ากังวล ในมุมมองของสหรัฐอเมริกา หรือประเทศฝั่งยุโรป ปี 2563 ไทยเป็นที่น่าอิจฉา สำหรับประเทศจีนที่บริหารจัดการโควิด-19 ได้ดีมาก เขาก็มองว่าเราบริหารจัดการได้ดี ขณะที่ญี่ปุ่นมองว่าไทยก็ทำได้ดี มีจำนวนคนติดน้อย ในมุมเศรษฐกิจ ทำได้ดี
แต่ช่วงหลังสถานการณ์โควิดเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเข้ามาทุกที จำนวนคนติดเชื้อเยอะในรูปแบบคลัสเตอร์ ทำให้ระบบสาธารณสุขกำลังจะเริ่มรองรับไม่ไหว จึงต้องดูว่าจากวันนี้จนถึงสิ้นปี การบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร
ขณะเดียวกัน ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมได้เริ่มต้นที่ตัวเรา ตั้งการ์ดสูง-การ์ดอย่าตก ยังใช้ได้ผลและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคระบาด
ทางรอด “นวัตกรรม+รวดเร็ว”
รัฐบาลและเอกชนต้องทำงานร่วมกัน ไม่ใช่เฉพาะในภาวะวิกฤต แต่ต้องร่วมกันระดมสมอง ความคิด ความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ควบคู่กับการรับฟังความเห็นของประชาชน เพื่อการดำเนินมาตรการต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง
ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา เอสซีจีได้ร่วมมือกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ พัฒนาและออกแบบนวัตกรรมที่รวดเร็ว ทำงานแข่งกับเวลา ที่เหมาะกับความต้องการของสังคมแต่ละช่วงเวลา ปัจจุบันมีนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 รวมกว่า 30 นวัตกรรม ส่งมอบไปยังโรงพยาบาล หน่วยงาน และชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 1,500 แห่งทั่วประเทศ
ระยะเริ่มแรกของการแพร่ระบาดที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อไม่มาก เอสซีจีมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม เพื่อปกป้องหมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อที่มาจากการตรวจและคัดกรองผู้ป่วย เช่น นวัตกรรมห้องตรวจหาเชื้อ (swab unit) ห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ (negative/positive pressure isolation chamber)
แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ (patient isolation capsule) แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT scan (small patient isolation capsule for CT scan)
ส่งมอบ 50,000 เตียงกระดาษ
เมื่อผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น จึงได้พัฒนานวัตกรรมห้องไอซียูโมดูลาร์ ที่ต่อยอดจากเทคโนโลยี building information modeling (BIM) ที่นำ construction technology จำนวน 60 เตียง คิดเป็น 10% ของเตียงไอซียูทั้งประเทศ นวัตกรรม modular swap and testing units ทั้งหมดจำนวน 70 ยูนิต
รวมถึงนวัตกรรมเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี ที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล 100% ส่งมอบให้โรงพยาบาลสนามทั่วประเทศกว่า 50,000 เตียง
และนวัตกรรมห้องน้ำสำเร็จรูป สำหรับโรงพยาบาลสนามที่ขาดแคลนกว่า 70 แห่ง ที่ผลิตและติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว ทนทาน ปลอดภัย ทำความสะอาดได้ง่าย ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อ
นอกจากนี้ยังได้เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนเอกชนนอกโรงพยาบาล ซึ่งเอสซีจีก็เป็นหนึ่งใน 25 ศูนย์ หากการจัดหาวัคซีนทำได้เร็ว การฉีดวัคซีนให้ประชาชนก็จะทำได้เร็วขึ้นด้วย เพราะมีความพร้อมทั้งด้านสถานที่ และความชำนาญของเจ้าหน้าที่
เทรนด์สุขอนามัย-อีเซอร์วิส
นวัตกรรมเพื่อสุขอนามัยที่ดี นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และ e-Service ยังเป็นเทรนด์โลกที่คนไทยสนใจและโตได้ต่อเนื่อง
โควิด-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ใส่ใจเรื่องสุขภาพและความสะอาดมากขึ้น เราจะใช้จ่ายสินค้าที่มีผลต่อความสะดวกสบายและสุขภาพ ซึ่งเป็นเทรนด์ new normal ที่ชัดเจน ดังนั้น สินค้าและบริการด้านสุขภาพและความปลอดภัยจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคุ้นเคยกับการซื้อ-ขายออนไลน์มากขึ้น พ่อค้า-แม่ค้า หรือแม้แต่ร้าน street food ก็ใช้การโอนเงินออนไลน์ สังคมเป็น cashless หรือไม่ใช้เงินสด ทำให้เห็นว่าผู้บริโภคพร้อมที่จะเปิดรับบริการในลักษณะนี้ ดังนั้น เทคโนโลยีดิจิทัลที่ครอบคลุมเรื่องการสั่งซื้อของออนไลน์ หรือบริการต่าง ๆ ที่เป็น e-Service ก็จะเติบโตได้ดีเช่นกัน
บริหารน้ำ-เกษตรสมัยใหม่
ส่งเสริมการเกษตรควบคู่การบริหารจัดการน้ำ ช่วยคนว่างงานคืนถิ่น
ในช่วงที่ผ่านมา SCG ได้เห็นว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่เคยอยู่ในธุรกิจบริการและต้องกลับบ้านในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มคนเหล่านี้มีความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี ที่นำความรู้นี้ไปทำการเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการเกษตรที่ตอบโจทย์ตลาด ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ตลอดจนส่งเสริมเรื่องการขายออนไลน์
หากทำควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร จะช่วยให้เศรษฐกิจบ้านเราหลังจากสองปีไปแล้วจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น และจะเป็นการเปลี่ยนโครงการของการเกษตรของประเทศ
ลงมือทำ-ประเทศรอดวิกฤต
เอสซีจีเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และส่วนหนึ่งของความร่วมมือเพื่อช่วยประเทศรอดวิกฤต เพราะตระหนักว่าเราจะพ้นจากมหาวิกฤตนี้ได้ เราต้องร่วมมือกัน เอสซีจีเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของประเทศไทย
“ผมอยากเห็นเอสซีจีเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือ แม้ว่าเราจะฉีดวัคซีนได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ แต่หากกลับใช้ชีวิตเหมือนเดิม การ์ดตก สักพักวิกฤตก็จะกลับมาอีก ผมคิดว่านี่เป็นบทเรียนจากที่เราเคยการ์ดตก เราจะนำเหตุการณ์นี้มาเป็นบทเรียน ทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องทำ ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบที่จะมีส่วนร่วมกับประเทศ เป็นสปิริตของความร่วมมือที่จะทำให้สังคมก้าวไปข้างหน้าได้”
SCG แสวงทางรอดธุรกิจ ในวิกฤตโควิด-19 - ประชาชาติธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment