Rechercher dans ce blog

Friday, August 6, 2021

ทางเลือกใหม่ - ไทยรัฐ

มีอาหารเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถกระตุ้นความรู้สึก ยินดี ที่ได้ลิ้มลองและ รังเกียจ ได้ในเวลาเดียวกันได้ อย่าง “ฟัวกราส์” หรือ “ตับอ้วน” อาหารจานหรูเลิศรสของฝรั่งเศส ด้วยเนื้อสัมผัสที่นุ่มนวลละมุนลิ้น อุดมด้วยไขมัน และรสชาติที่เข้มข้นแตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา ที่มีเบื้องหลังความโอชะจากความโหดร้าย

ห่านจะถูกบังคับให้กินอาหารปริมาณมากด้วยการยัดอาหารโดยสอดท่อขนาดใหญ่ลงในคอจนถึงกระเพาะ แล้วเติมอาหารลงไปตามท่อ และบังคับให้อยู่ที่แคบจนทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกายและในตับที่ขยายใหญ่ จากนั้นจึงนำไปเชือดเป็นวัตถุดิบต่อไป ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นวิธีการอันป่าเถื่อน หลายสิบประเทศห้ามผลิตแล้ว ในปีหน้านครนิวยอร์กเตรียมปฏิบัติตามแคลิฟอร์เนียห้ามขายเมนูดังกล่าวในร้านอาหาร ขณะที่อังกฤษกำลังพิจารณาห้ามนำเข้า แม้แต่ในฝรั่งเศสก็มีประชาชนจำนวนไม่น้อยแสดงความคิดเห็นขอหลีกเลี่ยงเมนูนี้หากเลือกได้

ข่าวแนะนำ

Gourmey บริษัทสตาร์ทอัพในกรุงปารีส ของฝรั่งเศสได้ระดมทุน 8.5 ล้านยูโร จากนักลงทุนในยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงธนาคารเพื่อการลงทุนสาธารณะของฝรั่งเศส เพื่อเสนอทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ “ใส่ใจ” ต่อ “สัตว์และสิ่งแวดล้อม” โดยสร้าง ฟัวกราส์ในห้องแล็บ จากสเต็มเซลล์ของเป็ดที่เก็บจากไข่ที่ปฏิสนธิเพียงฟองเดียว จากนั้น จึงเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง และให้สารอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณตามต้องการ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์จากเซลล์ ปัจจุบันมีบริษัทสตาร์ทอัพ กว่า 70 แห่งทั่วโลกใช้วิธีการดังกล่าวในการผลิตเนื้อหมู เนื้อจิงโจ้ ไปจนถึงเนื้อปลาทูน่า เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำปศุสัตว์

ความท้าทายในการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในห้องแล็บคือการสร้างเส้นใยและเนื้อสัมผัส ซึ่งทำให้มีราคาสูงกว่าเนื้อธรรมชาติ แต่สำหรับฟัวกราส์จากห้องปฏิบัติการนั้นมีราคาเท่ากับผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม ขณะที่สื่อและเชฟในฝรั่งเศสที่ได้ชิมต่างเผยว่า ฟัวกราส์จากห้องแล็บมีคุณภาพดีมากอย่างน่าทึ่ง นุ่มและละเอียดอ่อนด้วยรสชาติและกลิ่นที่แยกไม่ออกจากฟัวกราส์คุณภาพสูง และละลายในปากอย่างที่ควรจะเป็น แม้จะถูกต่อต้านจากกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฟัวกราส์ของฝรั่งเศส และโต้ว่าไม่มีสิทธิ์เรียกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่าฟัวกราส์ก็ตาม ซึ่งก็คงต้องให้ผู้บริโภคตัดสินว่าจะเลือกแบบไหน.

อมรดา พงศ์อุทัย

Adblock test (Why?)


ทางเลือกใหม่ - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...