Rechercher dans ce blog

Thursday, August 5, 2021

เจาะแผนรับผู้ป่วย กทม. พลิกทางรอดวิกฤติ 'โควิด' - กรุงเทพธุรกิจ

5 สิงหาคม 2564

51

เมื่อทุกตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ขณะนี้ อยู่บนเดิมพันทุกวินาทีจากหน่วยงานภาครัฐ

จากตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ในกรุงเทพฯ สะสมมากที่สุดในประเทศง 169,989 ราย ตลอดการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ 1 เม..- 4 ..2564 กำลัง "ยกระดับ" สถานการณ์วิกฤตทุบสถิติยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดของประเทศเพียงวันเดียวมากถึง 20,920 คน

จากกลไกที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) กำลังเร่งปรับ "ช่องทาง" นำเข้าระบบรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 นอกจากโรงพยาบาลหลักทั้ง 8 แห่ง โรงพยาบาลสนามและฮอสพิเทลรวมทั้งหมด 9 แห่ง รองรับผู้ติดเชื้อทั้งหมดได้ 2.7 พันเตียง

แต่จากยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ กทม.ได้ปรับแผนเพื่อนำผู้ป่วยโควิด-19 เข้าระบบรักษาใน 2 รูปแบบเพิ่มเติม สำหรับแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation : HI) และแยกกักในชุมชน (Community Isolation : CI) หรือ "ศูนย์พักคอย"

แต่ในขั้นตอนก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา "แยกกักตัวที่บ้าน" นั้น กทม.ได้เปิดช่องทางติดต่อไว้ 3 ส่วน 1.สายด่วน สปสช. 1330 ซึ่งเป็นหมายเลขกลาง 2.สายด่วนโควิด 50 เขต เขตละ 20 คู่สาย และ 3.ช่องทาง web application โดยการสแกนผ่าน QR code ซึ่งระบบจะลงบันทึกข้อมูลผ่าน web portal ของ "สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือ สปสช.

162814143284

โดยระบบจะ "จับคู่" หน่วยบริการอัตโนมัติ และส่งไปให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข หรือคลินิกอบอุ่นที่อยู่ใกล้บ้านของผู้ป่วยรายนั้นโดยที่ศูนย์บริการสาธารณสุขจะตอบรับผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมประเมินว่าเป็นเป็นกลุ่มผู้ป่วย "เขียว-เหลือง-แดง"

หากเป็นกรณีที่เป็น "สีเขียว" กทม.จะนำเข้าระบบ "แยกกักตัวที่บ้าน" แต่หากที่บ้านไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้าน ได้จะส่งต่อไป "แยกกักในชุมชน" แต่หากประเมินแล้วเป็นกลุ่ม "สีเหลือง" หรือ "สีแดง" กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำระบบ "Bed Management Center" โดยทำการหา "เตียงที่ว่าง" เพื่อส่งต่อผู้ป่วยใน 2 กลุ่มนี้โดยเร็ว

ขณะที่การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 ศูนย์เอราวัณ 1669 จะทำหน้าที่ดูแลรถรับส่งผู้ป่วยในภาพรวมมี "เซ็นเตอร์" ตั้งอยู่ที่อาคารธานีนพรัตน์ชั้น 27 ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง โดยทีมสำนักอนามัย สำนักการแพทย์ และกรมการแพทย์ ประสานงานร่วมกันทุกวัน

ไม่ใช่แค่นั้นแต่ "สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ" หรือ สวทช. และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร.ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของระบบรัฐบาลดิจิทัล ได้พัฒนาโปรแกรม "BKK HI/CI care" ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อให้ทีมแพทย์ติดต่อคนไข้ผ่านทาง LINE OA เพื่อสอบถามอาการป่วยในแต่ละวัน

