Rechercher dans ce blog

Tuesday, May 30, 2023

คอลัมน์การเมือง - ทางเดินของ 'พิธา' ในเขาวงกต - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

แม้ “พรรคก้าวไกล” จะชนะการเลือกตั้ง ได้จำนวน สส. มากที่สุด แต่ก็ทิ้งห่างพรรคลำดับสอง อย่าง “พรรคเพื่อไทย” เพียงแค่ 10 คน และไม่ได้มี “เสียงข้างมาก” ชนิดไม่ต้องไปรวมกับใครก็ตั้งรัฐบาลได้ ยังไม่นับกติกาประหลาดที่ถูกแทรกเข้ามาโดยเครือข่ายของ คสช. ที่เติม “บทเฉพาะกาล” ให้ สว. มาร่วมโหวตนายกรัฐมนตรีอีก ยิ่งทำให้ “โอกาสการเป็นนายกรัฐมนตรี” ของ “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล ตกอยู่ในสภาพ “ใกล้ตา ไกลตีน” คือ เหมือนอยู่ใกล้ๆ แต่ไปไม่ถึงสักที

1) ปัญหาเริ่มต้นที่ “เงื่อนไข” ของพรรคก้าวไกลเอง ที่เล่นบท “สุดโต่ง-ทะลุเพดาน” มาโดยตลอด แม้จะได้ “มวลชน” สนับสนุนมหาศาล แต่ก็ได้ “ศัตรู” รอบทิศเช่นเดียวกัน


2) ความผยอง ลำพอง และหลงเคลิ้มไปว่าตัวเองได้ “ฉันทามติ” จากการเลือกของประชาชน แล้วไป “ตีความ” เอาเอง ว่า ตนต้องได้เป็นรัฐบาล หัวหน้าพรรคต้องได้เป็นนายกฯ โดยลืมไปว่า ได้ สส.มากที่สุด แต่ยัง “ไม่มากพอ” จึงต้องเข้าสู่ “กระบวนการจัดตั้งรัฐบาล” ให้สำเร็จ ด้วยการเชิญและชวนพรรคการเมืองอื่นๆ มาสนับสนุน

3) พรรคที่จะสนับสนุนพรรคก้าวไกลได้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง คือ พรรคเพื่อไทย แต่อีกมุมหนึ่ง พรรคเพื่อไทยก็มี “โอกาสจัดตั้งรัฐบาล” ได้ไม่แพ้พรรคก้าวไกล แถมมีโอกาสตั้งได้ง่ายกว่าด้วย

4) ไม่มีกฎหมายหรือกติกาใดกำหนดว่า ต้องให้พรรคที่ชนะการเลือกตั้งอันดับ 1 เพียงพรรคเดียวเท่านั้นที่สามารถ “ตั้งรัฐบาล” ได้ เพราะหลักการจัดการเลือกตั้ง คือ ให้ประชาชนตัดสินว่า ในเขตของตนอยากให้ใครเป็น “ผู้แทน” ไม่ได้ให้ประชาชน “เลือกรัฐบาล” หรือ “เลือกนายกรัฐมนตรี” โดยตรง เป็นแค่ ผลพลอยได้ หากพรรคการเมืองนั้นๆ “มีเสียงมากพอ”

5) พรรคก้าวไกลมิได้ “มีเสียงมากพอ” จึงต้องเข้าสู่ “การเจรจา” ซึ่งจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ขึ้นอยู่กับ “ปัจจัย” หลายประการ ทั้งตัวบุคคลผู้นำในการเจรจาตัวผู้ประสานการเจรจา เงื่อนไขในการเจรจา และท่าทีในการเจรจา

6) บุคลากรของพรรคก้าวไกลรวมถึงกองเชียร์ เป็นบุคคลที่สังคมมองว่า “ไม่ค่อยมีมารยาท” ลำพอง เหิมเกริมหลงตัวเอง ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่รู้จักกาลเทศะ มั่นใจในตัวเองสูง เจ้าอารมณ์ และมีท่าทีส่วนลึกเป็นเผด็จการ นั่นทำให้ “แรงหนุน” ทั้งจากฝ่ายการเมือง และฝั่งกองเชียร์อื่นๆ ไม่มี

7) ยิ่งพิธาออกแอ๊กชั่น ประเภท เรียกตัวเองว่า “ว่าที่นายกรัฐมนตรี” ขอพบกับองค์กรต่างๆ เชิญหน่วยงาน
นั้นหน่
วยงานนี้มาร่วมประชุม คนยิ่งรู้สึกว่า กำลังนั่งมอง “เด็กที่รออะไรไม่เป็น” หรือไม่ก็เห็นเป็น “สุนัขที่ฉี่จองที่” ประกาศเขตแดนของตัวเอง ทั้งๆ ที่ยังไม่มีอะไรแน่นอน

8) แน่นอน สังคมยังจับตาดูด่านแรก คือ พรรคก้าวไกล จะปล่อยเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรให้พรรคเพื่อไทยหรือไม่ ในเขาวงกตของพิธา ยังต้องฝ่าด่านว่า สว. จะโหวตหนุนหรือเปล่า คนร่วมพรรคจะ “แทงข้างหลัง” หรือ “เตะตัดขา” ไหม สำคัญที่สุด คือเรื่อง “หุ้นไอทีวี”

9) คนกันเองอย่าง นายสมบัติ ทองย้อย หัวหน้าการ์ดม็อบไทยไม่ทน ผู้ต้องโทษคดี ม.112 โพสต์เฟซบุ๊กเรื่องหุ้น ไอทีวี ว่า บางคนที่บอกว่า ไหนวะช่องทีวี ไม่เห็นออกอากาศเลย เด็กบางคน ยังไม่รู้จักช่องนี้เลย ประเด็นคือ เขาไม่ได้ออกอากาศก็จริง แต่ บ.เขายังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะทางใดก็ตาม นั่นคือ บ.ยังไม่ปิด การถือหุ้น จะมากหรือน้อยก็ถือว่า ถือหุ้นอยู่ ตอนนี้ก็อยู่ที่การตีความว่าจะเป็น บวกหรือลบ แค่นั้นเอง แต่ดูทรงแล้ว รอดยาก

10) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่รัฐธรรมนูญระบุบทบัญญัติเกี่ยวกับการถือครองหุ้นมีเจตนารมณ์อย่างไร ว่า ตนไม่ทราบ เดี๋ยวถ้าตนตอบไป ก็อาจไม่ถูก เรื่องประเด็นนี้ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ชี้ขาดแล้วกัน โดยในรัฐธรรมนูญเขียนไว้สั้นๆ เท่านั้น ไม่ได้บอกว่ากี่หุ้น และไม่ได้บอกว่าต้องเป็นสื่อขนาดไหน โอเปอเรตคือดำเนินการอยู่หรือไม่ แต่ถ้าดูคำวินิจฉัยเก่าๆ ของศาลรัฐธรรมนูญ ก็อาจเห็นทิศทางได้เหมือนกัน เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยตัดสินเรื่องนี้มาแล้วหลายคดี

เมื่อถามว่ากรณีถือหุ้นสื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล จะต้องรีบทำให้เสร็จก่อนถึงวันเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ หรือเป็นเรื่องระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับศาลรัฐธรรมนูญ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นเรื่องของ กกต.กับศาลรัฐธรรมนูญ คือ ด่านที่ 1 กกต. ด่านที่ 2 ไปศาลรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามย้ำว่า ถ้ากกต.เห็นด้วย ก็ไปศาลรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ หรือถ้าไม่เห็นด้วย ก็สามารถปัดตกได้ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ใช่

