Rechercher dans ce blog

Tuesday, October 25, 2022

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาลงโทษผู้ละเมิดสิทธิบัตรของพานาโซนิคกว่าแสนชิ้น - ผู้จัดการออนไลน์



ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดง เลขที่ อ.562/2565 ซึ่งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้อง บริษัท ไพบูลย์กิจธนา จำกัด และกรรมการบริหารอีก 2 ราย ในฐานความผิดร่วมกันละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “แผ่นเพลตสำหรับอุปกรณ์เดินสาย” และ “เต้ารับไฟฟ้า” ของพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น แห่งประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งสิ้น 125,200 ชิ้น  
 
โดยปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในคดีนี้ว่า พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยทั้ง 3 ในคดี และจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกันละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “แผ่นเพลตสำหรับอุปกรณ์เดินสาย” และ “เต้ารับไฟฟ้า” ของพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น โดยร่วมกันมีไว้เพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป ซึ่งแผ่นเพลตสำหรับอุปกรณ์เดินสายจำนวน 10,200 ชิ้น และ “เต้ารับไฟฟ้า” จำนวน 115,000 ชิ้น ที่มีผู้ผลิตขึ้นโดยละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของ พานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นแผ่นเพลตสำหรับอุปกรณ์เดินสายและเต้ารับไฟฟ้าที่ละเมิดสิทธิบัตร ทั้งนี้ มิได้กระทำการเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา วิจัย และไม่ได้รับการยกเว้นใดๆ ตามกฎหมาย โดยคำพิพากษาระบุให้จำเลยทั้ง 3 มีความผิดตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร และลงโทษปรับพร้อมทั้งริบของกลางเพื่อทำลายตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป

สำหรับคดีข้างต้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) โดยการสอบสวนสืบสวนจนกระทั่งมีการขอหมายค้นต่อศาลฯ และนำกำลังเข้าทำการตรวจและยึดสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น ดังกล่าวได้ของกลางจำนวนกว่าแสนชิ้น ณ สถานที่ตั้งของผู้กระทำความผิด ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเมื่อวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 โดยการปฏิบัติการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และเดินหน้าปราบปรามการละเมิดอย่างเข้มงวดมาโดยตลอด
 
ทั้งนี้ การละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของบุคคลอื่นที่ได้รับความคุ้มครองในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการผลิตและขาย หรือแม้กระทั่งเพียงการขายสินค้าที่ละเมิดเพียงอย่างเดียวนั้น ถือเป็นความผิดทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา อีกทั้ง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยการละเมิดสิทธิบัตร อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า และด้วยเหตุดังกล่าว ผู้บริโภคจึงควรศึกษารายละเอียดข้อมูล และมาตรฐานต่างๆ ของสินค้าอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ผู้ค้าปลีก ผู้จัดจำหน่าย และผู้ขายที่ประกอบการขาย หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ละเมิดสิทธิบัตร หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อขายหรือจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรนั้น ต้องระวางโทษตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรไทย ดังนั้น ผู้ค้าปลีก ผู้จัดจำหน่าย และผู้ขายจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่าได้ทำการขายสินค้าของแท้ที่จัดหาจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ และเพื่อปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ใช้สินค้าและประชาชนทั่วไป
 

Adblock test (Why?)


ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาลงโทษผู้ละเมิดสิทธิบัตรของพานาโซนิคกว่าแสนชิ้น - ผู้จัดการออนไลน์
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...