"โรค"มากมายถูกส่งต่อได้ผ่านทางพันธุกรรมญาติสายตรง เช่นเดียวกับ "โรคเบาหวาน" ซึ่งมีความเสี่ยงหลายเท่าแต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องเป็นเบาหวาน เพราะยังมีพฤติกรรมก่อโรคอีกมากมายเป็นตัวกระตุ้นถ้าหากกินดี ใช้ชีวิตดีก็จะสามารถลดความเสี่ยงลงได้!
โรคเบาหวาน คือ ความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และเพราะร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนผลิตออกมาไม่เพียงพอ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนาน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ และหากบิดามารดาเป็นเบาหวานมาก่อน ลูกก็จะมีโอกาสเป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้นถึง 6-10 เท่า เนื่องจากเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของยีนที่ควบคุมการทำงานของเซลล์เบต้าของตับอ่อน หรือ การทำงานของอินซูลิน
เปิดสถิติป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกมากกว่า 500 ล้านคน คร่าชีวิต 5 วินาทีต่อราย
โรคเบาหวานมีกี่ประเภท? แล้วทำไมอินซูลินถึงสำคัญ?
อาการของโรคเบาหวาน สังเกตเองได้ก่อน
ในระยะแรก โรคเบาหวานจะไม่แสดงอาการผิดปกติ โดยอาจตรวจพบโรคเบาหวานอาการส่วนใหญ่ที่พบ ที่พอจะบ่งชี้ว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวานมีได้หลายอาการ เช่น
- ปัสสาวะบ่อยครั้ง
- ปัสสาวะกลางคืน
- คอแห้ง
- กระหายน้ำ
- ดื่มน้ำมาก
- หิวบ่อย
- กินจุ
- น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างผิดปกติ
- เหนื่อยง่าย
- ผอมลง
- อ่อนเพลีย
- เป็นแผลหรือฝีง่ายแต่หายยาก
- คันตามผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์
- ตาพร่ามัว
- ชาปลายมือปลายเท้า
- ความรู้สึกทางเพศลดลง
- การกินดี เน้นผักและผลไม้กากใยสูงไขมันต่ำ ลดอาหารลดจัดทั้งเค็มไปและหวานไป รวมถึงควบคุมปริมาณ แป้งและน้ำตาล สัตว์เนื้อแดง อาหารแปรรูป ที่เป็นอาหารก่อโรคเนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวไปยับยั้งการเกิดอินซูลิน
- การออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 30 นาทีต่อวัน เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ห่างไกลอ้วนลงพุงที่ทำให้ก่อโรค
- พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
- นอนหลับให้เพียงพอและมีคุณภาพ
- หากมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ และไปพบแพทย์ตามนัดอย่าได้ขาด
การตรวจหาเบาหวาน แพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วย และบุคคลในครอบครัว ร่วมกับการตรวจร่างกาย แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอาศัยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยวิธีวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือดสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เวลาใดก็ได้
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี
- การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลิน ต่อระดับน้ำตาลในเลือด
- ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือด โดยปกติจะอยู่ที่ 70-120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดเกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไตจะกรองน้ำตาลออกมา ทำให้สามารถตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะได้
“อ้วนลงพุง” พฤติกรรมก่อโรคเรื้อรัง มะเร็ง- เบาหวาน - ไขมันพอกตับ
การรักษาโรคเบาหวาน
- การรักษาผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่กับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ในระยะเบื้องต้น สามารถรักษาได้ด้วยการกินอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจให้ยา หรือฉีดอินซูลินทดแทน เช่นเดียวกับโรคเบาหวานประเภทที่ 1
ทั้งนี้แม้การส่งต่อโรคพันธุกรรมจะป้องกันได้ยากแต่แน่นอนว่ามันควบคุมได้โดยการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม และอยู่ใต้การแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะถ้าหากพบโรคตั้งแต่เนิ่นๆ อาการเหล่านั้นก็จะสงบและลดภาวะแทรกซ้อนอันตรายและแม้โรคเบาหวานจะไม่สามารถรักษาหายได้แต่สามารถควบคุมให้โรคสงบได้อย่างแน่นอนค่ะขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
เช็กสัญญาณแรก “เบาหวานขึ้นตา”ปล่อยไว้นาน เสี่ยงตาบอด รู้ก่อนรีบรักษาได้
ตรวจโรคก่อนวางแผนมีลูก หยุดส่งต่อโรคทางพันธุกรรมให้กับลูกรัก
โรคเบาหวานส่งต่อทางพันธุกรรมได้ เลี่ยงยากแต่ลดโอกาสก่อโรคได้ - PPTVHD36
Read More
No comments:
Post a Comment