มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของมนุษย์ ถึงแม้จะมีนโยบายการลดมลพิษทางอากาศหลายฉบับออกแบบมาเพื่อปรับปรุงสุขภาพ ทว่าก็มักไม่ได้ผลและบ่อยครั้งก็เป็นเพราะพวกเขาล้มเหลวในการคำนึงถึงภูมิปัญญาในท้องถิ่นหรือแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรม รวมถึงลำดับความสำคัญของผู้รับ ดังนั้น การออกแบบวิธีแก้ปัญหาจำเป็นต้องมีการสำรวจประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเชิงลึก หรือผู้คนควรเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยนั่นเอง
เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมนักวิจัยนานาชาตินำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธในอังกฤษ ที่ได้ทำงานร่วมกับผู้คนที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างไม่เป็นทางการ อย่างชุมชนมูคูรูในกรุงไนโรบี ของเคนยา เผยว่า การพัฒนาวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่าเรื่อง การดนตรี การทำงานศิลปะ และการละคร เพื่อสำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศของผู้คนในชุมชนท้องถิ่น แนวทางนี้ทำให้นักวิจัยสามารถสำรวจปัญหามลพิษทางอากาศกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้างและเปิดโอกาสในการได้ยินเสียงของผู้ที่ประสบปัญหาอย่างแท้จริง
ความแยบยลของวิธีการที่สร้างสรรค์นี้ก็เช่น ให้สมาชิกในชุมชนมูคูรูบอกเล่าเรื่องราวผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการถ่ายภาพรอบๆ ย่านชุมชนของพวกเขา จากนั้นก็นำภาพมาประกอบรวมเข้ากับเสียงบรรยาย โดยบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ หรือมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้คนในชุมชน ซึ่งคนที่ได้รับการฝึกอบรมก็จะให้เด็กนักเรียนในชุมชนแห่งนี้คิดเรื่องราว แล้วก็ถ่ายทอดออกมา โดยวาดรูปหรือจะเขียนเล่าอะไรเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านมลพิษทางอากาศของพวกเขา
ส่วนงานละครก็มีการนำเสนอตาม แหล่งสำคัญรอบ ๆ ชุมชนมูคูรู ไม่ว่าจะเป็น ตลาด ศูนย์ชุมชน สนามฟุตบอล โดยที่ผู้เข้ามาชมก็จะได้รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหามลพิษ และผู้ชมก็จะได้ปฏิบัติตามข้อเสนอเหล่านั้นในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของโรงละคร นอกจากนี้ ยังมีการใช้เป็นสื่อกลาง อย่างเพลง “Mazingira” ของศิลปิน Mukuru Kingz ก็ถูกเล่นตามสถานีวิทยุและโทรทัศน์ระดับประเทศซึ่งมีผู้ชมและฟังประมาณ 3 ล้านคน เนื้อเพลงมีการอธิบายถึงปัญหามลพิษทางอากาศ
นักวิจัยของศูนย์สิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม ในสวีเดน เผยว่า วิธีการต่างๆ นี้ได้มอบความเข้าใจถึงซับซ้อนและทำให้รับรู้อย่างละเอียดยิ่งขึ้นว่ามลพิษทางอากาศในชุมชนมูคูรูเป็นอย่างไร ซึ่งโครงการนี้ยังได้สร้างพื้นที่ใหม่ๆ สำหรับการสนทนาและวิพากษ์วิจารณ์ในหัวข้อมลพิษทางอากาศในชุมชนดังกล่าวด้วย.
ภัค เศารยะ
พึ่งพาวิธีทางศิลปะ - ไทยรัฐ
Read More
No comments:
Post a Comment