ลุ้น “จุรินทร์” รับฟังความเห็นเอกชนร้องคณะกรรมการทุ่มตลาดฯ “รื้อเอดี”เหล็กกระป๋อง “ทินแพลต” นำเข้าจาก 4 ประเทศ อุ้มอุตฯอาหารกระป๋องส่งออก7 พันล้านเหรียญ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนและกระทรวงพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ภาคเอกชนประสบปัญหาเรื่องต้นทุนในการผลิตกระป๋อง
ส่งผลกระทบต่อการส่งออก สินค้ากลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วน 3% หรือประมาณ 6,900 ล้านของการส่งออกภาพรวม 231,468 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเมื่อตรวจสอบไปแล้วพบว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรามีการพิจารณาเตรียมใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้า (เอดี)ชนิดนี้
ซึ่งจากนี้คงต้องรับฟังแนวทางเอกชนและกลับไปพิจารณาทบทวนดูว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพื่อผลักดันการส่งออกให้เติบโตตามเป้าหมายและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ล่าสุดได้นำคณะลงพื้นที่ตรวจสอบการผลิตโรงงานบริษัท แผ่นเหล็กวิลาสไทยจำกัด ผู้ผลิตเหล็กแผ่นสำหรับผลิตกระป๋อง โดยรับทราบรายงานว่า ปัจจุบันราคาเหล็กนำเข้าตันละ 33,000 บาท
ส่วนเหล็กที่ผลิตในประเทศ อยู่ที่ตันละ 37,000 บาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ผลิต เพราะต้นทุนกระป๋องคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 12.5% โจทย์คือ เราจะต้องสร้างสมดุลอย่างไรเพื่อให้ผู้ผลิตเหล็กอยู่ได้
และให้ผู้ประกอบการที่ใช้เหล็กกระป๋องอยู่รอด ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ทตอ.) พิจารณาหาข้อสรุปเรื่องการใช้มาตรการเอดี
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า หลังจากที่ ทตอ.ได้เปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการเอดีกับสินค้าเหล็กสำหรับผลิตกระป๋อง 2 ชนิด คือ เหล็กแผ่นเคลือบหรือชุบด้วยดีบุกทั้งชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน หรือทินแพลต
และเหล็กแผ่นเคลือบหรือชุบด้วยโครเมียมทั้งชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน หรือทินฟรี ทางกรมการค้าต่างประเทศในฐานฝ่ายเลขานุการ ทตอ.ได้ส่งร่างผลการไต่สวนให้ผู้เกี่ยวข้องให้ความเห็นแล้ว คาดว่าจะสรุปและนำเสนอ ทตอ.พิจารณาได้ภายในเดือนตุลาคมนี้
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ 27 มีนาคม 2563 กรมการค้าต่างประเทศได้ออกประกาศเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการเอดีในสินค้าทินแพลตจำนวน 15 พิกัด ที่นำเข้าจากประเทศจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน
และสหภาพยุโรป จำนวน 26 ราย ตามคำร้องขอของผู้ผลิตในประเทศ 2 ราย คือ บริษัท สยามแผ่นเหล็กวิลาส จำกัด และบริษัท แผ่นเหล็กวิลาสไทย จำกัด จากนั้นได้ดำเนินการตามกระบวนการไต่สวน โดยออกแบบสอบถามและเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาให้ข้อมูล
กระทั่งถึงวันที่ 12 มกราคม 2564 คณะอนุกรรมการพิจารณาไต่สวนฯได้ขอขยายระยะเวลาการไต่สวนออกมา 6 เดือน นับจากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 6 เมษายน 2564 มาเป็นสิ้นสุดในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 ที่จะถึงนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
รายงานข่าวระบุว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ทาง ทตอ.ได้สรุปผลการพิจารณาอัตราส่วนเหลื่อมความเสียหายเหล็กแผ่นเคลือบหรือชุบด้วยดีบุกทั้งชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน หรือทินแพลต ทั้งหมดอยู่ระหว่าง 12.78-51.72%
และมีอัตราส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดตั้งแต่ 0.00%-22.67% จึงได้กำหนดอัตราเอดีเพียงเพื่อขยับความเสียหาย (lesser duty) ตั้งแต่ระดับ 0.00%-22.67% ตามแต่ละบริษัท (ไม่เท่ากัน)เป็นระยะเวลา 5 ปี
โดยแบ่งเป็น จีนกำหนดให้เรียกเก็บกลุ่มบริษัท Baoshan อัตรา 3.57% และบริษัท Fujian Ton Yi Tinplate อัตรา 17.46% แต่ยกเว้นให้กับ 3 บริษัท (GDH, Handan Jintai Packing Material)
ส่วนประเทศเกาหลีใต้เรียกเก็บบริษัท TCC Steel อัตรา 9.58% และบริษัทที่ไม่ตรอบแบบสอบถาม 22.67% และยกเว้นให้บริษัท KG Dongbu Steel
ส่วนประเทศไต้หวันเรียกเก็บบริษัท Tong YI Industrial อัตรา 7.51% และบริษัทที่ไม่ตอบแบบสอบถาม 20.45% และสหภาพยุโรป อัตรา 5.82% ทั้งนี้ยกเว้นให้กับสินค้าทินแพลตที่ผ่านนการเคลือบ Lacquering หรือ Laminating
แหล่งข่าวจากวงการผู้ผลิตอาหารกล่าวว่า ข้อมูลที่นำมาใช้ในการพิจารณานั้นเป็นตัวเลขปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่มีการนำเข้าสูงสุด มีการแข่งขันราคากันอย่างดุเดือดตามภาวะตลาด
แตกต่างจากปัจจุบันที่สินค้าเหล็กทั่วโลกขาด ราคาขยับสูงขึ้นมากมากกว่าภาษีที่เก็บ จากการที่จีนยกเลิกมาตรการอุดหนุนผู้ส่งออกและปิดโรงงานเหล็กที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทำให้ปริมาณซัพพลายเหล็กของจีนลดลง ราคาตลาดโลกขยับสูงขึ้นโดยอัตโนมัติแม้ว่าจะไม่มีมาตรการใด ๆ ดังนั้นต้องรอผลการพิจารณาของ ทอต.ว่าจะสรุปออกมาอย่างไร
"จุรินทร์" เล็งรื้อเอดีเหล็กกระป๋อง เปิดทางนำเข้าอุ้มอุตอาหาร 7000 ล้าน - ประชาชาติธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment