Rechercher dans ce blog

Monday, December 12, 2022

Private Assets กับทางเลือกในการลงทุนที่เพิ่มขึ้น - กรุงเทพธุรกิจ

กระแสความนิยมของการลงทุนชนิดหนึ่งที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทั้งในต่างประเทศและในบ้านเราด้วย คือ การลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ Private Assets หรือ การลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด

ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายชนิด และอาจจะมีการแบ่งประเภทที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมก็จะจัดเป็น3 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) Private Equity (2) Private Credit และ (3) Private Real Estate/Infrastructure ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีลักษณะการลงทุน ช่วงของผลตอบแทนคาดหวัง ความเสี่ยง และจุดที่ต้องระมัดระวังแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ซึ่งการลงทุนก็มีทั้งจุดที่ดีและความเสี่ยงที่มาพร้อมกันที่นักลงทุนจำเป็นจะต้องระมัดระวังเพิ่มเติม

พื้นฐานของการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดก็จะแตกต่างจากสินทรัพย์ทั่วๆ ไปมาก โดยเฉพาะเรื่องของการไม่มีตัวกลาง ซึ่งการซื้อขายจะเกิดขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง โดยการลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์นอกตลาดนี้นั้นมีมานานแล้ว แต่ในช่วงแรกยังจำกัดอยู่ในกลุ่มนักลงทุนสถาบัน เช่น กลุ่มกองทุนของมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ในสหรัฐฯ ที่นับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการลงทุนในกลุ่มนี้ รวมถึงมีการจัดสรรน้ำหนักการลงทุนอย่างจริงจัง ก่อนที่จะเริ่มค่อยๆ ขยายวงกว้างไปยังนักลงทุนกลุ่มอื่นๆ โดยการลงทุนในกลุ่มนี้ในบ้านเราเองก็ดูจะเพิ่มมากขึ้นเรื่องโดยเฉพาะในกลุ่ม Private Wealth และกองทุนที่เริ่มมีการนำเสนอที่หลากหลายมากขึ้นสำหรับนักลงทุนรายใหญ่ และดูเหมือนว่าแนวโน้มก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

ประโยชน์จากการลงทุนในกลุ่มนี้ในภาพรวม คือ (1) ผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าสินทรัพย์จดทะเบียนต่างๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากหลากหลายปัจจัย เช่น เรื่องของอำนาจต่อรองในการลงทุนที่มากขึ้น ความสามารถในการหาดีล (Deal Sourcing) ของกองทุน ความสามารถในการบริหารจัดการต่างๆ มูลค่าการซื้อขายที่อาจจะถูกกว่าสินทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ และส่วนชดเชยความเสี่ยงที่ต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากการที่การลงทุนมีสภาพคล่องน้อยกว่ามาก

(2) กระจายการลงทุน (Diversification Benefits) เนื่องจากสินทรัพย์เหล่านี้โดยรวมจะมีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ดังเดิมทั้งหุ้นและบอนด์น้อยกว่า ส่วนหนึ่งอาจะเกิดจากธรรมชาติของการลงทุนที่เป็นการลงทุนระยะยาวสำหรับกลุ่มหุ้นนอกตลาด หรือการลงทุนที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน เช่น โครงการอสังหาริมทรัพย์หรือโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

สำหรับกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานนอกตลาด ทำให้หากเพิ่มสินทรัพย์เหล่านี้เข้าไปพอร์ตฟอลิโอในระดับที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ ก็จะทำให้ภาพรวมของพอร์ตฟอลิโอมีความเสี่ยงที่น้อยลงภายใต้ผลตอบแทนคาดหวังที่เพิ่มขึ้นหรือจจะใกล้เคียงเดิม และ (3) ความผันผวนที่น้อยกว่า โดยแม้อาจจะเกิดจากการที่สินทรัพย์เหล่านี้ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้ซื้อขายบ่อย และการประเมินราคามีต้นทุนที่สูงกว่าทำให้ทำได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็อาจจะนับเป็นเรื่องดีที่ทำให้การตัดสินใจอันเกิดจากอิทธิพลด้านราคานั้นลดน้อยลง

ส่วนสิ่งที่ต้องระมัดระวังก่อนการลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้ คือ (1) ความเข้าใจลักษณะของการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด เพราะแต่ละกองทุนก็จะมีชนิดสินทรัพย์ที่แตกต่างกันไป เช่น ในกลุ่ม Private Equity ก็อาจะแตกต่างกันในเรื่องของขนาดของบริษัทเป้าหมาย รวมถึงชนิดของการเข้าไปลงทุน เช่น การร่วมลงทุนในช่วงแรก (Venture Capital) หรือ การซื้อกิจการ (Buyouts) เป็นต้น หรือในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานก็ต้องพิจารณาลักษณะของพอร์ตฟอลิโอของกองทุนว่าเน้นลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด เช่น ทางด่วน สนามบิน รวมถึงเน้นลงทุนในภูมิภาคใดเป็นหลัก โดยสิ่งที่คาดหวังนอกเหนือจากการเติบโตของสินทรัพย์หรือกระแสเงินสดที่ได้รับนั้น ยังต้องพิจารณาความเกี่ยวข้องของผู้จัดการกองทุนที่อาจจะมีส่วนเพิ่มมูลค่า เช่น การขยายกิจการ หรือการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปเพิ่มเติมด้วย (2) ระยะเวลาของการซื้อขายที่ส่วนใหญ่มักจะมีกรอบระยะเวลาในการซื้อขาย รวมถึงอาจจะมี ระยะเวลาห้ามขาย (Lockup Period) หรือข้อจำกัดอื่นๆ ที่มากกว่า เช่น เมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเกิดข้อตกลงก็อาจจะมีการห้ามขายหรือปรับราคาเพิ่มเติม เป็นต้น (3) ความเสี่ยงจากการลงทุนโดยเฉาะด้านราคาซึ่งอาจจะขาดทุนเป็นจำนวนมากได้ และ (4) ระยะเวลาของการลงทุน ซึงส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาที่นานหลายปี โดยเฉพาะในกลุ่ม Private Equity ที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าการลงทุนจะให้ผลตอบแทนอย่างเต็มที่ได้

ส่วนช่องทางการลงทุนก็อาจจะมีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการเป็นหุ้นส่วนหรือผ่านกองทุนรวม หรือ เป็นการลงทุนทางอ้อมผ่านบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นเจ้าของกองทุนเหล่านี้เป็นต้น (Listed Investment Companies) โดยทั้งสองทางเลือกก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะในเรื่องของเงินลงทุนขั้นต่ำและสภาพคล่องของการซื้อขาย และแน่นอนว่ารวมถึงผลตอบแทนคาดหวังในระยะยาวด้วย ซึ่งผู้ลงทุนเองก็จำเป็นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนจะลงทุน โดยเฉพาะปัจจัยเรื่องสภาพคล่องและระยะเวลาของการลงทุนที่จำเป็นจะต้องแน่ใจก่อนการลงทุน และต้องอย่าลืมพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมกับสินทรัพย์อื่นๆ เพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ รวมถึงความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ตการลงทุนในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอีกด้วย

หมายเหตุ บทวิเคราะห์นี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของหน่วยงานต้นสังกัดแต่อย่างใด

Adblock test (Why?)


Private Assets กับทางเลือกในการลงทุนที่เพิ่มขึ้น - กรุงเทพธุรกิจ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...