Rechercher dans ce blog

Sunday, December 11, 2022

จับตาเทรนด์บริการทางการเงินแบบฝังตัว - ไทยโพสต์

โดยผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินได้เริ่มนำบริการประเภทนี้มาใช้กับการชำระเงิน การให้กู้ยืมเงิน และการประกันภัย เป็นต้น โดยบริการทางการเงินในรูปแบบดังกล่าวฝังตัวอยู่ในระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดขายของบนโลกออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เพื่อให้การทำธุรกรรมเป็นไปได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

สำหรับแนวโน้มดังกล่าว สอดคล้องกับบทความ 2022 Retail Banking Monitor: Repositioning for embedded finance โดย Strategy& ของ PwC ที่คาดการณ์ว่าสัดส่วนของบริการทางการเงินแบบฝังตัวจะคิดเป็นมากกว่า 15% ของส่วนแบ่งรายได้ของธนาคารเพื่อรายย่อยในยุโรปในปี 2573 โดยตลาดบริการทางการเงินแบบฝังตัวจะยิ่งขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วทุกภูมิภาคของโลก จะมีผู้เล่นหน้าใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่สถาบันการเงิน แต่ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน รวมถึงกลุ่มธุรกิจอื่นๆ เช่น ค้าปลีก โทรคมนาคม ประกันภัย หรืออีคอมเมิร์ซ เข้ามาแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดและทำให้เกิดรูปแบบบริการใหม่ๆ เช่น บริการแบงกิ้ง บริการประกัน บริการท่องเที่ยว และบริการสุขภาพ

แน่นอนว่าผลบวกที่ตามมาคือ นอกจากจะทำให้ตลาดนี้ใหญ่ขึ้นแล้ว เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ embedded finance ก็จะยิ่งเติบโตตามไปด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม ธนาคารเพื่อรายย่อยก็จะมีความเสี่ยงจากการต้องสูญเสียลูกค้าและส่วนแบ่งรายได้ให้กับผู้เล่นที่เข้ามาใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ตลาดบริการการเงินแบบฝังตัวในประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.25 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 7.88 แสนล้านบาท และคาดว่าในปี 2568 มูลค่าดังกล่าวจะเติบโตมากกว่าสิบเท่าเป็น 2.3 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 8 ล้านล้านบาทในเชิงของปริมาณรายได้ใหม่ สะท้อนให้เห็นว่า มูลค่าตลาดรวมของบริการทางการเงินแบบฝังตัวทั่วโลกนั้นย่อมจะต้องสูงกว่านี้มาก

ในช่วงที่ผ่านมาผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มฟินเทค ได้นำบริการทางการเงินแบบฝังตัวมาใช้กับสินค้าและบริการของตนอย่างแพร่หลาย รวมถึงนำเสนอโซลูชันทางการเงินใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี และแย่งชิงส่วนแบ่งรายได้ในธุรกิจบริการทางการเงินเพื่อรายย่อย เช่น การให้บริการซื้อก่อนจ่ายทีหลังของธุรกิจสายการบิน การจัดหาเงินทุนให้แก่ผู้ป่วยสำหรับการผ่าตัดใหญ่ของธุรกิจโรงพยาบาล และการจัดตั้งรูปแบบการชำระเงินของตนเองของธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น

สถาบันการเงินที่ต้องการก้าวสู่บริการทางการเงินแบบฝังตัวควรกำหนดบทบาทและวางตำแหน่งทางการตลาดให้ชัดเจน ซึ่งบทบาทสำคัญที่ธนาคารและสถาบันการเงินควรพิจารณามีดังต่อไปนี้ 1.สถาบันการเงินเข้าร่วมในระบบนิเวศ นำผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินฝังเข้าไปในแพลตฟอร์มของธุรกิจอื่นๆ เพื่อกระจายผลิตภัณฑ์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผ่านแพลตฟอร์ม 2.สถาบันการเงินร่วมมือกับพันธมิตรในระบบนิเวศ โดยร่วมกันกำหนดทิศทางของระบบนิเวศ 3.สถาบันการเงินเป็นผู้สร้างระบบนิเวศของตนเองขึ้นมา โดยมีอำนาจในการควบคุมอย่างเต็มที่ (full control) และเป็นผู้ลงทุนด้านเม็ดเงิน เวลา บุคลากร และเทคโนโลยี

อย่างไรก็ดี ในส่วนของประเทศไทยจะยิ่งเห็นการจับมือทางธุรกิจระหว่างฟินเทคกับบริษัทลูกของธนาคารที่แยกออกมาสร้างแบรนด์ใหม่เพื่อรุกธุรกิจด้านการเงินสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบในอีกสองถึงสามปีข้างหน้า เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้หรือรีเซตโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ แต่สิ่งที่ธนาคารต้องให้ความสำคัญอย่างที่กล่าวไป คือ ต้องกำหนดบทบาทของตนในระบบนิเวศที่จะยิ่งทวีความซับซ้อน พร้อมปรับปรุงคุณค่าที่นำเสนอเพื่อรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ยิ่งไปกว่านั้น จะต้องสร้างความแตกต่างเพื่อแข่งขันในตลาด โดยยึดการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า เป็นโจทย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เหนือกว่าคู่แข่งให้ได้.

รุ่งนภา สารพิน

Adblock test (Why?)


จับตาเทรนด์บริการทางการเงินแบบฝังตัว - ไทยโพสต์
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...