Rechercher dans ce blog

Friday, December 9, 2022

'กรมทางหลวง'ผุดทางเลี่ยงเมืองนางรองแก้จราจรติดขัด - ไทยโพสต์

‘กรมทางหลวง’ ซาวด์เสียงชาวบุรีรัมย์ หวังแก้ไขปัญหาจราจร พบช่วงเทศกาลปริมาณจราจรหนาแน่น เดินหน้าขยาย4 เลนปรับปรุงถนนทางเลี่ยงเมืองนางรอง (ด้านใต้) เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง คาดสรุปผลศึกษาภายในต้นปี66

9 ธ.ค.255-นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 2) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจรทางเลี่ยงเมืองนางรอง (ด้านใต้) เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าผลการศึกษา และสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วมการประชุม

สำหรับ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเมืองที่มีอัตราการขยายตัวด้านเศรษฐกิจสูง เนื่องจากมีการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่มีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้ความต้องการเดินทางในโครงข่ายทางหลวงและถนนในเขตเมืองนางรองสูงมากยิ่งขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมด้านโครงข่ายถนนเพื่อรองรับปัญหาการจราจรและขนส่งในอนาคต โดยมีแนวคิดในการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองนางรอง เพื่อให้เกิดโครงข่ายถนนทางเลือกสำหรับผู้เดินทางระยะไกลที่ไม่จำเป็นต้องผ่านเขตเมืองนางรอง ใช้เป็นเส้นทางเลี่ยงเมือง และช่วยลดปริมาณรถบรรทุกจากภาคตะวันออกเข้าเขตเมืองรวมทั้งเชื่อมโยงกับถนนเส้นต่างๆ ในท้องถิ่น ก่อให้เกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้และอาชีพแก่คนในพื้นที่ 

อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวง จึงได้ดำเนินการว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง และบริษัท ลูเซ่ ครีเอชั่น จำกัด ดำเนินการศึกษาโครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองนางรอง (ด้านใต้) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคมให้การเดินทางสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยแก่ประชาชนผู้สัญจร

สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอแนวคิดเบื้องต้นในการพัฒนาแนวเส้นทางโครงการ โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการบนทางหลวงหมายเลข 24 บริเวณ กม.117+500 และมีจุดสิ้นสุดโครงการที่ บนทางหลวงหมายเลข 218 โดยได้กำหนดแนวเส้นทางเลือกไว้ 5 แนวเส้นทางเลือก โดยจากการพิจารณาเปรียบเทียบแนวเส้นทางที่เหมาะสมใน 3 หลัก ประกอบด้วย ด้านวิศวกรรมและจราจร ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านผล กระทบสิ่งแวดล้อม พบว่า แนวเส้นทางเลือกที่ 2 มีความเหมาะสมที่สุด 

โดยแนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศใต้ ประมาณ 2.7 กิโลเมตร ตัดผ่านพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณบ้านหนองโบสถ์ จากนั้นมุ่งเบี่ยงไปทิศตะวันออก ตัดผ่านพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดสองพี่น้อง มีระยะห่างจากแนวเส้นทางประมาณ 280 เมตร ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 348 ประมาณ กม.136+400 บริเวณข้างทางเป็นพื้นที่โล่ง ตัดผ่านคลองกำเปรตและลำนางรอง จากนั้นตัดผ่านทางหลวงชนบท บร.3001 ประมาณ กม.22+270 ข้างทางมีอาคารที่อยู่อาศัยบางส่วน และตัดผ่านลำท้องเรือ จากนั้นมุ่งเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งแนวเส้นทางทับกับแนวเส้นทางเลือกที่ 1 จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 218 กม.48+000 รวมระยะทาง 17.95 กิโลเมตร

ส่วนรูปแบบการพัฒนาถนนทั่วไปของโครงการ ได้พิจารณาออกแบบ 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 ช่วงถนนทั่วไป ออกแบบเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ไหล่ทางด้านนอก กว้าง 2.5 เมตร ในเขตทาง 60 เมตร และมีเกาะกลางรูปแบบกำแพงกั้น (Barrier Median) กว้าง 3 เมตร ช่วงที่ 2 ช่วงพื้นที่ชุมชน ออกแบบเป็นจุดกลับรถใต้สะพาน โดยมีถนนเส้นทางหลักบนสะพาน 6 ช่องจราจร ทางขนาน 4 ช่องจราจร (เดินรถฝั่งละ 2 ทิศทาง) ในเขตทาง 70 เมตร

