Rechercher dans ce blog

Monday, September 4, 2023

'ดร.นิว'ติดอาวุธทางปัญญา อธิบายแบบละเอียด'ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อพระบรมราชโองการ' - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

วันจันทร์ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2566, 20.14 น.

4 ก.ย.66 ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา ในหัวข้อเรื่อง ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อพระบรมราชโองการ มีเนื้อหาดังนี้

เมื่อเขียนถึงหลักการ คนจำนวนหนึ่งกลับยังไม่ยอมทำความเข้าใจ ดรยังมโนอะไรต่อมิอะไรเรื่อยเปื่อย จำเป็นต้องเขียนอธิบายแบบละเอียดแปลไทยเป็นไทยเพิ่มเติมอีกสักครั้ง หวังว่าจะช่วยติดอาวุธทางปัญญาไว้สู้กับกลุ่มคนที่ไม่หวังดีต่อสถาบันได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมายึดตัวผู้เขียน หากแต่ให้ยึดหลักการที่ถูกต้อง ทั้งประเทศนอร์เวย์ประชาธิปไตยอันดับหนึ่งของโลก สหราชอาณาจักรที่เป็นต้นแบบการปกครอง ก็หลักการเดียวกัน ไม่ผิดไปจากนี้


ก่อนอื่นต้องบอกว่าผมเคารพพระบรมราชโองการอภัยโทษนายทักษิณในฐานะกลไกของระบบ และเข้าใจหลักการที่ถูกต้องในระบอบประชาธิปไตยด้วยว่าทุกอย่างมาจากฝ่ายการเมืองทั้งนั้น เนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจเด็ดขาดจริงๆ มีน้อยมาก มีแต่ในราชการส่วนพระองค์เท่านั้น ส่วนราชการทั่วไปล้วนแต่เป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองทั้งสิ้น อันเป็นหลักการขั้นพื้นฐานที่สำคัญมาก ทุกคนควรทราบจริงๆ

เมื่อการพระราชทานอภัยโทษนายทักษิณไม่ใช่ราชการส่วนพระองค์ ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นเรื่องของส่วนราชการทั่วไป นับตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการจำนวนมาก และต้องผ่านขั้นตอนของกระบวนการพิจารณาในอีกหลายขั้นตอน โดยหลักการก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าทางรัฐบาลเป็นผู้ถวายฎีกาพร้อมกับคำแนะนำเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้กับนายทักษิณ ยิ่งทำให้เห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องของฝ่ายการเมืองโดยแท้

ส่วนการมีพระบรมราชวินิจฉัยก็อยู่บนพื้นฐานของหลักการเดียวกัน หากเป็นราชการในพระองค์ ก็จะมีพระราชอำนาจที่เป็นสิทธิ์ขาดอย่างแท้จริง เป็นพระบรมราชวินิจฉัยส่วนพระองค์โดยตรง จึงไม่จำเป็นต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่เมื่อเป็นราชการทั่วไป ก็อยู่นอกเหนือพระราชอำนาจที่เป็นสิทธิ์ขาด พระบรมราชวินิจฉัยมักดำเนินตามคำแนะนำของรัฐบาลที่มาพร้อมกับฎีกาเป็นเสมอ เป็นที่มาของการมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ประเด็นต่อมา หากถามว่าทรงเห็นแย้งได้บ้างหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าได้ แต่ทว่าพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจะไม่ทรงใช้พระราชอำนาจในการเห็นแย้งแบบพร่ำเพรื่อ จะทรงใช้แต่เฉพาะเท่าที่จำเป็นในยามวิกฤตเท่านั้น โดยอีกมุมหนึ่ง เหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ตอกย้ำความเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่เคารพรัฐธรรมนูญเฉกเช่นนานาอารยประเทศ หาได้อยู่เหนือรัฐธรรมนูญตามการบิดเบือนให้ร้ายแต่ประการใด

ดังนั้น ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบัน หากแต่เป็นฝ่ายการเมืองที่อยู่เบื้องหลัง ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ นับตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำคือผู้รับสนองพระบรมราชโองการซึ่งไม่ต่างจากผู้ดำเนินการที่แท้จริง เช่นเดียวกับพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่มีประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

เมื่อเข้าใจหลักการแล้ว ก็จะมองเห็นปัญหาได้ชัดเจน ส่วนแรกมาจากการตัดสินใจของฝ่ายการเมือง ส่วนที่สองมาจากการขาดความเข้าใจ ปัญหาความเข้าใจผิดต่อสถาบันในทำนองนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยในประเทศนอร์เวย์ที่เป็นประชาธิปไตยอันดับหนึ่งของโลก สหราชอาณาจักรที่เป็นต้นตำรับของระบอบการปกครอง เพราะประชาชนของเขามีความรู้ความเข้าใจในหลักการที่ถูกต้อง ตลอดจนสามารถแยกแยะปัญหาได้ด้วยตนเอง

ฉะนั้นจึงไม่เห็นด้วยกับการมโนแบบผิดๆ แทนที่จะอธิบายด้วยหลักการที่ถูกต้องเพื่อปกป้องสถาบันจากความขัดแย้งทางการเมือง แต่กลับดึงสถาบันมาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง เชื่อมโยงไปต่างๆ นาๆ แถมยังบีบฝ่ายเดียวกันให้ยอมรับในนิทานที่พิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งมีแต่จะยิ่งระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทอีกด้วย เมื่อลองคิดในมุมกลับ มันจะไม่ยิ่งเปิดช่องให้อีกฝ่ายโจมตีสถาบันหรอกหรือ? ตกลงปกป้องสถาบันหรือปกป้องใครกันแน่? 

สำหรับผม ผมชัดเจนเสมอ ตลอดมาและตลอดไป ปกป้องสถาบัน ไม่ได้ปกป้องฝ่ายการเมืองใดๆ
 

Adblock test (Why?)


'ดร.นิว'ติดอาวุธทางปัญญา อธิบายแบบละเอียด'ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อพระบรมราชโองการ' - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...