Rechercher dans ce blog

Sunday, November 19, 2023

เปิด“เคล็ดลับ”ความมั่นคงทางการเงิน รู้หรือไม่? การก่อหนี้ ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว หากบริหารจัดการเป็น - ไทยรัฐ

ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ “การวางแผนการเงิน” กลายเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นอย่างมาก สำหรับคนทุกกลุ่มวัย และทุกสาขาอาชีพ ยิ่งรู้จักเก็บออมเงินเป็นตั้งแต่เด็ก ก็สามารถนำไปสู่ นิสัยทางการเงินที่ดี ในวัยทำงาน ได้ไม่ยาก 

ขณะความสามารถในการจัดสรร รายรับ-รายจ่าย และเงินออม ได้ตามความเหมาะสม ก็ยิ่งทำให้เราเข้าใกล้คำว่า “ความมั่นคงทางการเงิน” ได้เร็วขึ้น โดยที่ไม่ต้องมานั่งทุกข์ใจ เมื่อยามเรา เกษียณอายุ จากรายได้ลดลง แต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยทั้งหมดอาจเริ่มด้วยคำว่า การวางแผนทางการเงิน 

5 ขั้นตอนวางแผน สู่ ความมั่นคงทางการเงิน 

  • ประเมินฐานะการเงิน

สินทรัพย์ - หนี้สิน = ความมั่งคั่งสุทธิ

รายรับ - เงินออม - รายจ่าย = เงินเหลือใช้/เงินขาดมือ

ทั้งนี้ เราควรจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน เพื่อจะได้รู้พฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเอง

  • ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

ควรตั้งเป้าหมายและกำหนดเวลาที่จะพิชิตเป้าหมายให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ มีความเฉพาะเจาะจง ว่าเราจะทำอะไร เพื่ออะไร รวมถึงมีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายให้สอดคล้องกับความสามารถทางการเงินในช่วงเวลานั้นๆ 

  • จัดทำแผนการเงิน

ควรมีการจัดทำแผนการบริหารเงินและทรัพย์สินต่างๆ เช่น เราจะใช้จ่ายเงินอย่างไร หารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งไหน หรือนำไปลงทุนอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ (แบบไม่กดดันตัวเองจนเกินไป)

  • ดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัด

จะมีประโยชน์อะไร? ถ้ามีเป้าหมาย แต่ไม่จริงจัง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความมุ่งมั่นและมีวินัย เพราะหากขาดการปฏิบัติที่จริงจังและต่อเนื่อง ก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายได้

  • ตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์

ควรหมั่นตรวจสอบแผนอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 6 เดือนว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ก่อนปรับแผนให้สอดคล้องกับสิ่งที่เปลี่ยนไป 

เป็นหนี้ได้ แต่ภาระเงินต้นและดอก ต้องไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน

ทั้งนี้ 1 ในเคล็ดลับเพื่อความมั่นคงทางการเงิน หากแต่ยังเป็นเรื่อง การรับมือกับความไม่แน่นอนด้วย ตามทฤษฎีนั้น มีการแนะให้เรา  

  1. ต้องมีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน 3-6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน
  2. ตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ว่าครอบคลุมแค่ไหน หากไม่เพียงพอ การทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
  3. พิจารณาเรื่องความไม่แน่นอนของรายได้ในอนาคต ก่อนตัดสินใจกู้ยืมเงินทุกครั้ง
  4. อาจหาแหล่งรายได้เสริมหรือนำสินทรัพย์ที่มีไปลงทุนให้งอกเงยขึ้น

ทั้งนี้ การวางแผนเก็บเงินเตรียมไว้แต่เนิ่นๆ รวมถึงบริหารเงินออมให้งอกเงย เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้อประกันสะสมทรัพย์ ซื้อกองทุนรวม ฯลฯ ก็เป็นสิ่งจำเป็น 

เช่นเดียวกับ การใช้จ่ายบัตรเครดิต หรือ สินเชื่อส่วนบุคคล โดย ธปท.ชี้ว่า การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวหากมีการบริหารจัดการที่ดี และเลือกก่อหนี้ที่มีประโยชน์ เช่น การกู้ซื้อบ้านหรือกู้เพื่อประกอบอาชีพ 

อย่างไรก็ตาม ควรประเมินความสามารถในการชำระคืนก่อน โดยภาระการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของหนี้ทุกประเภทในแต่ละเดือนรวมกัน ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน

หากมีหนี้สินเกินตัว ก็ต้องพยายามปลดหนี้ด้วยการประหยัด ทยอยผ่อนชำระ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบและหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง ที่สำคัญไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม หากไม่สามารถชำระคืนได้ ก็ควรหารือกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน

Adblock test (Why?)


เปิด“เคล็ดลับ”ความมั่นคงทางการเงิน รู้หรือไม่? การก่อหนี้ ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว หากบริหารจัดการเป็น - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

นักวิชาการ มธ. เสนอกลไกทางเลือกแก้ PM 2.5 - ไทยโพสต์

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ม.ธรรมศาสตร์ แนะ ควรให้ ‘อำนาจสั่งการ’ คกก.อากาศสะอาด ดำเนินมาตรการข้ามหน่วยงาน พร้อม ‘บูรณาการงบประมาณ’ ตามภารกิจ...