Rechercher dans ce blog

Monday, May 23, 2022

ฟอสซิลที่ไขแหล่งกำเนิดทางทะเลของจระเข้ - ไทยรัฐ

เป็นที่รู้กันว่าทางตอนใต้ของเปรูนั้นอุดมไปด้วยซากทับถมยุคก่อนประวัติศาสตร์ ล่าสุดทีมนักบรรพชีวินวิทยาที่นำโดยโรดอลโฟ ซาลาส นักวิจัยชาวเปรู ได้เปิดเผยผลการศึกษาซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลกะโหลกของสัตว์ทางทะเลชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นจระเข้ โดยประเมินว่าขนาดของมันในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่น่าจะยาวประมาณ 12 เมตร ซากนี้ถูกค้นพบในทะเลทรายซาคาโกของเปรูเมื่อปี 2563 ซึ่งทะเลทรายแห่งนี้ในยุคโบราณเดิมทีเป็นพื้นทะเลลึกที่มีสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่ ทั้งวาฬ ฉลามยักษ์ จระเข้ รวมถึงสัตว์ทะเลอื่นๆ

ทีมนักบรรพชีวินวิทยาเผยว่า ฟอสซิลจระเข้ดังกล่าวมีอายุประมาณ 7 ล้านปี ได้รับการตั้งชื่อว่า Sacacosuchus cordovai ซึ่งหลังจากการวิเคราะห์ซากกรามและกะโหลกศีรษะของมันแล้ว นักบรรพชีวินวิทยาก็ระบุได้ว่า สัตว์จำพวกนี้อาจจะข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้เมื่อยุคโบราณ และในที่สุดพวกมันก็อาศัยอยู่ทางตอนใต้ในดินแดนที่เป็นเปรูในยุคปัจจุบัน

นอกจากนี้ ซากฟอสซิลของ Sacacosu chus cordo vai ยังให้เบาะแสแก่นักบรรพชีวินวิทยาว่าจระเข้สมัยใหม่ในทุกวันนี้ ที่อาศัยทั้งในน้ำเค็มและน้ำจืดขึ้นจากน้ำมาสู่บนบกครั้งแรกได้อย่างไร.

Adblock test (Why?)


ฟอสซิลที่ไขแหล่งกำเนิดทางทะเลของจระเข้ - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...