Rechercher dans ce blog

Wednesday, March 16, 2022

UN Women จัดเสวนาความเท่าเทียมทางเพศ เพิ่มพลังหญิงในภาคธุรกิจสู่การเติบโตที่ยั่งยืน - ผู้จัดการออนไลน์



องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Women ร่วมเผยแพร่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจของประเทศไทย โดยกำหนดแนวทางสำหรับนโยบายและแนวทางปฏิบัติ สู่การพัฒนาศักยภาพสตรีในภาคธุรกิจ ตลอดจนการสร้างการเติบโตที่อย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคม

เนื่องในเดือนมีนาคมซึ่งตรงกับช่วงวันสตรีสากล โครงการ WeEmpowerAsia ภายใต้องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ส.ส.ว.) และมูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย ได้จัดงานเสวนา "Inclusive Policy means Sustainable Growth" ขึ้น ในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 ณ .โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ 


โดนภายในงานได้มีการเผยแพร่เอกสาร ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในหัวข้อ "Building Pathways to Gender Equality and Sustainability through the Women's Empowerment Principles: Thailand Policy Brief" ที่จัดทำขึ้นโดย โครงการ WeEmpowerAsia นำเสนอข้อแนะนำเชิงกลยุทธ์ และแนวทางเชิงนโยบายให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจ ผ่านการส่งเสริมการเปิดเผยและรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศ สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การสนับสนุนบทบาทผู้นำองค์กรสตรี และการสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการสตรี และธุรกิจที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของหรือผู้นำในห่วงโซ่อุปทานของภาครัฐและเอกชนทั้งในระดับประเทศและระดับโลก


นายจูเซปเป บูซีนี รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย ได้กล่าวเปิดงานว่า เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา การค้าระหว่างสหภาพยุโรปและประทศไทยมีมูลค่ารวม 29,000 ล้านยูโร ผมเล็งเห็นว่าเราทั้งคู่ต่างมีความสามารถที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริงได้ จึงยินดีที่ได้ร่วมงานกับหน่วยงานผู้กำกับดูแลของไทยในการสนับสนุนการค้าและห่วงโซ่อุปทานระหว่างไทยและสหภาพยุโรปที่ยั่งยืนและส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย uilding Pathways to Gender Equality and Sustainability through the Women's Empowerment Principles: Thailand Policy Brief ที่ได้เผยแพร่ออกไป


อย่างไรก็ตามในช่วงเสวนา ในหัวข้อ "Building Pathways to Gender Equality and Sustainability through the Women's Empowerment Principles: Thailand Policy Brief" ทางสำนักงาน ก.ล.ต. และ สสว. ยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทในด้านการขับเคลื่อนนโยบายเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และการให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำเอกสารเชิงนโยบายฉบับนี้ รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบายเหล่านี้ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย


ทั้งนี้ในภาพรวมของภูมิภาคอาเซียน มีหลายๆประเทศอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมถึงฟิลิปปินส์ มีการกำหนดนโยบาย กฏหมาย รองรับและดำเนินการด้านความเท่าเทียมทางเพศ ส่งเสริมศักยภาพสตรีทางภาคธุรกิจมากขึ้น แม้ในภาพรวมยังเห็นช่องว่างของรายได้ของสตรีที่ยังต่ำกว่าผู้ชายอยู่ 8-10% จึงมองว่ายังมีช่องว่างในการกำหนดกฏหมายสิทธิสตรีในการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศได้อีกมาก ส่วนในประเทศไทยนั้น ใน ปี2565 ก.ล.ต. ตั้งเป้าเป็นปีที่ต้องการยกระดับผู้นำ/ผู้บริหารที่เป็นสตรีให้เพิ่มขึ้นเป็น 30% ส่งเสริมให้สตรีร่วมเป็นกรรมการบริษัทมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนที่ 27-28% แล้ว รวมถึงตั้งเป้า 5 ปีจากนี้ มุ่งส่งเสริมให้สตรีเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างมากยิ่งขึ้น จากปัจจุบันกลุ่มผู้ประกอบการสตรีจะอยู่ในส่วนของธุรกิจที่เกี่ยวกับเซอร์วิส อาหาร ไมโครเอ็นเตอร์ไพร้ส ร้านค้าหาบเร่ โดยยังพบอีกว่าผู้ประกอบการสตรีจะเก่งทางด้านการตลาด แต่อ่อนด้านนวัตกรรม ซึ่งธุรกิจในอนาคตจะมุ่งใยเนิ่ งเทคโนโลยี นวัตกรรม จึงต้องการผลักดันในเรื่องนี้มากขึ้น


