Rechercher dans ce blog

Tuesday, July 5, 2022

บุหรี่คร่าชีวิตคนไทย 72,000 ราย สูญมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 2 แสนล้านบาท - กรุงเทพธุรกิจ

วันนี้ (5 ก.ค.2565) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และอธิการบดีมหาวิทยาลัย 160 แห่ง ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ 

  • คนไทยเสียชีวิตจากบุหรี่ 72,000 ราย ก่อมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละ 220,000 ล้านบาท

นพ.ธงชัย เลิศวินัยรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข สธ. กล่าวว่าการสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะมะเร็งปอด ปอดเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด และในคนไข้เบาหวาน ความดัน และโรคอื่นๆ  ซึ่งหากสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดทั่วร่างกาย

แต่ละปี มีประชากรมากกว่า 9 ล้านคนทั่วโลกที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่  โดยในจำนวนนี้มากกว่า 8 ล้านคนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ และอีก 1 ล้านคนไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่ หรือที่เรียกว่า ควันบุหรี่มือสอง

สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลปี 2560 ประชากรไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ 72,000 ราย ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมปีละ 220,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 20,000 บาท ต่อผู้สูบบุหรี่ 1 คน ต่อปี

  • เยาวชนสูบบุหรี่เกือบ 9 แสนคน ขณะที่ควันบุหรี่มือสองพุ่ง 5 เท่า

ทั้งนี้ จากการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า อัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในปี 2557  255กับปี 2560 ลดลงจากร้อยละ 20.7 มาเป็นร้อยละ 19.1 และร้อยละ 17.4 ตามลำดับ

โดยในกลุ่มเยาวชน อายุระหว่าง 20-24 ปี เป็นกลุ่มที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา พบว่า ปี 2564 มีเยาวชนที่สูบบุหรี่ เกือบ 9 แสนคน คิดเป็นอัตราการสูบบุหรี่ ร้อยละ 18.5 ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่ในปี 2560 ที่มีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ  20.7

นพ.ธงชัย กล่าวต่อว่าแม้ทิศทางการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทยลดลง แต่กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจยาสูบ จะพบว่าปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ พยายามเจาะกลุ่มเป้าหมายเยาวชน และมีการโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ในช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยากต่อการควบคุม  ดังนั้น หากการดำเนินการมาตรการควบคุมยาสูบในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้เยาวชนเป็นนักสูบหน้าใหม่

เมื่อพิจารณาการสำรวจการพบเห็นการสูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2560 ประมาณ 5 เท่า จากร้อยละ2.6 เป็นร้อยละ 14 ในปี 2564  แสดงว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อผลกระทบของควันบุหรี่มือสอง ของนิสิตนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรทุกฝ่าย ไปสู่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคตไม่ได้แตกต่างจากคนที่สูบบุหรี่

  • สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ปลอดบุหรี่ คุ้มครองสุขภาพ

นพ.ธงชัย กล่าวต่อไปว่าเพื่อเป็นการควบคุมยาสูบ บุหรี่ ควบคู่กับการคุ้มครองสุขภาพแก่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืน สธ.ได้ร่วมกับอว.พร้อมด้วยสถานศึกษาทั่วประเทศ  155 แห่ง และทางสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่  ทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือในครั้งนี้

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นให้สถานศึกษาปฎิบัติตามพระราชบัญญัติในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ในการทำสิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ ความสำเร็จที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จะส่งผลให้เกิดการป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ และคุ้มครองสุขภาพนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ทางการศึกษา นำไปสู่การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ในสถานศึกษาต่อไป

รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย กล่าวว่ากลุ่มประชากรในสถาบันอุดมศึกษา เป็นกลุ่มใหญ่ที่มีความเสี่ยง และอยู่ในช่วงวัยที่อยากทดลองอะไรมากมาย ยิ่งมีอะไรใหม่ๆ ทั้งดีและไม่ดี นิสิตนักศึกษาก็อยากจะทดลอง

การรณรงค์และความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้ารณรงค์ให้ประชากรกลุ่มนี้ ซึ่งมีนักศึกษาประมาณ 1 ล้านคน จาก 160 กว่ามหาวิทยาลัย และมีคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ รวมๆ ประมาณ 2 แสนคน เกิดความตระหนักและลดการสูบบุหรี่ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากกลุ่มประชากรเหล่านี้ จะไปสื่อสารต่อ บอกคนใกล้ชิดให้รณรงค์ไปในทิศทางเดียวกัน

  •   ขับเคลื่อน 4 ด้าน  "สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาปลอดบุหรี่"

รศ.ดร.พาสิทธิ์  กล่าวต่อว่าอว.มีความยินดีอย่างยิ่งที่สนับสนุนโครงการนี้ และทำงามร่วมกับสธ.และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ จะดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องนี้ร่วมกันใน 4 ด้าน คือ

1.ด้านนโยบาย จะมีการประกาศเป็นนโยบายสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจะเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ และจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่  

2.จัดระบบหรือกิจกรรมให้บริการคัดกรอง บำบัด ฟื้นฟู หรือส่งต่อผู้ที่สูบบุหรี่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ทุกรูปแบบตามความเหมาะสม

3.ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และให้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ หรือปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และจะมีการสอดแทรกในเนื้อหา  หรือหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดความรู้ วิจัย และนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้

4. สถาบันอุดมศึกษาจะปฎิเสธ การรับทุนอุปถัมภ์ หรือการสนับสนุนใดๆ จากผู้ประกอบธุรกิจยาสูบ และผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจยาสูบ

  • ลดเยาวชนสูบบุหรี่ นักสูบหน้าใหม่ ผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง 

ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวถึงการหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ ว่าสถาบันอุดมศึกษา เป็นหน่วยงานสำคัญ  ซึ่งสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ ได้มีการจัดโครงการมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่

โดยความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่ขยายวงกว้างมากขึ้น มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมจำนวนมาก  และมีผู้บังคับบัญชาให้ความสำคัญเรื่องนี้ เพราะอุปสรรคในการทำเรื่องบุหรี่ หลักๆ คือ ผู้บังคับบัญชา เนื่องจากถ้าหัวหน้าองค์กร ผู้บังคับบัญชาไม่จริงจัง ลดการสูบบุหรี่ การรณรงค์หรือการดำเนินการเรื่องนี้ได้ยาก

“บุหรี่ เป็นยาเสพติดที่ถูกกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะจัดการเรื่องนี้ และการสูญเสียไม่ใช่เฉพาะคนที่สูบบุหรี่ แต่เป็นผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองร่วมด้วย ความร่วมมือครั้งนี้ หากทุกฝ่ายช่วยกัน เพื่อทำให้ทุกคนมีความรู้ และลดการสูบบุหรี่ เพื่อให้สุขภาพทุกคนได้ดีขึ้นศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี กล่าว

Adblock test (Why?)


บุหรี่คร่าชีวิตคนไทย 72,000 ราย สูญมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละกว่า 2 แสนล้านบาท - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...