Rechercher dans ce blog

Thursday, December 9, 2021

แบงก์ชาติ เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน หนุนยกระดับดิจิทัลครบวงจร - มติชน

แบงก์ชาติ เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน-ชำระเงินภาคธุรกิจ หนุนยกระดับดิจิทัลครบวงจร

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. และ ภาคธุรกิจ ภาคการเงิน ภาครัฐ อาทิ สมาคมธนาคารไทย กรมสรรพากร สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย สำนักงานระบบการชำระเงิน (PSO) บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) อยู่ระหว่างพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจ หรือ “โครงการ Smart Financial and Payment Infrastructure for Business” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถทำธุรกรรมการค้าเป็นดิจิทัลอย่างครบวงจร ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และยกระดับการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย

ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการค้าส่วนใหญ่ยังใช้เอกสารกระดาษในกระบวนการซื้อขายระหว่างภาคธุรกิจจำนวนมากซึ่งมีต้นทุนสูง และใช้เวลา เช่น ต้นทุนในการนำส่งและจัดเก็บเอกสาร ความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดและสูญหายของเอกสาร ระยะเวลาในการดำเนินงานของกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงการชำระเงินข้ามธนาคาร การตรวจสอบข้อมูลการชำระเพื่อบันทึกบัญชี การส่งมอบใบเสร็จรับเงิน และการเชื่อมต่อกับระบบของภาครัฐ โดยเฉพาะด้านภาษี ซึ่งโครงการนี้จะช่วยลดข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจแบบเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการได้รับการออกแบบโดยใช้ประโยชน์จากมาตรฐานข้อความการชำระเงิน ISO 20022 ที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งเอื้อให้สามารถส่งข้อมูลทางการเงินไปพร้อมกับการชำระเงิน ช่วยให้ภาคธุรกิจทำรายการซื้อขายสินค้าและชำระเงินทางดิจิทัลพร้อมได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร

โดยผู้ขายสินค้าสามารถเรียกเก็บเงินตามใบแจ้งหนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ซื้อสามารถชำระเงินตามใบแจ้งหนี้ได้สะดวกทางอิเล็กทรอนิกส์และชำระเงินข้ามธนาคาร ผู้ขายสามารถตรวจสอบข้อมูลการชำระเงินกับรายการเรียกเก็บเงินได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเชื่อมโยงกับการส่งข้อมูลใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลการค้า การชำระเงิน และภาษีได้แบบครบวงจรทางดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างให้ธุรกิจมีร่องรอยดิจิทัล (digital footprint) ที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลธุรกรรมการค้าและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจด้วยต้นทุนที่เหมาะสม โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี รวมถึงสามารถต่อยอดบริการและนวัตกรรมใหม่ ๆ อันจะส่งผลให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจต่อไป ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการในระยะแรกประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนแรก คือ โครงสร้างพื้นฐานกลางที่ให้ผู้ใช้บริการส่งข้อมูลทางการซื้อขายสินค้า การชำระเงินและภาษี โดยในเบื้องต้นจะมี 3 บริการ คือ 1) บริการส่ง-รับใบแจ้งหนี้ทางดิจิทัล ที่จะช่วยให้การวางบิลเรียกเก็บเงินสะดวกขึ้น รวมถึงการนำส่งใบกำกับภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ 2) บริการการชำระเงินพร้อมข้อมูลการค้าที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจมีข้อมูลในการตรวจสอบกระทบยอดที่รวดเร็ว และ 3) บริการการชำระเงินที่เชื่อมโยงกับการออกใบเสร็จรับเงิน ที่ช่วยกระบวนการทำงานของภาคธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาคธุรกิจสามารถเลือกใช้บริการจากบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของภาคธุรกิจได้ ปัจจุบันระบบอยู่ในระหว่างการพัฒนาโดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในครึ่งหลังปี 2565

ส่วนที่สอง คือ บริการให้สินเชื่อ หรือ digital supply chain financing ที่จะช่วยสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลที่จำเป็นของภาคธุรกิจที่ช่วยตรวจสอบใบแจ้งหนี้รวมทั้งการให้สินเชื่อซ้ำซ้อน ช่วยลดเวลาในการพิจารณาให้สินเชื่อ ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการภายในเดือนธันวาคม 2564 นี้

“ที่ผ่านมา ธปท. สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินดิจิทัล เพื่อเอื้อให้เกิดการใช้งานร่วมกันของผู้ประกอบการภาคการเงิน ภาคธุรกิจและภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับบริการทางการเงินต่าง ๆ ที่มีความสะดวก ปลอดภัย มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังเช่น บริการพร้อมเพย์ที่ปัจจุบันมีการลงทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 66.9 ล้านหมายเลข และมีการใช้งานสูงขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอดเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 29.5 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่า 9.41 หมื่นล้านบาทต่อวัน” นางสาวสิริธิดา กล่าว

Adblock test (Why?)


แบงก์ชาติ เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน หนุนยกระดับดิจิทัลครบวงจร - มติชน
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...