นายสนธิรัตน์ สนธิจิระวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และเลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย กล่าวในรายการคุยกับหมาแก่ ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ช่องเนชั่น 22 ว่า การแก้ปัญหาระยะสั้นของราคาพลังงานแพงจะต้องหาทางลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและลดภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวิธีการแก้ปัญหาราคาพลังงานทั่วโลกมี 4 แนวทาง คือ
1.ลดภาษีชั่วคราว
2.ตั้งงบประมาณอุดหนุน
3.ควบคุมโครงสร้างราคา
4.การอุดหนุนให้กลุ่มเปราะบาง
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันของไทยในขณะนี้ต้องพิจารณาเร่งด่วน 2 ส่วน คือ
1.ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นของประเทศไทยมีความซับซ้อนกว่าต่างประเทศ เพราะน้ำมันดีเซลมีน้ำมันไบโอดีเซลผสม ในขณะที่แก๊ซโซฮอลล์มีเอทานอลผสม
2.ภาษี เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันในปัจจุบันอยู่ในระดับวิกฤติเพราะต้นทุนน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งในสถานการณ์วิกฤติจำเป็นที่ต้องลงลึกในปัญหาในโครงสร้าง 2 ส่วนดังกล่าว
ปัจจุบันราคาน้ำมัน B100 ราคาสูงมาก โดยราคาปาล์มสดช่วงปี 2562-2563 ราคา กิโลกรัมละ 3 บาท เศษ แต่เมื่อมีนโยบาย B10 ได้ผลักดันราคาปาล์มสดทำให้ราคาขึ้น 7 บาท เศษ ซึ่งปาล์มได้ไต่ราคาขึ้นไปที่ 12 บาท ส่งผลให้ B100 สูงไปที่ลิตรละ 50 บาท จึงเกิดปัญหาเมื่อราคาเนื้อน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 20 บาท เศษ และเมื่อผสมกับไบโอดีเซลทำให้มีปัญหา
ทั้งนี้ ภาครัฐจำเป็นต้องบริหารโครงสร้างราคา B100 ที่อยู่ในระดับราคาลิตรละ 50 บาท และถ้าปรับราคาลงมาได้จึงนำไปผสมกับดีเซล เพราะสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นสถานการณ์วิกฤติราคาน้ำมันจึงต้องมาถอยดูโครงสร้างว่าราคา B100 ในระดับปัจจุบันจะใช้ได้ในปริมาณเท่าไหร่ และถ้าราคาเกินระดับปัจจุบันจะใช้ B100 ผสมอย่างไร แต่ต้องมีการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเกษตรกรที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องเข้ามาดำเนินการ
รวมทั้งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลต่อเนื่องต่อราคาน้ำมันปาล์มขวดสำหรับบริโภคที่สูงขึ้น โดยภาครัฐต้องสื่อสารให้ทุกฝ่ายรับทราบทั้งฝั่งเกษตรกรและฝั่งผู้บริโภค ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับเกษตรกรให้เข้าใจ
ทั้งนี้หากภาครัฐตัดสินใจลดการผสม B100 ลงไปในน้ำมันดีเซลจะทำให้ความต้องการใช้ B100 ลดลงจะกระทบเกษตรกรและต้องหาทางออก โดยวิเคราะห์ทั้งระบบเพื่อดูความต้องการใช้น้ำมันปาล์มในประเทศเพื่อการบริโภค เพื่อพลังงานและการส่งออก ซึ่งถ้าลดการใช้ในพลังงานอาจทำให้ราคาน้ำมันปาล์มสำหรับการบริโภคลดราคาลง
นอกจากนี้ภาครัฐอาจจะพิจารณาเพิ่มการส่งออกน้ำมันปาล์มมากขึ้น ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกสูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและอินโดนีเซียผู้ส่งออกรายใหญ่ได้งดการส่งออกเพื่อแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มในประเทศไม่เพียงพอความต้องการ ซึ่งต้องประเมินว่าการส่งออกจะมีโอกาสอย่างไร เพราะถ้าสต๊อกน้ำมันปาล์มมีมากต้องส่งออก และในอดีตไทยส่งออกได้ไม่มากเพราะราคาน้ำมันปาล์มของไทยสูง
“การดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยความกล้าหาญในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งผมเสนอแนะว่าการบริหารในช่วงวิกฤติต้องแตกต่างจากการบริหารในภาวะปกติ จะปล่อยให้ปัญหาไปตามธรรมชาติไม่ได้”
สำหรับราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นที่มีการกำหนดราคาขายสำมันสำเร็จรูปด้วยการอ้างอิงราคาตลาดสิงคโปร์ ซึ่งเสนอให้มีการยกเลิกการอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่สิงคโปร์ชั่วคราว โดยที่ผ่านมาราคาน้ำมันสิงคโปร์เป็นราคาที่มีมาตรฐานของภูมิภาคนี้ ในขณะที่การอิงราคาสิงคโปร์จะรวมค่าขนส่งและค่าประกัน โดยในสถานการณ์วิกฤติจะต้องบริหารต้นทุนให้ต่ำที่สุด ซึ่งการพิจารณาประเด็นดังกล่าวควรมองว่าถ้าพิจารณาต้นทุนน้ำมันดิบ ค่าการกลั่น เปรียบเทียบกับราคาสิงคโปร์ และถ้าราคาสิงคโปร์ถูกกว่าก็ใช้ราคาสิงคโปร์ แต่ถ้าค่าการกลั่นในประเทศถูกกว่าควรใช้ค่าการกลั่นในประเทศเป็นตัวตั้ง