เมื่อถามว่าศาลรัฐธรรมนูญต้องไต่สวนฉุกเฉินก่อน หรือให้เป็นไปตามกระบวนการ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นไปตามปกติ ไม่มีอะไรแปลกประหลาด

“แต่เมื่อศาลรับเรื่อง มีสิทธิสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น เมื่อคราวนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่เลือกนายกฯกันตอนนั้น อยู่ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. แต่ตัดสินออกมาในเดือน พ.ย.” นายวิษณุ กล่าว

เมื่อถามว่าแต่กรณีนี้ กกต.จะต้องรับรองเป็นสส.ก่อนหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ใช่

เมื่อถามอีกว่านายวิษณุมองว่าห้วงเวลาที่จะตัดสินออกมาจะอยู่ในช่วงไหน จะกระทบกับการเลือกนายกฯหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ตนตอบไม่ถูก เพราะกกต.ยังไม่ได้ทำอะไรเลย

เมื่อถามถึงกรณีที่ศาลฎีกาสั่งคืนสิทธิให้นายชาญชัยอิสระเสนารักษ์ อดีตผู้สมัคร สส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ กรณีถือหุ้นเอไอเอส ที่ไปลงทุนเกี่ยวกับบริษัทสื่อสามารถนำมาเทียบเคียงได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เทียบได้ แต่ประเด็นก็ต่างกัน ถ้ากรณีนายชาญชัยบริษัทแม่ไปถือหุ้นในบริษัท เป็นโฮลดิ้ง คอมพานี แต่ก็ต้องเอามาดูด้วยกันหมด

11) ประเด็นนี้ ยังจะไปพันกับการเลือก “ประธานสภาผู้แทนราษฎร ด้วย ซึ่งล่าสุด 30 พ.ค.66 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย กล่าวถึงความเหมาะสมของตำแหน่งประธานสภาฯ ว่า หากดูชื่อตอนนี้ของพรรคก้าวไกลมีชื่อนายณัฐวุุฒิ บัวประทุม กับนายธีรัจชัยพันธุมาศ ส่วนพรรคเพื่อไทย เป็นชื่อของนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องตกลงกัน แต่ในข้อเท็จจริงประธานสภาฯ จะอายุน้อยหรือมากไม่สำคัญ แต่ต้องมีประสบการณ์ ถ้าคนไม่มีประสบการณ์ เป็นไม่ได้ หากเป็น สส.มาแค่สมัยเดียวคงลำบาก ดังนั้น ส่วนตัวจึงมองว่านพ.ชลน่าน เหมาะสมเพราะเป็น สส.มา 7 สมัยแล้ว

“เจ้าหน้าที่สภาฯเขาอยากให้ผมเป็นประธานสภาฯนะ บอกจะได้จัดการ สส.ได้ เพราะผมมีความเด็ดขาด ผมบอกผมเป็นไม่ได้ ผมเป็นแค่สมัยเดียวเองประสบการณ์ยังไม่พอ ยังไม่เก๋าพอ นี้ก็มาเทียบ 3 คนนี้ สส.ใหม่ของก้าวไกล หมอชลน่าน เป็น สส.มา 7 สมัยแล้ว เคยเป็นรัฐมนตรีแล้ว เคยเป็นผู้นำฝ่ายค้าน อันไหนเก๋ากว่ากัน มันต้อง
มีคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์จริงๆ
 ไม่ใช่ใครก็ได้ ไม่งั้นก็เชิญใครมาก็ได้ถูกมะ ผมยังถอยเลย ผมยังไม่ยอมเป็นเลย” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าว ส่วน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องคุยกันระหว่างพรรคก้าวไกล กับเพื่อไทย ซึ่งเรื่องนี้ยังมีเวลา พร้อมมองว่า ประธานสภาฯต้องเป็นกลางในการปฏิบัติ เพราะเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ตำแหน่งนี้จึงมีความสำคัญ ถ้าทั้งสองพรรคตกลงกันได้ก็เป็นเรื่องที่ดี และตามหลักเกณฑ์จะต้องเป็น บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีหลักจริยธรรม มีแค่ 3 หลักเกณฑ์นี้ ไม่มีอายุมากอายุน้อย ส่วนกระแสข่าวว่าพรรคประชาชาติจะเก้าอี้มีรัฐมนตรี 1 เก้าอี้นั้น พ.ต.อ.ทวี ระบุว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้พูดคุย แต่พรรคประชาชาติ มี สส. 9 คน

