Rechercher dans ce blog

Sunday, July 31, 2022

เช็กให้ดี "ใบกำกับภาษี" แบบไหนบ้าง สามารถใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ - กรุงเทพธุรกิจ

ทุกๆ การจับจ่าย  ไม่ว่าจะโดยการซื้อของเพื่อกิจธุระส่วนตัว หรือเป็นการซื้อเพื่อกิจการของบริษัท เชื่อว่า ต้องมีคนจำนวนไม่น้อยพบปัญหาเกี่ยวกับ "ใบกำกับภาษี" ไม่ว่าจะเป็นการลืมขอใบกำกับภาษีไว้ หรือขอมาแล้ว แต่เป็นใบกำกับภาษีผิดรูปแบบก็ไม่สามารถนำมาเบิกได้ เพราะถือเป็นใบกำกับภาษีปลอม

ผลเสียก็คือ คุณหรือบริษัทไม่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ขอคืนภาษีซื้อ หรือนำไปหักกับภาษีขายได้ เพราะใบกำกับภาษีต้องมีข้อความครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จึงจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อมีการขายสินค้าเวลาออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อต้องเช็กความถูกต้องของรายละเอียดสำคัญที่อยู่ในใบกำกับภาษี ส่วนคนซื้อสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ใบกำกับภาษี ก็ต้องเช็กความถูกต้องก่อนนำกลับมา หากพบจุดผิดพลาดจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที ดังนี้  

  • ความหมายและความสำคัญของใบกำกับภาษี 

ใบกำกับภาษี (TAX INVOICE) เป็นเอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องจัดทำทุกครั้งที่มีการซื้อขายหรือให้บริการ โดยออกเป็นใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง ซึ่งใบกำกับภาษีแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ 

2.ใบกำกับภาษีแบบย่อ

กรณีที่ผู้ประกอบการประเภทขายสินค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้จัดทำใบกำกับภาษีส่งพร้อมกับสินค้าให้กับผู้ซื้อทันที หรือเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อก่อนส่งมอบสินค้า หรือเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ขึ้นอยู่แต่ละกรณี

ส่วนผู้ประกอบการประเภทให้บริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและมอบให้แก่ผู้รับบริการทันทีที่ได้รับการชำระค่าบริการ หรือเมื่อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนได้รับชำระค่าบริการ ขึ้นอยู่แต่ละกรณี    

โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) แก่สรรพากรภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน พร้อมกับแนบเอกสารใบกำกับภาษี และรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย เพื่อขอคืนภาษีซื้อ หรือนำไปหักกับภาษีขายด้วย 

  • รายละเอียดที่จำเป็นต้องมีในใบกำกับภาษี

รายละเอียดในใบกำกับภาษีมีความจำเป็นต่อการนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีเป็นอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดรายละเอียดที่จำเป็นต้องมีในใบกำกับภาษีไว้ หากมีไม่ครบตามที่กำหนด จะถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ 

ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษี และผู้ซื้อเมื่อได้รับใบกำกับภาษี จะต้องเช็กรายละเอียดที่จำเป็นที่ต้องมีในใบกำกับภาษีเสียก่อน ซึ่งแบ่งเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ และใบกำกับภาษีแบบย่อได้ดังนี้

1.ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ  

- ต้องมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” ที่เห็นชัดเจน

- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย 

- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ กรณีเป็นบุคคลธรรมดาให้ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน หากไม่สะดวกระบุแค่ชื่อและที่อยู่ ไม่ต้องใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชนได้ 

- ชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย

- ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ

- ระบุสำนักงานใหญ่ หรือ “สาขาที่...” ของผู้ขาย

- ระบุสำนักงานใหญ่ หรือ “สาขาที่...” ของผู้ซื้อ

- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี ให้ใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนได้ และใช้พุทธศักราชหรือคริสต์ศักราชได้

- เลขที่ของใบกำกับภาษี 

- หมายเลขลำดับของเล่ม(ถ้ามี)

- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ (ให้ระบุเฉพาะสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษีเท่านั้น แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องระบุสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้อง

เสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงในใบกำกับภาษีด้วย ต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม)

- จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ต้องแยกแสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน

- กรณีมีเอกสารอื่นประกอบชุดของใบกำกับภาษีจะต้องมีคำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “ต้นฉบับ” ในใบกำกับภาษี

2.ใบกำกับภาษีแบบย่อ

- มีคำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”

- ชื่อหรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ออกใบกำกับภาษี

- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและหมายเลขลำดับของเล่ม(ถ้ามี)

- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ

- ต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว

- วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี   

ทั้งนี้ หากเช็กแล้วพบว่าใบกำกับภาษีมีมูลค่าสินค้าหรือบริการไม่ตรงกับเงินที่จ่ายจริง ผู้ขายสามารถออกเอกสารใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ให้ถูกต้องได้ รวมถึงรายละเอียดสำคัญที่ต้องมี หากหายไปหรือไม่ถูกต้อง ให้ผู้ขายทำการแก้ไขให้ถูกต้อง 

แต่ถ้าหากไม่ทำการแก้ไขให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จะถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม ซึ่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ขอคืนภาษีซื้อ หรือเครดิตภาษีได้ และต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(7) นำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษี จะต้องเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่า ของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีนั้น

-----------------------------------
Source : Inflow Accounting
อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่

Adblock test (Why?)


เช็กให้ดี "ใบกำกับภาษี" แบบไหนบ้าง สามารถใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...