Rechercher dans ce blog

Friday, March 25, 2022

ห่วง"ผู้สูงอายุ"ตายจากอุบัติเหตุทางถนนพุ่ง สัดส่วนเท่าวัยรุ่น-วัยทำงาน - กรุงเทพธุรกิจ

รายงานเผยปี 63 อุบัติเหตุทางถนน คร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 2 คน ดันยอดรวม 17,831 ราย แม้ภาพรวมเกิดน้อยลง แต่ความสูญเสียยังอยู่ในระดับสูง ห่วง “ผู้สูงอายุ” ตายพุ่ง หลังสัดส่วนเขยิบเทียบเท่ากลุ่มเยาวชน-วัยทำงาน

สสส. เปิดรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนประเทศไทย ฉบับที่ 6 ปี 2563 พบว่า การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย มีแนวโน้มลดลง แต่ปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของการเสียชีวิต นอกจากจะเกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายมากมาย ต้องยอมรับว่าการระบาดของโควิด-19 และมาตรการต่างๆ ในการควบคุมการระบาด มีส่วนทำให้อุบัติเหตุลดลงอย่างมาก

เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2565 นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า แม้แนวโน้มการเสียชีวิตจะลดลง แต่การสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ยังอยู่ในระดับสูง คือ มีคนตายถึง 17,831 คน คิดเป็น 27.2 ต่อแสนประชากร หรือ 49 คนต่อวัน หรือชั่วโมงละ 2 คน ที่น่าสังเกตคือกลุ่มอายุ 16-30 ปี ที่เป็นกลุ่มที่เสียชีวิตสูงสุด ปัจจุบันมีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่กลุ่มอายุ 46-60 ปี และกลุ่มที่อายุมากกว่า 60 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจนสัดส่วนใกล้เคียงกัน

นพ.วิทยา ชี้ให้เห็นถึงข้อสังเกตสำคัญ ว่าแม้ 70% ของอุบัติเหตุทางถนน จะเกิดในกลุ่มอายุ 16-60 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยทำงาน แต่ที่เกิดกับผู้สูงอายุเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งสัมพันธ์กับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของประเทศไทย ที่สำคัญผู้สูงอายุเมื่อได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอายุน้อย 10 เท่า ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญ กับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ที่เกิดกับผู้สูงอายุด้วยเข้าใจว่าเกิดไม่มาก แต่จากข้อมูลล่าสุดทำให้เราจะต้องกลับมาพิจารณา ให้ความสำคัญในการกำหนดมาตรการป้องกันอุบัติเหตุ กับผู้สูงวัยอย่างจริงจังมากขึ้น” นพ.วิทยา กล่าว

นพ.วิทยา ระบุว่า ส่วนใหญ่ของผู้เสียชีวิตยังคงเป็นคนขับขี่รถจักรยานยนต์ คิดเป็น 74% ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมด และเป็นเช่นนี้มานานนับสิบปีแล้ว โดย IHPP ได้รายงานในปี 2564 ไว้ว่า หากคนขี่คนซ้อนมอเตอร์ไชค์ทุกคนในประเทศไทย ใส่หมวกกันน็อก 100% การเสียชีวิตในภาพรวมจะลดลง 36% ซึ่งหมายความว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจะลดลงถึง 5,000 คนในปีนั้น แต่ถ้าเรายังใช้วิธีการเดิมๆ ที่เราเคยทำมาก่อนหน้านี้ คงไม่สามารถทำให้คนขับขี่รถจักรยานยนต์ สวมหมวกกันน็อคได้ทั้ง 100% จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องคิดหาวิธีการใหม่ในการแก้ปัญหานี้

“การบังคับใช้กฎหมายยังเป็นจุดอ่อนสำคัญ ในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน จากรายงานพบว่าอัตราการจับกุมคดีต่อพฤติกรรมเสี่ยง ในแต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกันมาก เช่น “คดีเมาสุราขับรถ” จังหวัดที่มีการจับกุมสูงสุดคือ ตาก มีอัตราการจับกุม 5,521 ต่อแสนประชากร ในขณะที่จังหวัด ปัตตานีและลพบุรีไม่มีรายงานการจับกุมเลย ส่วน “คดีไม่สวมหมวกนิรภัย” จังหวัดที่มีการจับกุมสูงสุด คือ ตาก มีอัตราการจับกุม 47,830 ต่อแสนประชากร ในขณะที่จังหวัดมหาสารคาม มีอัตราการจับกุม 54 ต่อแสนประชาการ” นพ.วิทยา กล่าว

ด้าน รศ.ดร.ปรีดา จาตุรพงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยว่า จากรายงานฉบับที่ 6 ปี 2563 พบว่า 10 จังหวัดที่มีอัตราการเสียชีวิต ต่อแสนประชากรสูงสุด ได้แก่ 1. ระยอง 2. นครนายก 3. จันทบุรี 4. ชลบุรี 5. ชัยนาท 6. ปราจีนบุรี 7. สระบุรี 8. ประจวบคีรีขันธ์ 9. ลำพูน และ 10. สุพรรณบุรี ขณะที่ 10 จังหวัดที่มีอัตราการเสียชีวิต ต่อแสนประชากรต่ำสุด
ได้แก่ 1. อำนาจเจริญ 2. ยะลา 3. กทม 4. สตูล 5. ปัตตานี 6. นราธิวาส 7. แม่ฮ่องสอน 8. สมุทรสงคราม 9. นนทบุรี และ 10. อุดรธานี

รศ.ดร.ปรีดา กล่าวว่า เมื่อเทียบกับรายงานฉบับที่ 5 ปี 2561 พบว่ามี 18 จังหวัด ที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 5 อันดับแรก คือ นครนายก สิงห์บุรี ปัตตานี สุโขทัย ยะลา และ 58 จังหวัด ที่อัตราการเสียชีวิตลดลง 5 อันดับแรก
คือ พังงา นครปฐม ย โสธร ภูเก็ต กระบี่

ทั้งนี้ วงเสวนาสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนประเทศไทย ฉบับที่ 6 ปี 2563 ยังชวนให้คิดว่าตั้งแต่เริ่มการระบาดโควิด-19 เมื่อช่วงต้นเดือน ม.ค. 2563 จนถึงวันนี้ ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการระบาดนี้ ไปแล้ว 24,420 ราย แต่ระหว่าง ปี 2563-2564 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน รวม 34,788 ราย ยังไม่รวมการเสียชีวิต ตั้งแต่ ม.ค. - มี.ค. 2565 ท่ามกลางมาตรการการควบคุมโควิด-19 ที่สามารถทำให้คนไทยใส่หน้ากากอนามัยกันทั้งประเทศ แต่การจะทำให้คนขับขี่รถมอเตอร์ไชค์ ใส่หมวกกันน็อกยังไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งที่ว่ากันตามจริงแล้วอุบัติเหตุทางถนน ก่อให้เกิดความสูญเสียสูงกว่าโควิด-19

Adblock test (Why?)


ห่วง"ผู้สูงอายุ"ตายจากอุบัติเหตุทางถนนพุ่ง สัดส่วนเท่าวัยรุ่น-วัยทำงาน - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...