แต่พรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทย ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ต่อจากเดิม เล่นบทเฉยไว้ ซึ่งเข้าใจว่า เป็นเรื่องที่สองพรรคนี้ต้องไป “หาทางตกลงกัน” เพื่อให้ได้ข้อยุติ เพราะยิ่งนำมาถกเถียงกันภายนอก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการ “ตกลงกันไม่ได้”

12) ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพ่วงตำแหน่งประธานรัฐสภาไปด้วยนั้น สำคัญอย่างยิ่งเรื่องหนึ่ง คือ จะต้องเป็นผู้นำชื่อ “นายกรัฐมนตรี” ขึ้นกราบบังคมทูลต่อองค์พระประมุข ก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น่าสนใจและน่าติดตามว่า โดยธรรมเนียมปฏิบัติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ผ่านมา การจะนำความใดๆ ขึ้นกราบบังคมทูลนั้น จะดูกันอย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นที่ยุติแล้ว กรณี “คุณสมบัติ” ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หากปัญหาเรื่อง “ถือหุ้นสื่อยังไม่เคลียร์” จะเป็นอย่างไร? และนี่เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ก้าวไกลต้องการเก้าอี้ “ประธานสภา” มาอยู่กับตนด้วยใช่ไหม? เพราะกังวลว่า ประธานที่มาจากพรรคอื่น อาจยึดธรรมเนียมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

แต่ยังไม่ต้องคิดมาก

ด่านแรกที่ต้องผ่านก็คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะรับรองสถานภาพ สส. ให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือไม่

อย่างไรก็ตาม การโหวตเลือกนายกฯ ยังคงเดินหน้าไปได้ เพราะนายกฯ ไม่ต้องเป็น สส. แค่เป็นผู้ที่มีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไว้กับ กกต. เท่านั้น นั่นแปลว่า พิธามีโอกาสได้รับการโหวตเป็นนายกฯ ได้แน่ๆ

กระนั้นก็ตาม จะมีผลตามมาในภายหลัง หากพบว่า พิธามีความผิดจากการ “ถือหุ้นสื่อ” จะมีผลให้เขา “ถูกตัดสินทางการเมือง” ต้องพ้นจากตำแหน่ง (ถ้ามี) อันจะเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นไปทั้งคณะด้วย

จึงต้องลุ้นว่า ที่ประชุมร่วมสองสภาจะมีมติอย่างไร หากวันนั้น มีการเสนอชื่อ “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เพียงชื่อเดียว จะเป็นเหตุให้ สว. ขอ “งดออกเสียง” ด้วยเหตุผลว่า คุณสมบัติยังไม่เคลียร์และอาจมีปัญหาตามมาในภายหลังได้หรือเปล่า?

และหากการโหวตพิธาไม่ผ่าน พรรคเพื่อไทยจะมีท่าทีอย่างไร จะรวบรวมเสียงเสนอชื่อนายกฯ ในการประชุมรอบถัดมา และจัดตั้งรัฐบาลเองหรือไม่ รัฐบาลที่เพื่อไทยตั้งจะมีก้าวไกลหรือเปล่า

พรรคเพื่อไทยจะเล่นบท “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” หรือพลิกล็อกที่สุด คือ พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อนายกฯ โหวตแข่งกับพิธาตั้งแต่นัดแรก!!

รอดูกัน

Adblock test (Why?)


คอลัมน์การเมือง - ทางเดินของ 'พิธา' ในเขาวงกต - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...