สถานการณ์ส่งครามระหว่างรัสเซียและยูเครนเริ่มมาตั้งแต่ปลายเดือน พ.ค.2564 ผ่านมาถึงเดือน พ.ค.2565 แต่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานสูงมาก และถ้าสถานการณ์สงครามลากยาวถึงปลายปี 2565 แล้วภาครัฐมีงบประมาณสนับสนุนได้ระดับใด ซึ่งทำให้มีข้อเสนอว่าประเด็นใดที่ลดต้นทุนในโครงสร้างน้ำมันได้ควรลดลง เพราะจะเป็นภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการกู้เงินมาอุดหนุนน้ำมัน
ส่วนประเด็นผลดำเนินงานของโรงกลั่นในประเทศไทยที่มีค่าการกลั่นบาร์เรลละ 20 ดอลลาร์ จากปกติ 5 ดอลลาร์ จะต้องมาดูต้นทุนน้ำมันดิบและค่าการกลั่นมาเปรียบเทียบ
"การปรับเปลี่ยนสูตรราคาหน้าโรงกลั่น ผมได้เริ่มปรับโครงสร้างราคาหน้าโรงกลั่นใช้เวลา 7 เดือน โดยทำงานร่วมกับกลุ่มที่คัดค้านและได้สูตรที่ลดราคาหน้าโรงกลั่นลิตรละ 50 สตางค์ โครงสร้างการกลั่นมีความซับซ้อนเชิงเทคนิค แต่ภาครัฐและโรงกลั่นต้องมาเปิดตัวเลขเพื่อให้เป็นการส่งต้นทุนการกลั่นที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความกล้าหาญหากภาครัฐจะหารือกับโรงกลั่น"
รวมทั้งโรงกลั่นส่วนใหญ่เป็นบริษัทลูกของรัฐวสาหกิจพลังงานที่จะต้องมาช่วยสร้างสมดุล แต่โรงกลั่นจะมีสูตรการคำนวณของตัวเองและเป็นโครงสร้างที่ใช้มานาน และหากภาครัฐต้องการหาต้นทุนค่าการกลั่นที่เป็นธรรมก็ต้องมาหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐ โรงกลั่นและกลุ่มประชาชน
การลดภาษีสรรพสามิตดีเซลในปัจจุบันจะครบกำหนดในวันที่ 20 พ.ค.2565 ซึ่งภาครัฐควรต่อมาตรการดังกล่าวเพราะถ้าไม่ต่อจะทำให้ราคาเพิ่มขึ้นลิตรละ 3 บาท โดยภาครัฐกำหนดเพดานไว้ลิตรละ 35 บาท จะเป็นระดับราคาที่ภาครัฐไม่ควรปล่อยให้สูงมากกว่านี้เพราะจะมีผลต่อต้นทุนสินค้า และกระทรวงพาณิชย์ต้องบริหารไม่ให้ราคาสินค้าปรับขึ้นสูง
ดังนั้น การกำหนดระกับภาษีสรรพสามิตน้ำมันควรกำหนดอัตราที่ไม่ให้ราคาดีเซลสูงขึ้นไปเกิน 35 บาท ซึ่งเป็นระดับราคาที่นำมาสู่การปรับราคาสินค้า โดยรัฐอาจต้องเป็นผู้รับภาระภาษีเพราะในช่วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษ์ ชินวัตร เคยกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตดีเซลที่ลิตรละ 0.005 บาท
นอกจากนี้ ภาครัฐต้องทำการสื่อสารให้ประชาชนรับทราบ โดยเฉพาะการทำแคมเปญเพื่อสร้างการรับรู้ราคาพลังงานแพง เช่น การรณรงค์ใช้รถสาธารณะ ซึ่งสร้างแรงจูงใจการใช้ขนส่งสาธารณะ เพื่อสร้างการรับรู้การเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติพลังงาน เพราะปัจจุบันประชาชนใช้พลังงานในแบบสถานการณ์ปกติในขณะที่รัฐหาทางแก้ไขปัญหา จึงต้องหาทางให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันแก้ปัญหา
นอกจากนี้ ปัญหาค่าไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากราคาก๊าซที่สูงขึ้น ซึ่งในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา การเปลี่ยนผ่านสัมปทานแหล่งเอราวัณจากเชฟรอนมา ปตท.สผ.ไม่ราบรื่นเพราะมีการฟ้องร้อง ทำให้ปริมาณการผลิตก๊าซในแหล่งเอราวัณจากวันละ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เหลือ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทำให้ต้องนำเข้ามาชดเชย เพราะไทยใช้วันละ 4,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต ในส่วนนี้ใช้ผลิตไฟฟ้า 2,800 ล้านลูกบาศก์ฟุต
ดังนั้นต้องเร่งการผลิตขึ้นมาหลังจากที่ผู้รับสัมปทานใหม่รับมอบเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2565 ซึ่งราคาก๊าซได้เพิ่มขึ้นจาก 10 ดอลลาร์ ต่อล้านบีทียู เพิ่มเป็น 25-30 ดอลลาร์ และเมื่อราคาคำนวณราคาพูลแก๊ซที่คำนวณต้นทุนแก๊ซสำหรับผลิตไฟฟ้าสูงขึ้นตามราคาแอลเอ็นจี ซึ่งเห็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเปลี่ยนจากการใช้แก๊ซมาใช้น้ำมันเตาหรือดีเซลผลิตไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าบางแห่งหยุดผลิตไฟฟ้าเพราะต้นทุนก๊าซสูง ที่ถือเป็นระเบิดเวลาที่จะกระทบกับค่าไฟฟ้า
“สนธิรัตน์”ชี้ทางแก้น้ำมันแพง ยืดลดภาษี-เลิกอิงสิงคโปร์-ลดเติม B100 - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment