Rechercher dans ce blog

Wednesday, March 23, 2022

"โควิด" ไทย เจอ "ปอดอักเสบ" เพิ่ม ตายพุ่ง สวนทางกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - คมชัดลึก

(23 มี.ค.2565) "หมอธีระ" ร.ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" อัปเดตสถานการณ์ "โควิด" ในประเทศไทย ระบุว่า วันนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อ 25,164 ราย ATK 26,812 รวม 51,976 หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป "ปอดอักเสบ" เพิ่มขึ้นจาก 1,401 คน เป็น 1,496 คน เพิ่มขึ้น 6.78% ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 507 คน เป็น 562 คน เพิ่มขึ้น 10.84% จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน 8.27% แต่ลดลงกว่าสองสัปดาห์ก่อน 3.68% บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อเพิ่มสูงถึง 345 คน (ชาย 92, หญิง 253) เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชียในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก

"โควิด" ไทย เจอ "ปอดอักเสบ" เพิ่ม ตายพุ่ง สวนทางกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อัปเดตการระบาดจาก WHO ล่าสุด องค์การอนามัยโลกเผยแพร่รายงาน WHO Weekly Epidemiological Update เมื่อคืนนี้ 22 มีนาคม 2565
สถิติรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 7% โดยจำนวนเสียชีวิตลดลง 23% หากเจาะดูภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การติดเชื้อใหม่ลดลง 23% และเสียชีวิตลดลง 18% ทั้งนี้ ดูสถิติรอบสัปดาห์ของไทย จาก Worldometer จะพบว่า การติดเชื้อใหม่ยังเพิ่มขึ้น 7% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 16% สะท้อนให้เห็นว่า สวนทางกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ

สายพันธุ์ที่ระบาด WHO รายงานว่า ในช่วงเดือนที่ผ่านมา สายพันธุ์ "โอไมครอน" Omicron ครองการระบาด 99.8% ในขณะที่เดลตามีเพียง 0.1% สำหรับ Omicron นั้น มีสายพันธุ์ย่อย ทั้ง BA.1, BA.1.1, BA.2 และ BA.3 อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าระวังพบว่า ปัจจุบัน BA.2 ครองการระบาดทั่วโลกมากกว่าสายพันธุ์อื่น มาตั้งแต่ปลายกุมภาพันธ์เป็นต้นมา ล่าสุด 85.96% และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นอย่างชัดเจนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ดังตาราง) โดย BA.2 มีสมรรถนะในการแพร่ไวกว่า BA.1 และทำให้เกิดการติดเชื้อทั้งในครัวเรือนและนอกครัวเรือนมากกว่า BA.1 

"โควิด" ไทย เจอ "ปอดอักเสบ" เพิ่ม ตายพุ่ง สวนทางกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อัปเดต Long COVID

1. อัตราการเกิด Long COVID ในกลุ่มบุคลากรที่ทำงานในสถานพยาบาลของเยอรมัน 47.1% Gruber R และคณะจากเยอรมัน ศึกษาในบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลที่มีประวัติติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 221 คน จากสถานพยาบาล 3 แห่งในเมืองโคโลญ ในช่วงมีนาคม 2563 ถึงพฤษภาคม 2564 พบว่า มีคนที่ประสบปัญหา Long COVID สูงถึง 47.1% โดยที่คนส่วนใหญ่มีประวัติติดเชื้อโดยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย งานวิจัยนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า Long COVID เกิดขึ้นได้ แม้ตอนติดเชื้อจะมีอาการเล็กน้อยก็ตาม การป้องกันตัวอย่างเต็มที่ ไม่ติดเชื้อย่อมจะดีที่สุด

2. หลังติดเชื้อโควิด-19 แล้วอาจตรวจพบการทำงานผิดปกติในอวัยวะต่าง ๆ ได้แม้ผ่านไป 6-12 เดือนDennis A และคณะจากสหราชอาณาจักร ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 536 คน ติดตามไปนาน 12 เดือน และประเมินอาการต่าง ๆ รวมถึงตรวจทางห้องปฏิบัติการหลากหลายระบบ พบว่า คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ตรวจพบอาการผิดปกติในลักษณะของ Long COVID และมีความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้สูงถึง 59% ณ 6 และ 12 เดือนหลังการติดเชื้อ 

"โควิด" ไทย เจอ "ปอดอักเสบ" เพิ่ม ตายพุ่ง สวนทางกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

งานวิจัยนี้นอกจากตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อแล้ว สำหรับคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน การหมั่นประเมินสุขภาพของตนเอง สังเกตอาการผิดปกติ หรือไปตรวจเช็คสุขภาพเป็นระยะ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ เพื่อที่จะได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

Adblock test (Why?)


"โควิด" ไทย เจอ "ปอดอักเสบ" เพิ่ม ตายพุ่ง สวนทางกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - คมชัดลึก
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...