ทั้งนี้นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวว่า การเพิ่มบทบาทสตรีในระดับผู้นำองค์กรเป็นหนึ่งในเป้าประสงค์ตามแผนดำเนินการเพื่อเพิ่มบทบาทสตรีในตลาดทุนไทย ของ ก.ล.ต. นอกจากนี้ เกณฑ์การเปีดเผยข้อมูล 56-1 One Report ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปีนี้ ได้เน้นการเปิดเผยข้อมูล ESG โดยเฉพาะข้อมูลการปฏิบัติตามนโยบาย ซึ่งรวมถึงนโยบายความหลากหลายของคณะกรรมการ และข้อมูลเพศของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่สะท้อนความโปร่งใสและความรับผิดชอบของบริษัทจดทะเบียนต่อผู้มีส่วนได้เสีย

ด้านนางสาววิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวเสริมว่า ในประเทศไทยยังไม่มีการนิยามคำจำกัดความของผู้ประกอบการสตรีอย่างชัดเจน ซึ่งการขาดกลไกดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคต่อการกำหนดสิทธิเพื่อผู้ประกอบการสตรี รวมถึงการจะใช้ประโยชน์จากความร่วมมือในระดับสากลในการส่งเสริม SME ที่กำหนดเป้าหมายเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการสตรี


ด้านนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ได้กล่าวด้วยว่า นอกจากงานเสวนาแล้ว ยังมีกิจกรรมประกวดแผนธุรกิจ “IDEA to I DO เปลี่ยนแผนธุรกิจเป็นเงินทุน” ที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการหญิงได้แสดงศักยภาพในการนำเสนอสินค้าและบริการ หรือ Business Presentation Competition และทำความรู้จักกับระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงความเสมอภาคทางเพศ เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านี้เข้าถึงโอกาสทางการตลาดและห่วงโซ่อุทานในระดับประเทศและทั่วโลก ซึ่งถือเป็นการริเริ่มการสร้างผลลัพธ์จากข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้เผยแพร่ในวันนี้ให้เกิดขึ้นจริง

โดยการนำเสนอแผนธุรกิจในวันนี้ มีผู้ประกอบการหญิงที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 6 คน จากทั้งหมด 42 คน มานำเสนอสินค้าและบริการกับคณะกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรธุรกิจชั้นนำ ได้แก่ สสว. สำนักงาน ก.ล.ต. ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย สยามแม็คโคร และ UN Women โดยผู้ประกอบการที่ร่วมแข่งขันเป็นผู้ที่เคยเข้าร่วมการฝึกอบรม WeRise เพื่อพัฒนาทักษะที่สำคัญในการประกอบธุรกิจที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ร่วมกับองค์การ UN Women”

สำหรับกิจกรรมประกวดแผนธุรกิจ “IDEA to I DO เปลี่ยนแผนธุรกิจเป็นเงินทุน มีผู้ประกอบการหญิงที่ผ่านการคัดเลือกและได้มานำเสนอสินค้าและบริการภายในงาน ได้แก่ ABBY บริการอาบน้ำและตัดขนสัตว์เลี้ยงที่บ้าน Kid and Kru แพลทฟอร์มซื้อขายสื่อการสอนและคลาสเรียน, Joy Ride บริการรับส่งผู้สูงอายุและผู้ป่วยไปโรงพยาบาลพร้อมบริการดูแลตลอดการเข้าใช้บริการที่โรงพยาบาล, SEEDs 2 SUSTAIN Co.,Ltd บริการแนะนำและสั่งซื้ออาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและไต, รองเท้าแบรนด์ เอพริล ฟลอร์ รองเท้าเปลี่ยนส้นได้สำหรับผู้หญิง และแบรนด์ JOYA Smart Food สร้างสรรค์อาหารที่มีคุณภาพ รสชาติและปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยผู้ประกอบหญิงทั้ง 6 คน ต่างได้แสดงถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการที่จะดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน สำหรับผู้ชนะการแข่งขันแผนธุรกิจ IDEA to I DO ในครั้งนี้ ได้แก่ Joy Ride.

Adblock test (Why?)


UN Women จัดเสวนาความเท่าเทียมทางเพศ เพิ่มพลังหญิงในภาคธุรกิจสู่การเติบโตที่ยั่งยืน - ผู้จัดการออนไลน์
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...