สำหรับการคัดเลือกรูปแบบจุดตัดทางแยก จำนวน 3 แห่ง มีรายละเอียดดังนี้ 1.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 24 จุดเริ่มต้นโครงการ พบว่า รูปแบบทางเลือกที่ 2 สะพานยกระดับและจุดกลับรถ (Overpass and U-Turn) มีความเหมาะสมที่สุด โดยเป็นสะพานยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 24 เดิม เพื่อรองรับรถที่ต้องการเดินทางไปอำเภอหนองกี่ (1 ทิศทาง) โดยยกข้ามถนนนทิศทางเลี้ยวขวา ทำให้เข้าสู่ถนนโครงการได้อย่างอิสระ โดยไม่ตัดกระแสจราจร และทิศการเดินออกจากถนนโครงการ ที่ต้องการเลี้ยวขวาไปอำเภอนางรอง ให้ไปใช้จุดกลับรถ

 2.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 348 พบว่า รูปแบบทางเลือกที่ 2 สะพานลอยข้ามทางแยกระดับพื้นและวงเวียน (Overpass and Roundabout) มีความเหมาะสมที่สุด โดยเป็นรูปแบบสะพานยกระดับและวงเวียนระดับพื้น โดยเป็นสะพานยกระดับบนถนนโครงการ เพื่อรองรับรถที่ต้องการเดินทางไปอำเภอหนองกี่ และไปอำเภอเมืองบุรีรัมย์ และทางแยกระดับพื้นเป็นลักษณะวงเวียน เพื่อรองรับรถทางตรงและเลี้ยวขวาทุกทิศทาง 

3.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 24 ด้านทิศตะวันออก พบว่า รูปแบบทางเลือกที่ 1 สะพานยกระดับแบบต่อเชื่อมโดยตรงข้ามทางแยกระดับพื้นลักษณะวงเวียน (Directional and Roundabout) มีความเหมาะสมที่สุด โดยเป็นสะพานยกระดับบนถนนโครงการข้ามทางหลวงหมายเลข 24 เพื่อรองรับรถที่ต้องการไปอำเภอเมืองบุรีรัมย์และอำเภอประคำ (2 ทิศทาง) และสะพานยกระดับแบบต่อเชื่อมโดยตรง (Directional Ramp) เชื่อมต่อจากสะพานขาไปอำเภอเมืองบุรีรัมย์เพื่อรองรับรถที่ต้องการเลี้ยวขวาไปอำเภอประโคนชัยและทางแยกระดับพื้นมีลักษณะเป็นวงเวียน เพื่อรองรับรถเลี้ยวขวาทุกทิศทาง และ 4.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 218 จุดสิ้นสุดโครงการ พบว่า ทางแยกระดับพื้นยังสามารถรองรับปริมาณจราจรได้ในอนาคต จึงออกแบบเป็น รูปแบบทางแยกระดับพื้นควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร

สำหรับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา ที่ปรึกษาได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูล สำรวจและเก็บตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาประกอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือ IEE เพื่อ

คัดกรองปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดลอมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต สำหรับนำไปศึกษาในชั้น EIA พบว่ามี 24 ปัจจัย โดยลำดับถัดไป ที่ปรึกษาโครงการฯ จะนำทั้ง 24 ปัจจัยนี้ มาประเมินผลกระทบรายละเอียดพร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อไป

อย่างไรก็ตามภายหลังการประชุมครั้งนี้ กรมทางหลวง และบริษัทที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ พร้อมทั้งจะดำเนินการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง 

ทั้งนี้โดยมีกำหนดจัดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม 2566 การประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) ในช่วงประมาณเดือน มีนาคมหรือเมษายน 2566 เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาในทุกด้านให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ 1.เว็บไซต์ https://ift.tt/3tMahFE 2.Line : @nangrongbypass-south

เพิ่มเพื่อน

Adblock test (Why?)


'กรมทางหลวง'ผุดทางเลี่ยงเมืองนางรองแก้จราจรติดขัด - ไทยโพสต์
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...