Rechercher dans ce blog

Tuesday, October 5, 2021

"เจ้าท่า-กรมทาง-กรมราง" ภารกิจปิดทองหลังพระ กู้ภัยน้ำท่วม-ถนน-รางทั่วไทย - ประชาชาติธุรกิจ

ฤดูฝนปี 2564 พายุพัดเข้าไทยชุกชุมเป็นพิเศษ

หากโรคระบาดโควิดมีกระทรวงสาธารณสุขโดย “กรมควบคุมโรคติดต่อ-กรมการแพทย์-กรมอนามัย” เป็นหน่วยงานด่านหน้าด้านสาธารณสุข

ในช่วงหน้าฝนที่มีปัญหาน้ำท่วมโจมตีเส้นทางสัญจรทั่วประเทศ กระทรวงคมนาคมโดย “ทล.-กรมทางหลวง” กับ“ทช.-กรมทางหลวงชนบท” กับ “ทร.-กรมการขนส่งทางราง”

ก็นับเป็นหน่วยงานด่านหน้าที่อยู่เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับผู้ประสบภัยน้ำท่วมบนท้องถนนทั้งสายหลักและสายรอง ตลอดจนน้ำท่วมรางรถไฟ

โดยเฉพาะ “กรมทางหลวง-กรมทางหลวงชนบท” มีการอัพเดตเหตุประสบภัยน้ำท่วมถี่ยิบทุก 6 ชั่วโมง ถนนขาด ดินสไลด์ สะพานหักต้องใช้สะพานเบลีย์หรือสะพานเหล็กเข้าไปดำเนินการติดตั้งฉุกเฉินแทบจะเรียกได้ว่าทุกซอกทุกมุมของประเทศไทย ทั้งบนเขาสูงป่าลึกยันถนน country road ไกลโพ้น

ในขณะที่บทบาทหลักของกระทรวงคมนาคมโดย “ศูนย์ Command Center ภัยพิบัติกระทรวงคมนาคม” สรุปรายงานอุทกภัยในเส้นทางคมนาคม ข้อมูล ณ 3 ตุลาคม 2564 ดังนี้

1.โครงข่ายคมนาคมได้รับผลกระทบ 115 เส้นทาง จำนวน 163 แห่ง สัญจรผ่านได้ 94 แห่ง สัญจรผ่านไม่ได้ 69 แห่ง แบ่งเป็นทางถนน 65 แห่ง และทางราง 4 แห่ง

2. ถนนทางหลวงและทางหลวงชนบท ได้รับผลกระทบรวม 108 เส้นทาง 154 แห่ง สัญจรผ่านได้ 91 แห่ง สัญจรผ่านไม่ได้ 63 แห่ง

3. มีจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมมีทั้งหมด 20 จังหวัด เรียง 5 อันดับแรก ได้แก่ นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ และอ่างทอง

4. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีเส้นทางเดินรถกระทบ 4 แห่ง ส่งผลให้หยุดเดินรถ 14 ขบวน และเปลี่ยนเส้นทางเดินรถกรุงเทพ-หนองคาย 2 ขบวน เปลี่ยนมาใช้เส้นทางแก่งคอย-ปากช่อง-นครราชสีมา-ชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย

5. บริษัท ขนส่ง จำกัด ปรับเส้นทางเดินรถ 2 เส้นทาง ได้แก่ รถโดยสารพิจิตร สาย 692 และ สาย 47 เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง ทล.117 นครสวรรค์-พิษณุโลก กับรถโดยสารสุรินทร์ สถานีขนส่งรัตนบุรี สาย 944 เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง ทล.3010 ถึง ทล.3 แยกวังหิน เพื่อเลี่ยงถนน ทล.226 และกลับเข้าเส้นทางปกติ

6. กรมเจ้าท่า ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จัดชุดถุงยังชีพ อาหาร และน้ำดื่มแจกจ่ายให้กับประชาชนพร้อมลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย

7. กรมทางหลวงชนบท จัดรถรับ-ส่ง และมอบสิ่งของจำเป็นให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย

นอกจากนี้ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ได้ติดตั้งป้าย/อุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการสัญจรในพื้นที่เกิดประสบเหตุอุทกภัย ในส่วนของท่าเรือและท่าอากาศยาน ยังไม่มีรายงานการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย

กระทรวงคมนาคมยังคงติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยเพื่ออำนวยความสะดวก ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างทันท่วงที สามารถสอบถามเส้นทาง ข้อมูลเพิ่มเติมหรือแจ้งเหตุอุทกภัย 6 สายด่วน ดังต่อไปนี้

1.ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยคมนาคม โทร. 1356
2.สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
3.สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
4.สายด่วนบริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
5.สายด่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
และ 6.สายด่วนกรมเจ้าท่า โทร. 1199

Adblock test (Why?)


"เจ้าท่า-กรมทาง-กรมราง" ภารกิจปิดทองหลังพระ กู้ภัยน้ำท่วม-ถนน-รางทั่วไทย - ประชาชาติธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...