Rechercher dans ce blog

Monday, September 27, 2021

ช่องทางช่วยเหลือ - ไทยรัฐ

การมีองค์การระหว่างประเทศ ถือเป็นข้อดีประการหนึ่ง เวลาเกิดวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม เพราะสามารถส่งความช่วยเหลือเข้าถึงพื้นที่ได้ก่อนใคร ต่างกับความช่วยเหลือจาก “ประเทศใดประเทศหนึ่ง” ที่มักจะมีสมการทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง

อย่างกรณี “อัฟกานิสถาน” ที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์ความไม่มั่นคง และการพลัดถิ่น คล้อยหลังกลุ่มตาลีบันเข้าครองอำนาจเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา และทำให้นานาชาติประเทศโดยเฉพาะชาติพันธมิตรตะวันตก อยู่ระหว่างการพิจารณา “หาท่าทีร่วม” ว่าจะดำเนินการเช่นไรต่อไปกับรัฐบาลตาลีบัน

เพราะขณะที่หลายฝ่ายยังคงลังเลอยู่นั้น เมื่อสัปดาห์ก่อน ฟิลลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ลุยไปในอัฟกานิสถาน ลงพื้นที่ พร้อมหารือกับ “รัฐบาลรักษาการ” เรื่องการมอบความช่วยเหลือแก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ทั้งเปิดประเด็นล่อแหลม (สำหรับตาลีบัน) ย้ำการกลับมาทำงานของเจ้าหน้าที่หญิง ความสำคัญของการศึกษาสำหรับเด็กอัฟกานิสถาน ไปจนถึงความปลอดภัยของกลุ่มชาติพันธุ์

ข้อมูลจากสหประชาชาติ พบว่า มีชาวอัฟกันมากกว่า 18 ล้านคนต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วนอยู่แล้ว ในจำนวนนี้หลายล้านคนพักพิงอยู่ในปากีสถานและอิหร่าน นอกจากนี้ ยังมีอีกกว่า 3.5 ล้านคนในอัฟกานิสถาน ที่พลัดถิ่นต้องหลบหนีออกจากภูมิลำเนาเดิมเนื่องจากความขัดแย้ง ในจำนวนนี้ 630,000 คน เป็นผู้พลัดถิ่นรายใหม่ จากการสู้รบและความรุนแรงในปีนี้

โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นในอัฟกานิสถานแล้วมากกว่า 300,000 คน ด้วยสิ่งของบรรเทาทุกข์และเงินช่วยเหลือในปีนี้ แต่ปัญหาคือต้องเร่งทำงานเพื่อช่วยเหลือเพิ่มให้ได้มากที่สุด ก่อนที่หน้าหนาวกำลังจะมาถึง พร้อมเปิดตัวโครงการผลิตพรม ว่าจ้างคนงาน 45 คน ที่ต้องดูแลสมาชิกครอบครัวหลายร้อยคน ที่เมืองมาซาร์ ชารีฟ ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน

พร้อมย้ำความมุ่งมั่นว่า UNHCR ยังคงอยู่ในพื้นที่ต่อไปเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากวิกฤติในอัฟกานิสถาน แต่แน่นอนอุปสรรคคือเรื่องเงินทุนสนับสนุน (ที่น้อยนิดนัก เมื่อเทียบกับงบทางการทหารของชาติต่างๆ)...ซึ่งกรณีนี้ ทุกท่านสามารถปันน้ำใจช่วยชาวอัฟกันที่เปราะบางได้ที่ unhcr.org/th

ตุ๊ ปากเกร็ด

Adblock test (Why?)


ช่องทางช่วยเหลือ - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...