Rechercher dans ce blog

Monday, May 29, 2023

ชาวบ้านบุ โคราช สุดทนปัญหาซ้ำซากน้ำท่วมอุโมงค์ทางลอดรถไฟทางคู่ - สยามรัฐ

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 เวลา 11.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ชาวบ้านได้นำป้ายเขียนข้อความ “ห้ามลงทางชำรุด !!” มาตั้งขวางเส้นทางเข้าอุโมงค์ทางลอดรถไฟบ้านบุ หมู่ที่ 1 ต.ตลาด อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ภายในตัวอุโมงค์ พบน้ำฝนไหลท่วมสูงเฉลี่ย 20-30 เซนติเมตร ส่งผลให้รถยนต์ขนาดเล็กและรถจักรยานยนต์ไม่สามารถแล่นผ่านได้ ต้องเลี่ยงใช้ทางต่างระดับสะพานเกือกม้าความสูงประมาณ 10 เมตร ข้ามทางรถไฟ เพื่อเดินทางเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถ.มิตรภาพ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านที่ต้องออกไปทำงาน ส่งบุตรหลานและทำธุระในตัวเมือง นครราชสีมา ซึ่งมีจำนวนยานพาหนะสัญจรผ่านเฉลี่ยต่อวันหลายพันคัน  

ทั้งนี้ถือเป็นปัญหาซ้ำซากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เจ้าของโครงการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาได้เป็นรูปธรรม ซึ่งมีสาเหตุจากการสำรวจออกแบบของบริษัทที่ปรึกษาไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับระดับความสูงต่ำของพื้นที่และเส้นทางการไหลของน้ำฝน โดยไม่เคยสอบถามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และชาวบ้านรวมทั้งพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำอยู่ระดับสูงกล่าวจุดต่ำสุดของช่วงที่น้ำไหลผ่าน นอกจากนี้เครื่องสูบน้ำมีปัญหาขัดข้องบ่อยครั้ง สร้างความวิตกกังวลไม่มั่นใจในความปลอดภัยหากเกิดฝนตกหนัก น้ำฝนไหลท่วมระบายไม่ทันถ้าเครื่องสูบน้ำเสียก็ต้องรอให้ เจ้าหน้าที่ รฟท. มาแก้ไขซึ่งใช้เวลาหลายชั่วโมง

ด้าน นายเฉลิม อายุ 67 ปี ชาวบ้านบุ ต.ตลาด อ.เมือง ผู้ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำ เปิดเผยว่า ทางรอดไม่สามารถใช้งานได้มา 2 วัน เนื่องจากฝนตกในพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังประกอบกับเครื่องสูบน้ำขัดข้องไม่สามารถระบายน้ำได้ทันท่วงที ทำให้เดือดร้อนในการสัญจรต้องขึ้นสะพานเกือกม้าเพิ่มระยะทางในการสัญจร ล่าสุดเมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมาหลังฝนตกหนักน้ำฝนไหลท่วมสูงกว่า 1 เมตร และได้เร่งสูบน้ำออกทำให้ปริมาณน้ำลดลงแต่ก็ยังสัญจรผ่านไม่ได้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุง แก้ไขประสิทธิภาพในการระบายน้ำให้ดีกว่านี้

Adblock test (Why?)


ชาวบ้านบุ โคราช สุดทนปัญหาซ้ำซากน้ำท่วมอุโมงค์ทางลอดรถไฟทางคู่ - สยามรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...