แต่ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟน จะมีเอกสารคำแนะนำส่งถึงบ้าน อาทิ วิธีการวัดไข้ วัดออกซิเจน เอกสารเพื่อบันทึกอาการ โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข ตำรวจนครบาล จิตอาสาพระราชทาน ส่งยาให้ผู้ป่วย จากหน่วยบริการในกรุงเทพฯ ประมาณ 238 แห่ง รองรับผู้ป่วยประมาณ 8 หมื่นถึง 1 แสนคน 

ส่วนการจัดส่งอาหารให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ "แยกกักตัวที่บ้าน-ชุมชน" ตั้งแต่วันที่ 29 ..2564 สมาคมภัตตาคารไทย และเดลิเวอร์รี่ Skootar ร่วมมือจัดส่งยา อุปกรณ์แรกรับ โดยเฉพาะการส่งอาหารแต่ละประเภท อาทิ อาหารฮาลาล สำหรับชาวมุสลิม อาหารมังสวิรัติอาหารสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจะ "ปรับแผน" ให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายครอบคลุมทั้ง 50 เขต

ขณะที่การดำเนินงาน "ศูนย์แยกกักในชุมชน" หรือ "ศูนย์พักคอย" ถูกกำหนดเป็นสถานที่แยกผู้ติดเชื้อโควิค-19 ที่มีอาการไม่มากหรือไม่แสดงอาการ แต่ประเมินแล้วว่าไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ให้มาพักในศูนย์พักคอย เพื่อรอการนำส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรง โดยแบ่งประเภทศูนย์พักคอย 85 แห่ง ดังนี้

1.ศูนย์พักคอย กทม.ร่วมกับหน่วยงานภาคี (Community Isolation : CI) 55 แห่ง

2.ศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม (Community Isolation plus : CI plus) 7 แห่ง

3.ศูนย์พักคอยโดยภาคประชาชน (Semi Community Isolation) 19 แห่ง

4.ศูนย์พักคอยโดยหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม 4 แห่ง

5.ศูนย์พักคอยในองค์กรเพื่อรองรับเฉพาะบุคคลในองค์กร (Organizational Isolation) 2 แห่ง

162814151657

ล่าสุด กทม.จัดตั้งศูนย์พักคอยฯทั้งหมด 62 แห่งทั้ง 50 เขตเปิดบริการแล้ว 47 แห่ง ครอบคลุม 6 โซนกรุงเทพฯ รองรับผู้ป่วย 9,038 เตียง ประกอบด้วย

1.กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ 11 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,855 เตียง

2.กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง 11 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,130 เตียง

3.กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ 11 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,411 เตียง

4.กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก 9 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,323 เตียง

5.กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ 9 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 836 เตียง

6.กลุ่มเขตกรุงธนใต้ 11 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,371 เตียง

ส่วนยอดตัวเลขรับวัคซีนโควิด-19 อัพเดต 5 ..2564 "กรุงเทพธุรกิจ" ตรวจสอบพบว่ามีผู้รับวัคซีน "เข็มแรก" อยู่ที่ 39,251 รายสะสมผู้ได้รับเข็มแรก 4,087,952 ราย และผู้รับวัคซีน "เข็มสอง" อยู่ที่ 10,235 ราย สะสมผู้ได้ครบสองเข็มอยู่ที่ 1,136,495 ราย

เมื่อตรวจสอบจากยอดประชากรในกรุงเทพฯ ตามทะเบียนราษฎร์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 7,699,174 คน ดังนั้นเป้าหมายสำคัญที่ กทม.ต้องการฉีดวัคซีนให้ได้ 70 % ของจำนวนประชากร เพื่อให้เกิดภูมิต้านทานหมู่จะต้องอยู่ที่ 5,389,422 คน

เมื่อทุกตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ขณะนี้ อยู่บนเดิมพันทุกวินาทีจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อดึงกราฟผู้ติดเชื้อที่ไต่เพดานให้ลดลงมาโดยเร็วที่สุด.

162814162847

Adblock test (Why?)


เจาะแผนรับผู้ป่วย กทม. พลิกทางรอดวิกฤติ 'โควิด' - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...