Rechercher dans ce blog

Tuesday, February 1, 2022

“เนื้อจระเข้” โปรตีนทางเลือกที่น่าทึ่ง! - ผู้จัดการออนไลน์



อย่างที่รู้ ๆ กันว่าช่วงนี้เนื้อหมู เนื้อไก่ มีราคาที่สูงขึ้นมาก จนมีกระแสว่า “ลองหันมารับประทานเนื้อจระเข้กันเถอะ” เพราะมีราคาที่ถูกกว่ามากและมีคุณค่าทางด้านโภชนาการมากเช่นกัน

เนื้อจระเข้เป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ซึ่งเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาวเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้เซลล์ของร่างกายดูดซึมออกซิเจนได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

กระดูกอ่อนของจระเข้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระและการต่อต้านมะเร็งมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์
ทางด้าน ดร.แพทย์หญิงสายพิณ โชติวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ ได้อธิบายไว้ว่าเนื้อจระเข้มีคุณค่าทางอาหาร มีพลังงานต่ำ ไขมันน้อย สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่การต้ม เคี่ยวในน้ำซุป ไปจนถึงปิ้ง ย่าง ทอด และผัด
 
คุณค่าทางโภชนาการสำหรับ เนื้อจระเข้



•เนื้อจระเข้ 100 กรัม มีพลังงาน 99 กิโลแคลอรี
•โปรตีน 21.5 กรัม
•ไขมัน 2.9 กรัม
•โคเลสเตอรอล 65 มิลลิกรัม หากนำมาเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่มีการบริโภคกันมากที่สุด เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ในปริมาณ 100 กรัม เท่ากัน พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการสำหรับ เนื้อหมู

•มีพลังงาน 107 กิโลแคลอรี
•โปรตีน 22.0 กรัม
•ไขมัน 2.0 กรัม
•โคเลสเตอรอล 55 มิลลิกรัม 
คุณค่าทางโภชนาการสำหรับ เนื้อไก่

•มีพลังงาน 145 กิโลแคลอรี
•โปรตีน 22.2 กรัม
•ไขมัน 6.2 กรัม
•โคเลสเตอรอล 62 มิลลิกรัม 
คุณค่าทางโภชนาการสำหรับ เนื้อวัว

•มีพลังงาน 121 กิโลแคลอรี
•โปรตีน 21.2 กรัม
•ไขมัน 4.0 กรัม
•โคเลสเตอรอล 51 มิลลิกรัม 
ดังนั้นช่วงนี้เนื้อหมูมีราคาแพงขึ้นมาก ผู้บริโภคอาจเลือกบริโภคอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนชนิดอื่น เช่น ปลา ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน และเพิ่มการกินผัก และผลไม้หลากสีให้มากขึ้น ดื่มนมเหมาะสมตามวัย เพื่อให้ได้รับอาหารครบหมู่

หากเลือกรับประทานเนื้อจระเข้ ควรทำให้สุกก่อนรับประทาน ไม่ควรรับประทานแบบสุก ๆ ดิบ ๆ และควรล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนนำมาปรุงอาหาร

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : กรมอนามัย

ข่าวโดย : สมาพร ตุ้มเพ็ชร 

Adblock test (Why?)


“เนื้อจระเข้” โปรตีนทางเลือกที่น่าทึ่ง! - ผู้จัดการออนไลน์
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...