Rechercher dans ce blog

Friday, April 15, 2022

รู้จัก Sexual Harassment การคุกคามทางเพศ ไม่ใช่เรื่องตลก และอย่าเพิกเฉย - ไทยรัฐ

จากกรณีข่าวที่นักการเมืองจากพรรคดังได้ทำการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) นักศึกษาสาวจนเป็นข่าวดังในขณะนี้ ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่าการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) คืออะไร เรามีวิธีป้องกันได้หรือไม่ และเพราะอะไรจึงไม่ควรเพิกเฉยกับเรื่องเหล่านี้ เราสรุปมาให้ดังต่อไปนี้

การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) คืออะไร

การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ไม่ได้จำกัดแค่เพียงการข่มขืน ลวนลาม หรือสัมผัสร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแทะโลมด้วยสายตา คำพูด หรือกิริยาท่าทางด้วย โดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ได้จำกัดแค่เพียงว่าต้องเป็นผู้ชายทำกับผู้หญิงหรือเด็กเท่านั้น แต่ผู้หญิงทำกับผู้ชาย รวมถึงเพศเดียวกันก็จัดว่าเป็นการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ได้เช่นกัน

ความจริงแล้ว การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแต่อย่างใด และเรามักได้ยินข่าวทำนองนี้มานักต่อนัก ไม่ว่าจะเป็น ครูคุกคามทางเพศเด็กนักเรียน เจ้านายล่วงละเมิดทางเพศลูกน้อง หรือแม่แต่ดาราหนุ่มลวนลามตัวประกอบสาว แต่หลายครั้งมักจบที่คำว่า “ล้อเล่น” เป็นแค่เรื่องหยอกล้อกัน อย่าคิดมาก ซึ่งบอกได้เลยว่าอีกฝ่าย “ไม่ตลก” ด้วยอย่างแน่นอน

พฤติกรรมแบบไหนเรียกว่าเป็นการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment)

มาดูกันว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เข้าข่ายการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) บ้าง หากเจอลักษณะนี้จะได้เข้าใจว่านี่คือการคุกคามทางเพศและไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

  1. การแสดงออกทางวาจา เช่น พูดจาล่วงเกิน พูดเกี่ยวกับเรื่องเพศ เล่าเรื่องตลกเกี่ยวกับเรื่องเพศ พูดถึงสัดส่วนของร่างกาย หรือพูดเล่นคำที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ
  2. กิริยาท่าทาง หรือการแทะโลมทางสายตา เช่น การจ้องมองส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  3. การสัมผัสทางร่างกาย เช่น พยายามใกล้ชิดโดยไม่จำเป็น แตะเนื้อต้องตัว โอบกอด โอบไหล่ โอบเอว จับมือ
  4. การส่งข้อความในเชิงอนาจาร เช่น เขียนจดหมาย หรือพิมพ์ข้อความในเชิงส่อไปทางเพศ รวมไปถึงการส่งรูปภาพร่างกาย หรืออวัยวะเพศให้แก่ผู้อื่น

วิธีรับมือเมื่อต้องเจอการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment)

หากต้องประสบพบเจอกับการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) กับตนเองหรือเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ ควรรับมือด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. อย่าเพิกเฉย: เพราะการเพิกเฉยไม่ได้ทำให้ผู้กระทำผิดรู้ตัวแถมคิดเข้าข้างตัวเองว่านี่คือการสมยอม (Consent) เนื่องจากเราไม่ปฏิเสธการคุกคามทางเพศเหล่านี้ ดังนั้นจึงควรแสดงออกให้รู้ว่าเราไม่พอใจ และควรปฏิเสธอย่างหนักแน่นเมื่อรู้สึกว่าถูกคุกคาม หากผู้กระทำยังไม่หยุดก็ควรส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  2. บันทึกหลักฐาน: หากตกอยู่ในสถานการณ์ถูกคุมคามทางเพศ ควรตั้งสติแล้วกดบันทึกเสียง บันทึกภาพ วิดีโอ (หากทำได้) หรือบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นลายลักษณ์อักษรทันที โดยจดบันทึกวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ คำบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ใส่ชื่อของผู้กระทำ พยานที่สาม หรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์
  3. แจ้งปัญหา: ควรรีบเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นให้บุคคลที่ไว้ใจทราบทันที และแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น กับผู้บังคับบัญชา บุคคล หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วยตนเอง
  4. ร้องเรียน: ควรร้องเรียนหรือแจ้งเรื่องการถูกคุกคามทางเพศนี้ให้กับผู้มีอำนาจบังคับบัญชาในโรงเรียนหรือในองค์กรนั้นๆ เช่น อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ เจ้านาย ตำรวจ เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทันที
  5. ให้ความช่วยเหลือ: หากอยู่ในสถานการณ์ หรือพบเห็นผู้ถูกคุกคามทางเพศก็ไม่ควรเพิกเฉย โดยอาจใช้วิธีห้าม หรือขอร้องให้หยุดการกระทำนั้น เพราะการพบเห็นเหตุการณ์แต่เพิกเฉยเท่ากับว่าเราเป็นส่วนร่วมในการกระทำนั้นด้วย

โทษของการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) มีอะไรบ้าง

สำหรับโทษของการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) นั้นอยู่ในกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานกฎหมายธรรมนิติ ได้เผยรายละเอียดเกี่ยวกับโทษของการคุกคามทางเพศไว้ดังนี้

แอบถ่าย

การแอบถ่ายภาพหรือคลิปในห้องน้ำ ใต้กระโปรง หรือลักษณะใดๆ ที่เป็นการละเมิดทางเพศ แม้จะไม่ได้มีการสัมผัสร่างกายโดยตรง ก็มีความผิดฐานกระทำอนาจารได้

  • อนาจาร: มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 278)
  • อนาจารเด็ก: (ไม่ว่าจะยินยอมหรือไม่) มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 279 วรรคสอง)

ลักหลับ

การเข้าไปกระทำการล่วงเกินทางเพศ ในขณะที่ผู้อื่นนอนหลับหรือไม่มีสติรับรู้ เป็นการกระทำอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้ายต่อร่างกาย โดยที่บุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้

  • อนาจาร: มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 278)
  • อานาจารเด็ก: (อายุไม่เกิน 13 ปี) (ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่) โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 279 วรรคสอง)

วางยานอนหลับ

การใช้ยากดประสาทผสมให้ผู้อื่นกิน จนทำให้สิ้นสติไปถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายจนเป็นอันตรายแก่จิตใจเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และยังมีความผิดฐาน

  • ปลอมปนอาหารด้วย ทำร้ายร่างกาย: มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 296)
  • ปลอมปนอาหาร: จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 236)

ข่มขืน

การกระทำชำเราผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอม ด้วยการขู่เข็ญ ด้วยการใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น

  • ข่มขืนกระทำชำเรา: มีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี และปรับ 80,000 – 400,000 บาท (มาตรา 276 วรรคแรก)
  • ชำเราเด็ก: (อายุไม่เกิน 15 ปี) จำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับ 100,000 – 400,000 บาท (มาตรา 277 วรรคแรก)

โทรมหญิงหรือชาย

การโทรมคือมีการร่วมกันกระทำความผิดฐานกระทำชำเราผู้อื่น โดยมีผู้ร่วมกระทำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

  • โทรมหญิงหรือชาย: จำคุกตั้งแต่ 15 – 20 ปี และปรับ 300,000 – 400,000 บาท หรือจำคุกตลอดชีวิต (มาตรา 276 วรรคสาม)
  • โทรมเด็ก: (อายุไม่เกิน 15 ปี) จำคุกตลอดชีวิต (มาตรา 277 วรรคสาม)

การบันทึกภาพหรือคลิป

  • ถ้าผู้ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ ได้ทำการบันทึกภาพหรือคลิปไว้ เพื่อแสวงหาซึ่งประโยชน์โดยมิชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น (มาตรา 280/1 วรรคแรก) ต้องระวางโทษหนักขึ้น 1 ใน 3 ของความผิดนั้น
  • ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งภาพหรือเสียงการกระทำชำเราหรือการกระทำอนาจารที่บันทึกไว้ (มาตรา 280/1 วรรคสอง) ต้องระวางโทษหนักขึ้น กึ่งหนึ่ง ของความผิดนั้น

อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้ที่กระทำผิดจะได้รับโทษทางกฎหมาย แต่ผู้ที่เป็นฝ่ายถูกกระทำหรือเหยื่อเอง ก็ได้รับผลกระทบทางจิตใจไปไม่น้อยและมักจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตระยะยาวในอนาคต เช่น ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีอาการ PTSD ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรเพิกเฉยต่อการถูกคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะผู้ถูกกระทำหรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ก็ตาม

Adblock test (Why?)


รู้จัก Sexual Harassment การคุกคามทางเพศ ไม่ใช่เรื่องตลก และอย่าเพิกเฉย - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...